วิธีคำวณหนี้ กยศ. แบบใหม่ หนี้ลด-ได้เงินคืน

18 พ.ย. 2566 | 09:32 น.
อัปเดตล่าสุด :18 พ.ย. 2566 | 09:43 น.
1.5 k

วิธีคำนวณหนี้ กยศ. แบบใหม่ ตามกฎหมาย ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน 1% ต่อปี อัตราเบี้ยปรับจาก 7.5% เหลือไม่เกิน 0.5% เริ่มจากหักเงินต้นก่อนแล้วค่อยหักดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ใครจ่ายเกินได้เงินคืน

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าวว่า ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 มีผู้กู้หลายรายประสบปัญหาทางการเงิน ทำให้มียอดกู้เงิน กยศ. สูงที่สุดในรอบ 20 ปี โดยปล่อยกู้อยู่ที่ 46,000 ล้านบาท จากผู้กู้เงินหรือนักเรียนทุนรัฐบาล 7 แสนคน 

โดยในปี 2567 คาดว่ายอดกู้เงินจะอยู่ที่ประมาณ 45,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ย้ำว่าทุกคนได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียม กยศ. จึงขอเป็นหลักประกันให้กับทุกครอบครัว เพื่อให้เข้าถึงการศึกษา

สำหรับการ พ.ร.บ.กยศ. ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 66 โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำกว่าเดิม และให้คำนวณภาระหนี้ใหม่ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

  1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน 1% ต่อปี (จากเดิม 1% ต่อปี)
  2. กรณีผิดนัดชำระ ลดอัตราเบี้ยปรับเหลือไม่เกิน 0.5% ต่อปี (จากแต่เดิม 7.5% ต่อปี)
  3. ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันในทุกกรณี
  4. เพิ่มให้มีการกู้เรียนในหลักสูตรระยะสั้น และให้ทุนการศึกษา
  5. ปรับลำดับการตัดชำระหนี้ใหม่ โดยหักต้นเงินเฉพาะส่วนที่ครบกำหนดก่อน ตามมาด้วยดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด และเงินเพิ่มตามลำดับ
  6. เพิ่มจำนวนงวดชำระเป็นรายเดือน รายไตรมาส และรายปี (จากแต่เดิมมีเฉพาะงวดชำระรายปี)
  7. ช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างดำเนินคดี หรืออยู่ระหว่างการบังคับคดี ให้สามารถผ่อนผันการชำระเงินคืน ปรับโครงสร้างหนี้ หรือแปลงหนี้ใหม่ ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนฯ กำหนด

วิธีคำวณหนี้ กยศ. แบบใหม่ หนี้ลด-ได้เงินคืน  

สำหรับลูกหนี้ กยศ.ทั่วประเทศมีประมาณ 6.7 ล้านคน มูลหนี้ประมาณ 743,981 ล้านบาท หากบังคับใช้กฎหมายใหม่ ตาม พ.ร.บ.กยศ. จะช่วยลดภาระหนี้

เมื่อคำนวณหนี้สินแบบใหม่ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ เมื่อตัดเงินต้นที่ครบกำหนด แล้วค่อยตัดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ จะทำให้ลดภาระหนี้ได้มากขึ้น สิ่งเป็นประโยชน์มากที่สุด คือ ย้อนหลังไปถึงวันแรกของการกู้เงิน ด้วยการนับถอยหลังให้หมดทุกคน ด้วยการคำนวณหนี้ใหม่ทั้งระบบ และหลังจากคำนวณยอดทั้งหมดแล้ว หากผู้กู้ที่จ่ายเงินเกินยอดหนี้จะได้รับเงินคืนทั้งหมดที่จ่ายเกิน

วิธีการคำนวณยอดหนี้แบบใหม่ 

  1. หักเงินต้นก่อน
  2. หักดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่
  3. หักดอกเบี้ยผิดนัดชำระ

วิธีการคำนวณแบบเก่า

  1. หักดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
  2. หักดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่
  3. หักยอดเงินต้น