ลุ้นสภาฯ เคาะร่าง พ.ร.บ.กรมขนส่งทางราง เปิดทางออกใบขับขี่รถไฟ-รถไฟฟ้า

28 ส.ค. 2566 | 16:53 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ส.ค. 2566 | 17:22 น.

“กรมราง” ลุ้นสภาฯ เคาะร่าง พ.ร.บ.กรมขนส่งทางราง 2 ก.ย.นี้ เปิดทางออกใบขับขี่รถไฟ-รถไฟฟ้า 2.2 พันราย หากไม่ทัน หวั่นเสนอครม.รอบใหม่ กระทบแผนดีเลย์ 1 ปี

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาโครงการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการและการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล (e-License R) ครั้งที่ 3 ว่า ปัจจุบัน ขร. จัดทำรายละเอียดต่างๆ ในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางราง ทั้งใบอนุญาตผู้ประกอบการ ผู้ประจำหน้าที่ และการจดทะเบียนรถขนส่งทางราง เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่ง ขร. พร้อมดำเนินการออกใบอนุญาตฯ ทันที เมื่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การขนส่งทางราง มีผลบังคับใช้

  ลุ้นสภาฯ เคาะร่าง พ.ร.บ.กรมขนส่งทางราง  เปิดทางออกใบขับขี่รถไฟ-รถไฟฟ้า
           
“เราต้องรอดูว่ารัฐบาลยืนยันการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวที่ค้างอยู่กลับไปสภาผู้แทนราษฎรว่าจะเดินหน้ากฎหมายต่อได้ทันภายในวันที่ 2 ก.ย.66 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญเปิดช่องไว้ว่าจะต้องยืนยันกลับมาภายใน 60 วันนับตั้งแต่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมาหรือไม่ หากไม่ทัน ขร. จะต้องเริ่มกระบวนการนำเสนอใหม่ ตั้งแต่เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งจะทำให้แผนการดำเนินการออกใบอนุญาตฯ ล่าช้าไปจากเดิมประมาณ 1 ปี จากเดิมที่คาดว่าจะมีผลคับใช้ประมาณปลายปี 66 เป็นประมาณปลายปี 67”
 

สำหรับใบอนุญาต แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.ใบอนุญาตผู้ประกอบกิจการขนส่งทางราง 8 ราย มีอายุ 30 ปี แบ่งเป็น 1.1 ใบอนุญาตประกอบกิจการรางเพื่อการขนส่ง อัตราค่าธรรมเนียม 3 แสนบาท 1.2 ใบอนุญาตประกอบกิจการเดินรถขนส่งทางราง อัตราค่าธรรมเนียม 1.5 แสนบาท และ และ 1.3 ใบอนุญาตประกอบกิจการรางเพื่อการขนส่ง และการเดินรถขนส่งทางราง อัตราค่าธรรมเนียม 4.5 แสนบาท

ลุ้นสภาฯ เคาะร่าง พ.ร.บ.กรมขนส่งทางราง  เปิดทางออกใบขับขี่รถไฟ-รถไฟฟ้า

2. ใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ อาทิ พนักงานขับรถไฟ/รถไฟฟ้า/รถไฟความเร็วสูง และพนักงานควบคุมการเดินรถ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่รวมประมาณ 2,236 คน โดยใบอนุญาตมีอายุ 5 ปี ให้สำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป อัตราค่าธรรมเนียม 2 พันบาท

 

 

 3.ใบอนุญาตจดทะเบียนรถขนส่งทางราง ซึ่งผู้ประกอบการต้องนำข้อมูล อาทิ รถไฟ/รถไฟฟ้า/รถไฟความเร็วสูง มีตู้กี่ตู้ มาจดทะเบียนทั้งหมด ปัจจุบันมีประมาณ 10,266 คัน โดยใบอนุญาตมีอายุ 8 ปี โดยในระหว่างนั้นต้องมีการตรวจสภาพตามที่กำหนด หากไม่ตรวจจะถูกพักใช้รถ และเพิกถอนใบอนุญาตฯ มีอัตราค่าธรรมเนียม ค่าหนังสือจดทะเบียนขนส่งทาง 1,000 บาท รวมถึงแผ่นป้ายทะเบียนรถขนส่งทางราง 1,000 บาท

ลุ้นสภาฯ เคาะร่าง พ.ร.บ.กรมขนส่งทางราง  เปิดทางออกใบขับขี่รถไฟ-รถไฟฟ้า

ทั้งนี้ใบอนุญาตฯ ทุกประเภทจะออกให้ผู้ประกอบการ และผู้ปฏิบัติหน้าที่รายเดิมโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม เมื่อใบอนุญาตหมดอายุต้องมีการทดสอบ และผ่านสมรรถนะก่อนจึงจะได้รับการต่อใบอนุญาตฯ ทั้งนี้หาก ขร. พบว่าผู้ประกอบการฯ พนักงานขับรถ และรถขนส่งทางราง ไม่มีใบอนุญาต หรือไม่ส่งข้อมูลให้ ขร. ตรวจสอบ และทำใบอนุญาตปลอม จะมีบทลงโทษทางปกครอง และทางอาญา หรือทั้งจำ และปรับ

ลุ้นสภาฯ เคาะร่าง พ.ร.บ.กรมขนส่งทางราง  เปิดทางออกใบขับขี่รถไฟ-รถไฟฟ้า

นอกจากนี้ผู้ขอใบอนุญาตฯ จะต้องยื่นขอใบอนุญาตฯ ผ่านเว็บไซต์เพื่อลงทะเบียน โดย e-License R จะเชื่อมโยงกับระบบของ 2 หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ ระบบยืนยันตัวบุคคลกลาง (e-Authentication) ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) และระบบรับชำระเงินกลางของบริการภาครัฐ ของกรมบัญชีกลาง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน และสะดวกในการเข้าใช้บริการ โดบใบอนุญาตฯ ที่ออกให้นั้นจะเป็นใบอนุญาตฯ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถดูได้ผ่านแอพพลิเคชั่น DRT

 

 อย่างไรก็ตาม e-License R จะทำให้ ขร. สามารถรวบรวมฐานข้อมูลผู้ที่มีศักยภาพ รถที่มีมาตรฐาน และอนาคตเมื่อมีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ก็สามารถมีบุคลากร หรือรถพร้อมทำงานในระบบราง และการออกใบอนุญาตขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล เป็นหนึ่งในแผนงาน ขร. ที่มุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้มีความทันสมัย ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในการเดินทางด้วยระบบขนส่งทางรางต่อไป