“กรมวิชาการเกษตร” เห็นถึงปัญหาเรื่องนี้ จึงได้วิจัยและพัฒนา “โครงการการจัดการปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพต่อการผลิตปาล์มนํ้ามันอย่างยั่งยืน” เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการวางแผนและการจัดการเพื่อให้สวนปาล์ม มีผลผลิตที่สูงขึ้นและยังสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนให้กับชุมชน
โครงการนี้ได้มีการให้ความรู้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมกับการเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และประเมินผลของโครงการ โดยมีนักวิชาการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลของโครงการที่ดำเนินการ โดยนักวิชาการจะทำการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการผลิตปาล์มนํ้ามัน รวมถึงการวิเคราะห์ผลผลิตและต้นทุนการผลิตเพื่อให้มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องสำหรับการประเมินผลและการพัฒนาเพิ่มเติมในอนาคต
โดยเน้นใช้เทคโนโลยีในการผลิตปาล์มนํ้ามันคุณภาพและส่งต่อให้กับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มนํ้ามันใน 17 อำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างปี 2562-2565 ด้วย “งบพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี” จำนวน 14 ล้านบาท ผ่านการอบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงการปฏิบัติในด้านการจัดการนํ้า (โครงการฯ สนับสนุนวัสดุ-อุปกรณ์ให้นํ้ารายละ 6-10 ไร่ ให้ความรู้ในการติดตั้งระบบให้นํ้า การดูแลระบบให้นํ้า การคำนวณปริมาณนํ้าที่เหมาะสม) การจัดการธาตุอาหารอย่างแม่นยำตามผลประเมิน
จากการวิเคราะห์ดิน-ใบ ประวัติการใส่ปุ๋ย-ปริมาณผลผลิต-ความต้องการของปาล์มนํ้ามัน รวมถึงให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อให้ทราบวิธีเลือกซื้อปุ๋ยที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยพิจารณาเลขที่ทะเบียน/ใบรับรองที่ออกโดยกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับการตรวจสอบความถูกต้องของการขึ้นทะเบียนปุ๋ยด้วยแอพพลิเคชั่น DOA Agri Factor การเก็บเกี่ยวปาล์มนํ้ามันตามชั้นคุณภาพ ให้ความรู้เกษตรกรให้เข้าใจถึงผลกระทบของการเก็บเกี่ยวปาล์มนํ้ามันคุณภาพ คุณภาพทะลายก่อน-หลังใช้นวัตกรรมปาล์มนํ้ามัน ผลดำเนินงานโครงการนำไปใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาระบบการผลิตปาล์มนํ้ามัน เพื่อนำไปสู่การผลิต “ปาล์มนํ้ามันอย่างยั่งยืน”
“การผลิตปาล์มนํ้ามันอย่างยั่งยืน” ต้องมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพทั้งทรัพยากรดิน ช่วยศักยภาพในการผลิตพืชของดินเพิ่มขึ้นจากการปรับพฤติกรรมการจัดการธาตุอาหารของเกษตรกร และทรัพยากรนํ้า ซึ่งการใช้นวัตกรรมผลิตปาล์มนํ้ามันพบว่า เกษตรกรใช้นํ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น หรือลดขนาดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ในการผลิตปาล์มนํ้ามันได้ จะช่วยเกษตรกรลดปริมาณนํ้าที่ใช้ในการผลิตปาล์มนํ้ามันได้มากกว่า 2 เท่า และสามารถลดการใช้นํ้าได้ 5 เท่า
ผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จที่เกษตรกรได้รับโดยผลผลิตปาล์มนํ้ามันเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10% และต้นทุนในการใช้ปุ๋ยลดลงถึง 40% ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มรายได้ของเกษตรกร นอกจากนี้ “โครงการการจัดการปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพต่อการผลิตปาล์มนํ้ามันอย่างยั่งยืน” ยังได้รับรางวัลเลิศรัฐประจำปี 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เนื่องจากผลงานมีความโดดเด่นในการพัฒนาประสิทธิภาพการ ให้การสนับสนุนและส่งเสริมเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรมีความยั่งยืนในการผลิตปาล์มนํ้ามัน