เช็คเงื่อนไข ด่วน! ส่งออก “มังคุดสด” ไปญี่ปุุ่น อัพเดท ล่าสุด

10 ส.ค. 2566 | 08:52 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ส.ค. 2566 | 12:09 น.

ข่าวจริง “ระพีภัทร์” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้รับข่าวดี จาก เลขาธิการฯ ญี่ปุ่น ไฟเขียว ไทยส่งออกผลมังคุดสดไปญี่ปุ่น โดยไม่ต้องอบไอน้ำ เช็คเงื่อนไขด่วน ส่งออกอย่างไร อัพเดทล่าสุด

เช็คเงื่อนไข ด่วน! ส่งออก “มังคุดสด” ไปญี่ปุุ่น อัพเดท ล่าสุด

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งข่าวดี จาก นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ว่า กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และ ประมงญี่ปุ่น(MAFF) อนุญาตให้ไทยส่งออกผลมังคุดสดไปญี่ปุ่น โดยไม่ต้องอบไอน้ำ ซึ่งเป็นการบรรลุข้อตกลงร่วมกันในการอำนวยความสะดวกทางการค้า ในการประขุมคณะอนุกรรมการพิเศษร่วมในความร่วมมือด้านความปลอดภัยอาหาร ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA) ครั้งที่ 13 ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566

เช็คเงื่อนไข ด่วน! ส่งออก “มังคุดสด” ไปญี่ปุุ่น อัพเดท ล่าสุด

ในการประชุมครั้งนี้ ญี่ปุ่นแจ้งข่าวดีว่า ได้ออกประกาศเงื่อนไขอนุญาตนำเข้ามังคุดไทยโดยไม่ต้องอบไอน้ำกำจัดแมลงวันผลไม้ลงใน Official Gazette วันที่ 7 สิงหาคม 2566 พร้อมทั้งแจ้งกำหนดการเดินทางมาตรวจรับรองก่อนการส่งออกครั้งแรกในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนสิงหาคม อันจะทำให้ไทยสามารถส่งออกมังคุดสดด้วยวิธีการใหม่ที่ไม่ต้องผ่านการอบไอน้ำไปยังญี่ปุ่นได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้

เช็คเงื่อนไข ด่วน! ส่งออก “มังคุดสด” ไปญี่ปุุ่น อัพเดท ล่าสุด

ทั้งนี้นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและส่งออกมังคุดไทยแล้วยังช่วยคงความสดใหม่ และไม่สร้างความเสียหายของผลมังคุด ช่วยเพิ่มอายุการเก็บรักษาให้ยาวนานขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าตลาดส่งออกให้กับมังคุดผลสดไทย ประมาณปีละ 200 ตัน มูลค่ากว่า 120 ล้านบาท ซึ่งความสำเร็จในการเจรจาครั้งนี้ถือเป็นผลงานชิ้นสำคัญที่เกิดจากการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมวิชาการเกษตรที่กำกับดูแลการส่งออกสินค้าพืช และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) ที่ได้หารือและดำเนินงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ผ่านกลไกเจรจาที่สำคัญทั้งภายใต้กรอบความร่วมมือ JTEPA และกลไกทางเทคนิคของเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย

เช็คเงื่อนไข ด่วน! ส่งออก “มังคุดสด” ไปญี่ปุุ่น อัพเดท ล่าสุด

ที่ผ่านมาประเทศไทย ส่งออกมังคุดผลสดไปญี่ปุ่น ด้วยวิธีอบไอน้ำซึ่งเป็นวิธีกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยความร้อน ซึ่งได้รับการยอมรับจากหน่วยงานกักกันพืช ภายใต้กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงญี่ปุ่น (MAFF)สำหรับใช้กำจัดไข่และหนอนของแมลงวันผลไม้ Bactrocera dorsalis species complex แต่วิธีการนี้อาจทำให้เกิดความเสียหายกับมังคุดโดยลักษณะความเสียหายที่สำคัญมีหลายอาการได้แก่ อาการเนื้อยุบตัวลงเป็นหลุมเนื้อแตกเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ เนื้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และผลแข็ง ไม่น่ารับประทาน

เช็คเงื่อนไข ด่วน! ส่งออก “มังคุดสด” ไปญี่ปุุ่น อัพเดท ล่าสุด

กรมวิชาการเกษตร จึงได้เจรจากับ MAFF โดยยื่นหนังสือพร้อมเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับผลการศึกษาสถานภาพการไม่เป็นพืชอาศัยของมังคุดต่อแมลงวันผลไม้ซึ่งได้ทำการวิจัยนำทีมโดยนายอุดร  อุณหวุฒิ และคณะเพื่อพิจารณายอมรับมาตรการทางเลือกใหม่(Conditional non-hot status to fruit flies) สำหรับการส่งออกผลมังคุดสดไปญี่ปุ่นโดยไม่ต้องกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยความร้อน สำหรับมาตรการใหม่คาดการณ์ว่าไทยจะสามารถส่งออกผลมังคุดสดได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากวิธีการใหม่ ไม่สร้างความเสียหายให้กับผลมังคุดสดเหมือนกับวิธีการเดิมซึ่งในการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนการส่งออกฝ่ายไทยต้องทำตามเงื่อนไขข้อตกลง (work plan) ระหว่างไทยและญี่ปุ่น

เช็คเงื่อนไข ด่วน! ส่งออก “มังคุดสด” ไปญี่ปุุ่น อัพเดท ล่าสุด

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สำหรับเกษตรกรชาวสวนมังคุด และ โรงคัดบรรจุ ที่มีความสนใจในการส่งออกมังคุดด้วยมาตรการทางเลือกใหม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ผลมังคุดสดที่จะส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นจะต้องมาจากสวนที่ปลูกเพื่อการค้าและได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร  ผู้ผลิตมังคุดต้องมีการจัดการสวนและการเก็บเกี่ยวมังคุดผลสดตามมาตรฐานการผลิตเพื่อการค้าสำหรับส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น มีสุขอนามัยในสวนที่ดี

เช็คเงื่อนไข ด่วน! ส่งออก “มังคุดสด” ไปญี่ปุุ่น อัพเดท ล่าสุด

นอกจากนี้ต้องมีการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสม รวมทั้งต้องยื่นขอการรับรองการตรวจรับรองสวนเพื่อการส่งออกไปญี่ปุ่นและผ่านการอบรมการส่งออกมังคุดผลสดภายใต้มาตรการทางเลือกใหม่จากกรมวิชาการเกษตร สำหรับผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ จะต้องแจ้งความประสงค์ไปยังกรมวิชาการเกษตร เพื่อขอเข้าร่วมการส่งออกพร้อมยื่นรายชื่อสวนมังคุดที่จะส่งออกไปยังญี่ปุ่นภายใต้มาตรการใหม่ และขอรับการขึ้นทะเบียนโรงคัดบรรจุกับกรมวิชาการเกษตรโดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 02-9406670 ต่อ 142