ความคืบหน้าโครงการ “ประกันรายได้ยางพารา” ระยะที่ 4 ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( 28 ก.พ.66) วงเงิน 7,643.86 ล้านบาท (คลิกอ่าน) มีระยะเวลาโครงการตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2566 ระยะเวลาประกันรายได้รวม 2 เดือน คือ ตุลาคม- พฤศจิกายน 2565
ทั้งนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการโอนให้ชาวสวนยางตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2566 เป็นต้นมา
เกษตรกรชาวสวนยาง เช็กสิทธิ์ ผ่านลิงค์ การยางแห่งประเทศไทย https://www.raot.co.th/gir/index/ และตรวจสอบสถานการณ์โอนเงิน ธ.ก.ส. ผ่านลิงค์ https://chongkho.inbaac.com/ ตลอด 24 ชั่วโมง ล่าสุดมีความคืบหน้าแล้ว
นายศิริพันธุ์ ตรีไตรรัตนกูล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง) การยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ทาง ธ.ก.ส. รายงานความคืบหน้าโครงการประกันรายได้ยางพารา ระยะที่ 4 มีการจ่าย 2 เดือน ได้แก่ ตุลาคม – พฤศจิกายน 2565 โดยแบ่งสัดส่วนรายได้ เจ้าของสวน ร้อยละ 60 และคนกรีด ร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด รายละไม่เกิน 25 ไร่ โดยกำหนดราคาประกันรายได้ ดังนี้
"ยางแผ่นดิบคุณภาพดี" ราคา 60 บาท/กิโลกรัม
"น้ำยางสด" (DRC 100%) ราคา 57 บาท/กิโลกรัม
"ยางก้อนถ้วย" (DRC 50%) ราคา 23 บาท/กิโลกรัม
งวดที่ 1 ราคา "เดือนตุลาคม" ประจำปี 2565 จ่ายชดเชยกว่า 2,673 ล้านบาท
งวดที่ 2 "เดือนพฤศจิกายน" ประจำปี 2565 จ่ายชดเชย 4,025 ล้านบาท
นายศิริพันธุ์ กล่าวว่า ผลการโอนเงิน จำนวนรวม 1.19 ล้าราย จำนวนเงิน กว่า 4,415 ล้านบาท ยังมีเกษตรกรที่โอนเงินเข้าบัญชีไม่สำเร็จ จำนวนกว่า 5 หมื่นรายในกรณีต่างๆ ดังนี้
"เกษตรกรที่ หากตรวจสอบสิทธิ์เงินประกันรายได้ยางพารา คลิก ตรวจสอบสถานะการขึ้นทะเบียนเกษตรกร แล้วเงินไม่เข้า อย่าเพิ่งตื่นตระหนก ไม่ต้องตกใจ ให้สอบถาม กยท. สาขา ใกล้บ้าน
สามารถตรวจตรวจสอบสถานะการโอนเงินได้ ลิงค์ ของ ธ.ก.ส https://chongkho.inbaac.com/ ตลอด 24 ชั่วโมง เงินเข้าหรือยัง แต่ถ้ามีปัญหาขอให้สอบถามได้ที่ กยท. หรือ ธ.ก.ส. สาขาใกล้บ้าน