วิธีเช็คเงิน ประกันรายได้ยางพารา ตรวจสอบสิทธิผ่าน chongkho.inbaac.com

11 เม.ย. 2566 | 23:59 น.
416.9 k

ตรวจสอบเงินประกันรายได้ยางพารา เฟส 4 ธ.ก.ส.แนะช่องทางเช็คเงินโอนเข้าบัญชีผ่านเว็บไซต์ chongkho.inbaac.com พร้อมตรวจสอบสถานะสิทธิการรับเงินที่นี่

เกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ปลูกยางพารา เตรียมตัวให้พร้อม สำหรับการรับเงินประกันรายได้ยางพารา เฟส 4 โดยล่าสุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ได้แนะช่องทางการตรวจสอบผลการโอนเงินเข้าบัญชี พร้อมทั้งช่องทางตรวจสอบสถานะสิทธิผ่านเว็บไซต์ ซึ่งเกษตรกรสามารถเช็ครายละเอียดได้ดังต่อไปนี้

ช่องทางตรวจสอบเงินประกันรายได้ยางพารา เฟส 4 
ผ่านแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส.

  • ธ.ก.ส. A-Mobile และ A-Mobile Plus เช็คได้ 24 ชั่วโมง(ดาวน์โหลดแอปฯคลิกที่นี่ IOS ,Android)
  • กรณีที่เกษตรกรสมัครใช้บริการ BAAC Connect จะมีข้อความแจ้งเตือนว่ามีเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official : BAAC Family 

ผ่านเว็บไซต์ 

  • https://chongkho.inbaac.com/ตรวจสอบสถานะการโอนเงินประกันรายได้ยางพารา
  • https://www.raot.co.th/gir/index/ ตรวจสอบสถานะการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง 
     

เช็คเงินประกันรายได้ยางพารา chongkho.inbaac.com

อนึ่งเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2566 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้ออกมาอัพเดตโครงการประกันรายได้ยางพารา โดยระบุว่า จากมติครม.(วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566) เห็นชอบให้ดำเนิน โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง เฟส 4 โดยโครงการดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้

  • กรอบวงเงินงบประมาณ 7,566.86 ล้านบาท
  • เกษตรกรได้รับประโยชน์ประมาณ 1.6 ล้านราย
  • พื้นที่สวนยางกรีดได้ ประมาณ 18.18 ล้านไร่

โดยธ.ก.ส.ได้เตรียมดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรชาวสวนยาง กรณีราคายางตกต่ำ เพิ่มรายได้ สร้างความเข้มแข็งให้ชาวสวนยาง โดยประกันรายได้เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2565 ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ทั้งนี้สามารถตรวจสอบเงื่อนไข รายละเอียดของการรับเงินประกันรายได้ยางพารา ดังต่อไปนี้ 


เงื่อนไขการรับเงินประกันรายได้ยางพารา เฟส 4 

  • เป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2565
  • เป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว 
  • รายละไม่เกิน 25 ไร่ 
     

เงื่อนไขการประกันรายได้แก่เกษตรกรผู้ผลิตยาง 3 ชนิด 

  • ยางแผ่นดิบคุณภาพดี กิโลกรัมละ 60 บาท 
  • น้ำยางสด (DRC 100%) กิโลกรัมละ 57 บาท 
  • ยางก้อนถ้วย กิโลกรัมละ 23 บาท

โดยประกาศคณะทำงานกำหนดราคากลางอ้างอิง (ยางพารา) เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 กำหนดวงเงินชดเชยประกันรายได้กว่า 6,628 ล้านบาท เกษตรกรผู้รับผลประโยชน์ 1,604,379 ราย พื้นที่สวนยางกรีดได้ 18,183,764.59 ไร่ ดังนี้

ประกันรายได้ยางพารา เดือนตุลาคม 2565 กำหนดราคากลางอ้างอิง 

  • ยางแผ่นดิบกิโลกรัมละ 11.59 บาท 
  • น้ำยางสดกิโลกรัมละ 12.23 บาท 
  • ยางก้อนถ้วยกิโลกรัมละ 1.95 บาท 

วงเงินจ่ายชดเชย 2,604 ล้านบาท

ประกันรายได้ เดือนพฤศจิกายน 2565 กำหนดราคากลางอ้างอิง 

  • ยางแผ่นดิบกิโลกรัมละ 15.25 บาท 
  • น้ำยางสดกิโลกรัมละ 15.10 บาท 
  • ยางก้อนถ้วยกิโลกรัมละ 4.06 บาท 

วงเงินจ่ายชดเชย 4,024 ล้านบาท

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เผยว่า ธ.ก.ส. พร้อมโอนเงินไปยังเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ เมื่อ กยท. มีการจัดส่งข้อมูลการขึ้นทะเบียนพร้อมพื้นที่เพาะปลูกยางของเกษตรกรมาให้ ธ.ก.ส. เรียบร้อยแล้ว