เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง

09 ก.ค. 2566 | 05:00 น.
อัปเดตล่าสุด :09 ก.ค. 2566 | 06:46 น.
669

เปิดแผน 2 คณะทำงาน 8 พรรคร่วม ช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล รับมือ “เอลนีโญ-กู้วิกฤติประมง” ดันปลูกพืชใช้น้ำน้อย 2 ล้านไร่ ภาคกลาง เหนือ สู้ภัยแล้ง เล็งยุบ “IUU Hunter” ตั้งกองทุนเยียวยาฟื้นฟูประมง หลัง 8 ปีแก้ไอยูยู ทำชาวประมง ธุรกิจเกี่ยวเนื่องเสียหายกว่า 2 แสนล้าน

ย้อนไปวันที่ 7 มิถุนายน 2566 หลังการประชุมคณะกรรมการช่วงเปลี่ยนผ่านของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ได้มีมติตั้งคณะทำงานเรื่องการดูแลการเปลี่ยนผ่านเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้อย่างรวดเร็ว มีทั้งหมด 14 คณะ ได้แก่ คณะทำงานที่ 1 ด้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ, คณะทำงานที่ 2 ด้านค่าไฟฟ้า ค่านํ้ามัน และราคาพลังงาน, คณะทำงานที่ 3 ด้านภัยแล้ง เอลนีโญ, คณะทำงานที่ 4 ด้านการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้, คณะทำงานที่ 5 ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม และ PM2.5

เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง

 คณะทำงานที่ 6 ด้านการแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง และ SME, คณะทำงานที่ 7 ด้านการแก้ปัญหายาเสพติด, คณะทำงานที่ 8 ด้านรัฐบาลและเศรษฐกิจดิจิทัล, คณะทำงานที่ 9 ด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน,คณะทำงานที่ 10 ด้านสาธารณสุข, คณะทำงานที่ 11 ด้านความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม, คณะทำงานที่ 12 ด้านการปฏิรูปที่ดิน, คณะทำงานที่ 13 ด้านการประมง และคณะทำงานที่ 14 ด้านการเปลี่ยนผ่านงบประมาณ ล่าสุด “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ติดตามภารกิจของ 2 คณะ คือคณะทำงานที่ 3 ด้านภัยแล้ง เอลนีโญ และคณะทำงานที่ 13 ด้านการประมง โดย 2 คณะทำงานนี้มีการประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง มีความคืบหน้าอย่างน่าสนใจ

 

เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง

 นายเดชรัต สุขกำเนิด ประธานคณะทำงานด้านภัยแล้ง เอลนีโญ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กรอบการทำงานของคณะทำงานทั้ง 14 ชุด คือการเตรียมแนวทางเพื่อเสนอต่อคณะทำงานประสานงานที่ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ ในส่วนของคณะทำงานด้านภัยแล้งฯ จะมีการประชุมครั้งสุดท้าย รวมทั้งการลงพื้นเพื่อดูการบริหารจัดการนํ้าที่จังหวัดชัยนาท ในวันที่ 9 กรกฎาคมนี้

เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง

เหตุที่เลือกลงไปดูการบริหารจัดการนํ้าที่ชัยนาท มี 2 ประการ เหตุผลแรก เพื่อดูการบริหารจัดการ นํ้าในพื้นที่ภาคกลางว่าแผนที่ชลประทานวางไว้มีการบริหารจัดการอย่างไร และเหตุผลที่ 2 มีชาวบ้านได้ร่วมกับกรมชลประทานวางแผนระบบการจัดสรรนํ้าแบบใหม่ ทำให้ระยะเวลาการจัดสรรนํ้าภายในคลองส่งนํ้าสายเดียวกันสั้นลง ได้นํ้าพร้อมกัน และสามารถส่งนํ้าไปที่คลองอื่นได้ด้วย อยากจะไปดูแนวทางว่าจะขยายผลไปพื้นที่อื่นได้ด้วยหรือไม่

 

เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง

“ภัยแล้งจากเอลนีโญ จากการประเมินไทยค่อนข้างมีความเสี่ยงสูงมาก ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์ฝนในทุก ๆ เดือน จะเห็นว่าในรอบเดือนมิถุนายนนี้ปริมาณฝนจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ถือเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงที่อาจลากยาวไปจนถึงฤดูแล้ง หรือฤดูฝนปีหน้าสิ่งที่จะต้องดำเนินการคือการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการบริหารนํ้า”

 

เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง

อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังไม่สามารถที่จะเข้าไปสั่งการหรือไปบอกกับหน่วยราชการได้เพราะยังไม่ได้เป็นรัฐบาล แค่เตรียมการไว้ก่อน แต่ด้วยประสบการณ์ของทีมงานหลายพรรคร่วมกัน เห็นควรที่จะเตรียมการในการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกพืชที่ใช้นํ้าน้อยเพื่อรับมือกับเอลนีโญ (กราฟิกประกอบ) สำหรับต้นปี 2567 คาดจะมีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ในเขตพื้นที่ชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ส่วนภาค อื่นๆ คงต้องประเมินตามสถานการณ์ นํ้าอีกครั้ง ส่วนนอกพื้นที่ชลประทานต้องเร่งเพิ่มแหล่งนํ้า ทั้งระบบนํ้าบาดาล และระบบสระนํ้าในไร่นา

 

 

เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง

ด้านนายไตรฤกษ์ มือสันทัดประธานคณะทำงานด้านการประมง กล่าวว่า การแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) ที่ผิดพลาดตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ทำให้ภาคประมงและธุรกิจต่อเนื่องได้รับความเสียหายไม่ตํ่ากว่า 2 แสนล้านบาท เรือประมงพาณิชย์ในน่านนํ้าไทยจากจำนวน 42,512 ลำคงเหลือที่สามารถออกใบอนุญาตทำการประมงในปัจจุบันเพียง 9,000 ลำเท่านั้น ส่วนเรือประมงนอกน่านนํ้าไทยสามารถออกเรือไปทำประมงได้เพียง 3 ลำ จากเคยมีมากกว่า 1,000 ลำ ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติชุดใหม่มากำกับดูแลให้สอดคล้องกับวิถีการทำประมงของไทย

เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง

 “นอกจากนี้จะให้ยกเลิกคณะกรรมการเฉพาะกิจ หรือไอยูยูฮันเตอร์(IUU Hunter) ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อจับกุมผู้กระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับการประมงทะเลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561จนถึงปัจจุบัน เมื่อยุบแล้วจะคืนอำนาจให้แต่ละกระทรวงที่มีภารกิจโดยตรงและมีอำนาจอยู่แล้ว การชดเชยเยียวยา และการนิรโทษกรรมเรือประมงที่ผ่านกระบวนการศาลมาแล้ว จะทำให้เรือต่าง ๆไม่ต้องติดแบล็กลิสต์ รวมถึงการทบทวนแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และแก้ไขเพิ่มเติมปี 2560 ที่มีผลบังคับใช้ และจะนำร่างพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ...ฉบับใหม่ที่ผ่านวาระแรก (รัฐบาลชุดที่แล้ว) บรรจุวาระ เข้าสู่การพิจารณาของสภาภายใน 60 วัน พร้อมเสนอแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องประมง และการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูการประมงไทยซึ่งจะแถลงเป็นนโยบายเร่งด่วน 100 วัน”

เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง

 

 

อนึ่ง เก็บควันหลงประชุมคณะทำงานด้านประมง ( 3 กค.66) เวลา 9.00 น. ณ.ห้องประชุมพรรคเพื่อไทยชั้น 6

  เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง
1.นายวรภพ วิริยะโรจน์ พรรคก้าวไกล
2.นายณัฐพงษ์ สุมโนธรรม   พรรคก้าวไกล
3.นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร   พรรคก้าวไกล
4.นายคเชนทร์ สุขเกษม      พรรคก้าวไกล

เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง
5.นายนิธิวัตน์ ธีระนันทกุลพรรคก้าวไกล
6.นางสาวกนกวรรณ       มณีโรจน์  เลขาฯที่ประชุม 
7.นางอันน์เกตุ ลีลาไพบูลย์ พรรคประชาชาติ
8.นายสฤษฏ์พัฒน์     ภมรวิสิฐ  พรรคประชาชาติ

เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง
9.นายพิชัย แซ่ซิ้ม     พรรคเป็นธรรม
10.นายปณิธาน ประจวบเหมาะ พรรคไทยสร้างไทย
11.นายนันทชัย สุขเกื้อ พรรคไทยสร้างไทย
12.นายไตรฤกษ์ มือสันทัด   พรรคเพื่อไทย
13.นายมงคล    สุขเจริญคณา พรรคเพื่อไทย

เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง
14.นายสุวัฐน์ วงศ์สุวัฒน์ พรรคเพื่อไทย
15.นายศุภชัย นาคสุวรรณ์ พรรคเสรีรวมไทย
16.นายธนวร นาคสุวรรณ์ พรรคเสรีรวมไทย
17.นายมงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมประมงสมุทรสาคร

 

เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง

หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,903 วันที่ 9-12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566