“พาณิชย์”หวั่น “ภัยแล้ง”กระทบสินค้าเกษตร-อาหาร ดันเงินเฟ้อสูงขึ้นอีก

06 มิ.ย. 2566 | 13:11 น.
อัปเดตล่าสุด :06 มิ.ย. 2566 | 13:21 น.

หวั่น “ภัยแล้ง”กระทบสินค้าเกษตร-อาหาร ดันเงินเฟ้อสูงขึ้นอีก ทำอุปสงค์ในประเทศเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว และการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น  

นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่าปัจจัยที่จะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น คือ ภัยแล้ง ที่จะกระทบสินค้าเกษตรและอาหาร ที่จะปรับตัวสูงขึ้น อุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว

นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

และการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น จากก๊าซหุงต้ม หรือในอนาคต จะมีเรื่องค่าแรง ซึ่งต้องติดตามดู เพราะยังไม่มีการปรับขึ้น และหากจะปรับขึ้น จะปรับขึ้นอย่างไร ขึ้นทีเดียว หรือตามขั้นบันได

        

“พาณิชย์”หวั่น “ภัยแล้ง”กระทบสินค้าเกษตร-อาหาร ดันเงินเฟ้อสูงขึ้นอีก

 สำหรับ ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนพ.ค.2566 เท่ากับ 107.19 เทียบกับเม.ย.2566 ลดลง 0.71% เทียบกับเดือนพ.ค.2565 เพิ่มขึ้น 0.53% ชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และต่ำสุดในรอบ 21 เดือน ตั้งแต่เดือนก.ย.2564 ที่เงินเฟ้ออยู่ที่ 1.68%

โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง การลดลงของค่าไฟฟ้า สินค้าในหมวดอาหารราคาชะลอตัว และฐานราคาในเดือนพ.ค.2565 ที่ใช้ในการคำนวณเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) เพิ่มขึ้น 2.96%
“พาณิชย์”หวั่น “ภัยแล้ง”กระทบสินค้าเกษตร-อาหาร ดันเงินเฟ้อสูงขึ้นอีก
 

       

         โดยเป็นการสูงขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 3.99% ชะลอตัวจากเดือนเม.ย.2566 ที่สูงขึ้น 4.53% โดยสินค้าที่ราคาสูงขึ้น เช่น ผักและผลไม้ (มะนาว ต้นหอม มะเขือ แตงโม เงาะ) ไข่ไก่ เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดไม่มากนัก ประกอบกับความต้องการเพิ่มขึ้นจากการเปิดภาคเรียน เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) น้ำอัดลม กาแฟผงสำเร็จรูป) และอาหารบริโภคในบ้าน (กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว) ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต ส่วนสินค้าที่ราคาลดลง เช่น เนื้อสุกร ปลาช่อน น้ำมันพืช มะขามเปียก มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) กล้วยน้ำว้า ทุเรียน และชมพู่

“พาณิชย์”หวั่น “ภัยแล้ง”กระทบสินค้าเกษตร-อาหาร ดันเงินเฟ้อสูงขึ้นอีก

ส่วนสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 1.83% ตามการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่มดีเซล แก๊สโซฮอล์ และเบนซิน ค่ากระแสไฟฟ้า เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า แป้งผัดหน้า หน้ากากอนามัย และค่าสมาชิกเคเบิลทีวี

 ส่วนสินค้าที่ราคาสูงขึ้น เช่น ก๊าซหุงต้ม ค่าโดยสารสาธารณะ (เครื่องบิน แท็กซี่ จักรยานยนต์รับจ้าง รถเมล์เล็ก/สองแถว เรือ) ค่าการศึกษา สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (สารกำจัดแมลง น้ำยาล้างห้องน้ำ) และค่าบริการส่วนบุคคล (ค่าแต่งผมชาย/สตรี ค่าทำเล็บ) ทั้งนี้ ในส่วนของเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนพ.ค.2566 เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก เพิ่มขึ้น 0.06% เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.2566 ถือว่าราคาค่อนข้างนิ่ง และเพิ่มขึ้น 1.55% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค.2565 รวม 5 เดือนเพิ่มขึ้น 1.98%  

“พาณิชย์”หวั่น “ภัยแล้ง”กระทบสินค้าเกษตร-อาหาร ดันเงินเฟ้อสูงขึ้นอีก
        แนวโน้มเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.2566 คาดว่า จะเริ่มทรง ๆ ตัว ไม่เหมือนเดือนพ.ค.2566 ที่ลงมาแรง ซึ่งตัวเลขอาจจะต่ำกว่าเดือนพ.ค. หรือสูงกว่าเล็กน้อย หรือบางเดือนหลังจากนี้อาจจะเห็นตัวเลขใกล้ ๆ เลข 0 ก็ได้ โดยมีปัจจัยที่มีผลทำให้เงินเฟ้อลดลง ยังคงเป็นน้ำมัน ที่วันนี้ขึ้น พรุ่งนี้ลง ตอนนี้ยังมีความไม่ชัดเจน แม้ล่าสุดโอเปกจะปรับลดกำลังการผลิตลงมา แต่ก็ยังมีภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่จะฉุดความต้องการใช้ ฐานเงินเฟ้อปีก่อนที่อยู่ในระดับสูง ก็จะมีผลทำให้เงินเฟ้อไม่เพิ่มขึ้นมาก และมาตรการลดค่าครองชีพภาครัฐ หากมีมาตรการแรง ๆ ออกมา ก็จะช่วยฉุดเงินเฟ้อลงอีก เช่น ลดค่าไฟ

“พาณิชย์”หวั่น “ภัยแล้ง”กระทบสินค้าเกษตร-อาหาร ดันเงินเฟ้อสูงขึ้นอีก
         
สำหรับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 ขณะนี้กำหนดไว้ที่ระหว่าง 1.7–2.7% ค่ากลาง 2.2% แต่จากสถานการณ์ปัจจุบัน เงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลง โดยไตรมาส 1 เงินเฟ้อ 3.88% ไตรมาส 2 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 1% กว่า ๆ ไตรมาส 3 และ 4 เฉลี่ยไม่เกิน 1% ทำให้ทั้งปีน่าจะลดลง โดยขอดูความชัดเจนในเดือนมิ.ย.2566 ก่อน และจะพิจารณาปรับเป้าหมายอีกครั้ง แต่มีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดลง