รีวิว “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” โมโนเรลสายแรกในไทย คลิกเดียวจบ

03 มิ.ย. 2566 | 17:20 น.
อัปเดตล่าสุด :03 มิ.ย. 2566 | 17:21 น.
3.5 k

รีวีว นั่ง “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” หลังเปิดให้บริการประชาชนทดลองนั่งฟรี 13 สถานี พร้อมเจาะลึกโมโนเรลสายแรกในไทย เปิดจุดเชื่อมต่อการเดินทางรถไฟฟ้า 4 สาย แนะขั้นตอนใช้บริการ ง่ายๆคลิกเดียวจบ

ล่าสุด วันนี้ (3 มิ.ย.2566) ได้ฤกษ์เปิดตัวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร(กม.) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลสายแรกในไทย โดยการเปิดให้บริการในครั้งนี้เป็นการเปิดให้ประชาชนทดลองนั่งฟรี 13 สถานี ตั้งแต่สถานีหัวหมาก-สถานีสำโรง ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00 น. มีความถี่ในการให้บริการ 10 นาทีต่อขบวน 

รีวิว “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” โมโนเรลสายแรกในไทย คลิกเดียวจบ

ทั้งนี้หลังจากเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองแล้วประมาณ 1 สัปดาห์  จะมีการประเมินร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อีกครั้ง เพื่อให้ผู้โดยสารเกิดความมั่นใจ ก่อนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบครบตลอดสายทั้ง 23 สถานี

รีวิว “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” โมโนเรลสายแรกในไทย คลิกเดียวจบ
 

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ถือเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลสายแรกที่ช่วยตอบโจทย์คนทำงานที่ต้องเดินทางเข้าใจกลางเมือง โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยบริเวณถนนลาดพร้าว,ศรีนครินทร์,แบริ่ง,พัฒนาการ,หัวหมาก ฯลฯ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

รีวิว “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” โมโนเรลสายแรกในไทย คลิกเดียวจบ

จากทดสอบใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง พบว่า ภายในรถไฟฟ้ามีขนาดเล็กกะทัดรัด  ซึ่งแตกต่างจากภายในรถไฟฟ้าสายสีเขียวหรือสายสีน้ำเงินที่มีความกว้างมากกว่า โดยภายใน 1 ตู้จะมีที่นั่งแต่ละจุด 4 ที่นั่ง รวมที่นั่งสำหรับบุคคลพิเศษ ที่ให้บริการประชาชน ขณะที่กระจกภายในขบวนรถมีความกว้างพอสมควร ทำให้ประชาชนสามารถเห็นบรรยากาศโดยรอบระหว่างที่ขบวนรถออกเดินทางได้ตลอดสาย โดยตลอดระยะเวลาที่ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีอาการสั่นเล็กน้อย แต่ไม่มีอาการสะดุดหรือชะงักระหว่างทางในช่วงที่ขบวนรถออกเดินทางเหมือนกับรถไฟฟ้าสายสีทอง 
รีวิว “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” โมโนเรลสายแรกในไทย คลิกเดียวจบ

ถึงแม้ว่า “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” จะเปิดให้บริการประชาชนทดลองนั่งแล้ว แต่น่าเสียดายที่รถไฟฟ้าสายนี้ไม่ได้เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว บริเวณแยกรัชโยธิน ทำให้แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้ในปัจจุบันกลายเป็นฟันหลอ หากในอนาคต รฟม.สามารถขยายแนวเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ได้ จะช่วยแก้ปัญหาลดการจ่ายค่าแรกเข้ารถไฟฟ้าซ้ำซ้อน และไม่ทำให้ผู้โดยสารเดือดร้อนด้วย 

รีวิว “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” โมโนเรลสายแรกในไทย คลิกเดียวจบ

ทำความรู้จัก รถไฟฟ้าโมโนเรล “สายสีเหลือง” 

 

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” มีเอกชนผู้รับสัมปทาน คือ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) โดยกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) นำโดยบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS)

 

ลักษณะของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) แบบไร้คนขับโดยขบวนรถไฟฟ้าที่นำมาใช้ คือ ยี่ห้อ บอมบาร์ดิเอร์ รุ่นอินโนวา โมโนเรล 300 เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร ความจุ 356 คนต่อตู้ ต่อพ่วงแบบ 4 ตู้ต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ 

รีวิว “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” โมโนเรลสายแรกในไทย คลิกเดียวจบ

ทั้งนี้ขบวนรถสามารถขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 17,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง โดยรถไฟฟ้ารุ่นนี้ได้นำมาใช้กับรถไฟฟ้าสาย 15 (สายสีเงิน) ที่เมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล และเตรียมที่จะนำมาใช้กับโครงการโมโนเรลย่านการเงิน คิง อับดุลเลาะห์ (KAFD) ประเทศซาอุดิอาระเบีย, โมโนเรลสาย 1 และ 2 ในเมืองอู่หู ประเทศจีน และโมโนเรลในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์

รีวิว “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” โมโนเรลสายแรกในไทย คลิกเดียวจบ

รูปแบบของขบวนรถไฟฟ้ามีทั้งหมด 4 ตู้ ใช้ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งภายใน 1 ตู้โดยสารจะมีทั้งหมด 14-16 ที่นั่งต่อตู้ สามารถจุผู้โดยสารได้สูงสุด 748 คนต่อขบวน และยังมีที่นั่งสำรองสำหรับบุคคลพิเศษไว้ให้บริการ โดยภายในขบวนรถยังมีพื้นที่สำหรับรถเข็นคนพิการ และติดตั้งอุปกรณ์ถังดับเพลิงไว้ บันไดฉุกเฉิน ไว้ภายในขบวนรถ สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น

 

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” ตลอดสายครบทั้ง 23 สถานี

 

หากประชาชนที่สนใจใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จะเริ่มต้นที่สถานีลาดพร้าว บริเวณอาคารจอดแล้วจรของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน)  ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย จากนั้นเลี้ยวไปตามแนวถนนลาดพร้าว ผ่านซอยภาวนา โชคชัย 4 ลาดพร้าว 71 ลาดพร้าว 101 ผ่านสถานีบางกะปิ บริเวณแยกบางกะปิ ซึ่งประชาชนสามารถเดินทางเชื่อมต่อเรือโดยสารสาธารณะผ่านสถานีนี้ได้  เลี้ยวขวาไปแยกลำสาลี ซึ่งจุดนี้สามารถเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้าสาย สีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 

รีวิว “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” โมโนเรลสายแรกในไทย คลิกเดียวจบ

นอกจากนี้แนวเส้นทางจะผ่านสถานีหัวหมาก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อทั้งรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์  ที่สถานีหัวหมากและเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหัวหมากของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ด้วย หลังจากนั้นเข้าสู่ถนนศรีนครินทร์ พาดผ่านทางแยกต่างระดับพระราม 9 ผ่านแยกศรีนุช ศรีอุดม ศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเทพารักษ์ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนสุขุมวิท ที่สถานีสำโรง ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายที่ประชาชนสามารถเดินทางเพียง 300 เมตร เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีสำโรง 

รีวิว “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” โมโนเรลสายแรกในไทย คลิกเดียวจบ

ขั้นตอนช่วงทดลองการใช้บริการ “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” ไม่เก็บค่าโดยสาร

 

เข้าสถานี 

  • รับบัตรเที่ยวเดียว (Single journey Card) ที่ตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ หรือรับจากเจ้าหน้าที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร
  • ใช้บัตรแรบบิทในการเดินทาง (ไม่หักค่าโดยสาร)
  • แตะบัตรเข้าระบบบนเครื่องอ่านบัตรที่ประตูอัตโนมัติ

รีวิว “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” โมโนเรลสายแรกในไทย คลิกเดียวจบ

ออกสถานี

  • บัตรเที่ยวเดียว (Single journey Card) สอดบัตรคืน ที่ช่องรับบัตรด้านหน้าประตูอัตโนมัติ
  • บัตรแรบบิท แตะบัตรบนเครื่องอ่านบัตรที่ประตูอัตโนมัติ