รถไฟฟ้าสายสีเหลือง นั่งฟรี เปิดกี่โมง ปิดกี่โมง สถานีไหนเปิดให้บริการ

10 มิ.ย. 2566 | 19:38 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ก.ค. 2566 | 22:03 น.
33.6 k

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรี ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2566 เป็นเวลา 1 เดือน เช็ครายละเอียด เปิดกี่โมง ปิดกี่โมง สถานทีไหนเปิดให้บริการ ล่าสุดมีให้บริการจุดไหนบ้าง

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เตรียมเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรี ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2566 โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และเอกชนผู้รับสัมปทานโครงการ ซึ่งในช่วงแรกนั้น จะยังไม่เปิดให้บริการทั้งหมด แต่จะเปิดเป็นช่วงให้ประชาชนทดลองนั่งฟรีก่อน

สัปดาห์แรกเปิดแค่ 13 สถานี

ล่าสุด น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งรายละเอียดว่า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ในช่วงสัปดาห์แรกจะเปิดให้ทดลองก่อน 13 สถานี ระหว่างสถานีสำโรง ถึงสถานีหัวหมาก

โดยปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เปิดให้ทดลองครบทั้ง 23 สถานีแล้ว ประกอบด้วย

  1. สถานีลาดพร้าว
  2. สถานีภาวนา
  3. สถานีโชคชัย 4
  4. สถานีลาดพร้าว 71
  5. สถานีลาดพร้าว 83
  6. สถานีมหาดไทย
  7. สถานีลาดพร้าว 101
  8. สถานีบางกะปิ
  9. สถานีแยกลำสาลี
  10. สถานีศรีกรีฑา
  11. สถานีหัวหมาก
  12. สถานีกลันตัน
  13. สถานีศรีนุช
  14. สถานีศรีนครินทร์ 38
  15. สถานีสวนหลวง ร.9
  16. สถานีศรีอุดม
  17. สถานีศรีเอี่ยม
  18. สถานีศรีลาซาล
  19. สถานีศรีแบริ่ง
  20. สถานีศรีด่าน
  21. สถานีศรีเทพา
  22. สถานีทิพวัล
  23. สถานีสำโรง

 

ภาพประกอบข่าว รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เปิดกี่โมง ปิดกี่โมง

ระยะแรกของการทดลองจะให้บริการระหว่าง 9.00 - 20.00 น. จากนั้นจะทยอยขยายเวลาไปถึง 24.00 น.  

ล่าสุด รฟม.แจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป จะขยายช่วงเวลาให้บริการเป็นระหว่างเวลา 06.00-24.00 น. 

ทั้งนี้ในการให้บริการรถไฟฟ้าจะออกทุก 5 นาที ในช่วงเวลาเร่งด่วน คือ

  • ตอนเช้า เวลา 07.00-09.00 น.
  • ตอนเย็น เวลา 17.00-20.00 น.

ส่วนหลังช่วงเวลาเร่งด่วน จะให้บริการทุก 10 นาที

ล่าสุด รฟม. มีการแจ้งข้อมูลว่า ในวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2566 รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองปิดให้บริการเวลา 22.00 น.

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ต้องรับตั๋วไหม

สำหรับการให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการ ถือเป็นการทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) โดยจะมีออกตั๋วโดยสารที่เครื่องจำหน่ายอัตโนมัติจริง แต่ยังไม่ต้องชำระเงินจริง จากนั้นนำตั๋วโดยสารไปแตะผ่านประตูทางเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าต่อไป

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เก็บเงินเมื่อไหร่

สำหรับการให้บริการเชิงพาณิชย์ เริ่มเก็บค่าโดยสารสำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองตามกำหนดการจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป โดยมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท รายละเอียดแสดงตามตารางอัตราค่าโดยสาร

 

ตารางอัตราค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว - สำโรง

 

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 

เมื่อให้บริการเต็มรูปแบบแล้วจะเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล เพิ่มความสะดวกสบายแก่ประชาชนยิ่งขึ้น เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าระบบโมโนเรล มีแนวเส้นทางผ่านย่านที่อยู่อาศัยและย่านธุรกิจสำคัญๆ

เริ่มต้นที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว วิ่งไปตามถนนลาดพร้าว จนถึงแยกบางกะปิ และเลี้ยวขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ ผ่านแยกศรีนุช ศรีอุดม ศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเทพารักษ์ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนสุขุมวิท ที่สถานีสำโรง

 

ภาพประกอบข่าว รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)

 

สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร รวม 23 สถานี ประกอบด้วย

  1. ลาดพร้าว
  2. ภาวนา
  3. โชคชัย 4
  4. ลาดพร้าว 71
  5. ลาดพร้าว 83
  6. มหาดไทย
  7. ลาดพร้าว 101
  8. บางกะปิ
  9. แยกลำสาลี
  10. ศรีกรีฑา
  11. หัวหมาก
  12. กลันตัน
  13. ศรีนุช
  14. ศรีนครินทร์ 38
  15. สวนหลวง ร.9
  16. ศรีอุดม
  17. ศรีเอี่ยม
  18. ศรีลาซาล
  19. ศรีแบริ่ง
  20. ศรีด่าน
  21. ศรีเทพา
  22. ทิพวัล
  23. สำโรง

 

ภาพประกอบข่าว รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)

 

นายกฯ เปิดรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธานในการเปิดโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลืองอย่างเป็นทางการ  

โดย พลเอก ประยุทธ์ และคณะจะเดินทางไปยังศูนย์ซ่อมบำรุง ซึ่งตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ตัดกับถนนบางนา-ตราด ใกล้กับสถานีศรีเอี่ยม เพื่อรับฟังบรรยายสรุปของโครงการฯ จากนั้นคณะจะร่วมทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จากศูนย์ซ่อมบำรุง ผ่านสถานีศรีอุดม มุ่งหน้าสู่สถานีลาดพร้าว โดยขบวนรถไฟฟ้าจะรับ-ส่งผู้โดยสารระหว่างทางด้วย

จากนั้นนายกฯ จะเป็นประธานในการเปิดให้ประชาชนได้ร่วมใช้บริการที่สถานีลาดพร้าว ซึ่งถือเป็นสถานีต้นทางของโมโนเรลสายสีเหลือง และเป็นขบวนแรกสายสีเหลือง ที่วิ่งทดสอบระบบตลอดสายลาดพร้าว-สำโรง จำนวน 23 สถานี

ความคืบหน้ารถไฟฟ้า กทม.

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เมื่อเปิดให้บริการแล้ว จะทำให้ทั่วกรุงเทพฯ-ปริมณฑลมีโครงข่ายรถไฟฟ้าเปิดให้บริการรวมแล้วทั้งสิ้น 12 เส้นทาง ระยะทางรวม 242.34 กม. จากปัจจุบันที่เปิดให้บริการอยู่ 11 เส้นทาง ระยะทาง 211.94 กม. และจะทำให้ยังเหลือโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 5 โครงการ ระยะทางรวม 105.4 กม. ซึ่งแต่ละโครงการมีความคืบหน้าการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนเม.ย. 66 ดังนี้

1. สายสีชมพู เส้นทางแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 30.50 กม. ความก้าวหน้าการก่อสร้างรวมร้อยละ 96.43  

2.สายสีชมพู ส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กม. ความคืบหน้าโครงการโดยรวมร้อยละ 20.41

3. สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ระยะทาง 22.50 กม. งานโยธาคืบหน้าร้อยละ 99.85 

4.แอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ระยะทาง 21.80 กม. ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรื้อย้ายสาธารณูปโภคและเวนคืนที่ดิน 

5.สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.60 กม. ความคืบหน้างานโยธาร้อยละ 10.41