แหล่งข่าวจากผู้ส่งออกอาหาร เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ตั้งแต่การเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 และพรรคการเมืองคต่างออกที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรและอาหารที่มุ่งเน้นการเพิ่มรายได้เกษตรกร ซึ่งเป็นนโยบายประชานิยมเพื่อจูงใจในการลงคะแนนเสียงให้ได้เป็นรัฐบาล ซึ่งล่าสุดวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 16.30 น. มีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) รวม 8 พรรคการเมือง โดยใน 23 MOU มีประเด็นที่เกี่ยวกับการผลักดันเศรษฐกิจไทยให้สามารถแข่งขันและเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน
ทั้งนี้ ธุรกิจหรือสินค้าที่คาดว่าน่าจะได้อานิสงส์จากนโยบายพรรคการเมือง เช่น
- ธุรกิจท่องเที่ยว พรรคส่วนใหญ่มองว่าท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ช่วยเพิ่มการจ้างงานและรายได้ให้ประเทศได้อย่างรวดเร็ว อย่างเช่น กรณีของ พรรคเพื่อไทยได้ประกาศว่าจะเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็น 3 ล้านล้านบาทภายในปี 2570 จากการยกระดับประเทศไทยให้กลายเป็น ศูนย์กลางการคมนาคม และมีนโยบายที่จะขยายปริมาณการรองรับผู้โดยสารของสนามบินเป็น 120 ล้านคนภายใน 4 ปี
- สินค้าจําเป็น ผู้ผลิตสินค้าจําพวกอาหารแช่แข็ง อาหารพร้อมรับประทาน และบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป น่าจะได้แรงหนุนจากกําลังซื้อที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงค้าปลีก จากเงินช่วยเหลือประชาชนที่มากขึ้น ต้นทุนค่าไฟฟ้าและต้นทุนพลังงานที่ต่ำลง จะช่วยให้ประชาชนเหลือเงินจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น
- ซีเมนต์และอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน จากนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่บอกว่า จะเพิ่มรายได้เกษตรกร 3 เท่าตัวภายใน 4 ปี คาดว่าจะช่วยให้ เกษตรกรกว่า 8 ล้านครัวเรือนใช้จ่ายมากขึ้นกับการก่อสร้างบ้านใหม่
แต่อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามจากนโยบายที่อาจจะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะ
- กัญชา ทั้งพรรคก้าวไกลและเพื่อไทยต่างประกาศนโยบายต่อต้านกัญชาเสรี และต้องการที่จะจำกัดการใช้กัญชา ทำให้ได้รับผลกระทบ
- ผู้ผลิตไฟฟ้า พรรคการเมืองส่วนใหญ่มีนโยบายที่จะปรับลดค่าไฟฟ้าในระหว่างการหาเสียง หลังจากที่ประชาชนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าค่าไฟฟ้า แพงขึ้นมาก โดยพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยต่างมีนโยบายในด้านนี้
- ค้าปลีกน้ำมัน ที่ผ่านมารัฐบาลไทยต่างให้การช่วยเหลือการค้าปลีกน้ำมันดีเซลและก๊าซหุงต้มมาโดยตลอด เพื่อลดภาระเงินเฟ้อ ขณะที่รัฐบาล ใหม่มีแนวโน้มที่จะลดเงินช่วยเหลือลง และต้องการช่วยเหลือกลุ่มรายได้น้อยแทน ซึ่งอาจกระทบต่อหุ้นในกลุ่มโรงกลั่นและค้าปลีก
- และกลุ่มที่อิงกับการเมือง บริษัทที่อิงกับพรรคการเมืองบางแห่ง
อย่างไรก็ตามภาคเอกชนมีข้อเสนอแนะเพื่อให้ตอบโจทย์ครัวไทยสู่ครัวโลก คือเน้นส่งเสริมยกระดับโครงสร้างการผลิต ให้มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ ความปลอดภัย สุขอนามัยที่สอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล การใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี ทั้งในภาคการเกษตร การผลิต และการกระจายสินค้า และส่งเสริมและผลักดัน “อาหารไทย” เป็น “ซอฟต์พาวเวอร์ ” นําวัตถุดิบอาหารเป็นใบเบิกทางสู่ “ครัวโลก” รวมถึงกระตุ้นการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ๆ ทั้งนี้รวมในกลุ่มอาหารแปรรูปและอาหารที่มีการใช้นวัตกรรม อาหารอนาคต เป็นต้น