sacit เฟ้นหา 25 ครูช่างสืบสานภูมิปัญญางานหัตถศิลป์

18 พ.ค. 2566 | 16:18 น.
อัปเดตล่าสุด :18 พ.ค. 2566 | 16:23 น.

sacit  เฟ้นหาสุดยอดครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม หวังให้ภูมิปัญญาและทักษะเชิงช่างคงอยู่ไม่เลือนหาย  พร้อมหวังคนรุ่นใหม่สานต่อลักษณ์ความเป็นไทย

นายภาวี โพธิ์ยี่ รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (sacit  ) เปิดเผยว่า sacit ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ รักษาคุณค่าภูมิปัญญา ทักษะฝีมือและองค์ความรู้เชิงช่างที่อยู่ ในตัวบุคคล ที่ถือได้ว่าเป็นสมบัติอันมีค่าที่สุด ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา และส่งต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน    คนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่า เกิดเป็นแรงบันดาลใจในการช่วยกันอนุรักษ์ สืบสาน รักษา และเกิดความภาคภูมิใจ ในขณะเดียวกันก็ยังส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อยอดผสมผสานด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิม และแนวคิด                        

นายภาวี โพธิ์ยี่ รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (sacit  )

เชิงสร้างสรรค์ สู่ความร่วมสมัย อันจะนำไปสู่การสร้างโอกาสทางการตลาดในเชิงพาณิชย์ต่อไปได้ ซึ่ง sacit ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง กว่า 14 ปี แล้ว ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบโดยนำนวัตกรรมผสานความคิดสร้างสรรค์ เกิดเป็นงานศิลปหัตถกรรมไทยร่วมสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณค่าและอัตลักษณ์ความเป็นไทย และสามารถใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน

sacit เฟ้นหา 25 ครูช่างสืบสานภูมิปัญญางานหัตถศิลป์

ดยในปี 2566 นี้ sacit ได้ดำเนินการเฟ้นหาผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อนำมายกย่องเชิดชูเป็นครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม โดยมีหลักเกณฑ์ในการเฟ้นหา  ที่ครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่ มิติด้านการอนุรักษ์ สืบสาน , มิติด้านทักษะฝีมือ องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น , มิติด้านการพัฒนา สร้างสรรค์ผลงานเชิงร่วมสมัย และมิติด้านสังคม ในสาขางานศิลปหัตถกรรม 9 สาขา ได้แก่   1. เครื่องไม้ 2. เครื่องจักสาน  3. เครื่องดิน  4. เครื่องทอ (เครื่องผ้า) 5. เครื่องรัก 6. เครื่องโลหะ

sacit เฟ้นหา 25 ครูช่างสืบสานภูมิปัญญางานหัตถศิลป์

7. เครื่องหนัง 8. เครื่องกระดาษ 9. เครื่องหิน ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศไทย จนได้ครูศิลป์ของแผ่นดิน จำนวน 1 ราย ครูช่างศิลปหัตถกรรม จำนวน 14 ราย และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม จำนวน 10 ราย รวมทั้งสิ้น 25 ราย และเป็นงานศิลปหัตถกรรมไทยที่หาดูยากในปัจจุบัน อาทิ เครื่องทอง เครื่องเงินยัดลาย , บุดุนโลหะ , ผ้าไหมลายโบราณ , งานประดับลายปิดทอง , แกะสลักหิน , งานเครื่องไม้ล้านนาและปราสาทนกหัสดีลิงค์ , ว่าวเบอร์อามัส , สลุงเงิน พานเงิน เป็นต้น

sacit เฟ้นหา 25 ครูช่างสืบสานภูมิปัญญางานหัตถศิลป์

ซึ่งการคัดสรรในปีนี้ได้เปิดกว้างในเฟ้นหาและคัดสรรผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย โดยให้คำนึงถึงความเสมอภาคทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติตามยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งนี้sacit ชวนพบกับครูและชื่นชมงานศิลปหัตถกรรมไทยชั้นบรมครู ได้ที่อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 22 – 28 พฤษภาคม 2566 ณ ฮอลล์ EH 100 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค