"ส่งออกไทย" 3 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-มี.ค.) การส่งออกมีมูลค่า 70,280.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลด 4.5% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 2,373,189 ล้านบาท นำเข้ามูลค่า 73,324.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลด 0.5% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 2,508,390 ล้านบาท ขาดดุลการค้า มูลค่า 3,044.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 135,201 ล้านบาท
ล่าสุดสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้วิเคราะห์แนวโน้มการส่งออกปี 2566 รายสินค้า ทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อสะท้อนให้เห็นทิศทางภาวะอุตสาหกรรมและความต้องการผู้บริโภค รวมทั้งทิศทางภาวะตลาดของประเทศคู่สำคัญ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
กลุ่มสินค้าส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวในปี 2566 ได้แก่
- กลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ข้าว อาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ เครื่องดื่ม ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และไอศกรีม
- กลุ่มสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว เช่น
- เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สำหรับการเดินทาง
- กลุ่มสินค้าเกี่ยวกับการแพทย์และสุขภาพ อาทิ เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ ตามเทรนด์ สุขภาพ และสังคมผู้สูงอายุ
- กลุ่มสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กหรอนิกส์ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล อาทิ แผงงจรไฟฟ้า เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว4.2 % (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน โดยเป็นการขยายตัวทั้งหมวดสินค้าเกษตร ขยายตัว1.2% และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 7.1% โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำตาลทราย ขยายตัว 73.9 %ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และลิเบีย
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว5.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน ขยายตัวในตลาดจีน ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ) ข้าว ขยายตัว7.2 % ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน ขยายตัวในตลาดอิรัก แอฟริกาใต้ แองโกลา เซเนกัล และแทนซาเนีย
- ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัว94.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัว 6.2% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน ขยายตัวในตลาดอินเดีย เมียนมา เกาหลีใต้ กัมพูชา และจีน
- เครื่องดื่ม ขยายตัว13.2% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน ขยายตัวในตลาดเวียดนาม จีน ลาว มาเลเซีย และอินโดนีเซียไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัว47.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์
ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ
- ยางพาราติดลบ41.1% ต่อเนื่อง 8 เดือนในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ แต่ขยายตัวในตลาดโรมาเนีย และสหราชอาณาจักร
- อาหารสัตว์เลี้ยง ติดลบ 25% ต่อเนื่อง 5 เดือนในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และอิตาลี แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา บังกลาเทศ และรัสเซีย
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ติดลบ17.8% ต่อเนื่อง 6 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดจีน กัมพูชา ไต้หวัน ลาว และเมียนมาทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว1.9%
ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมพบว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ติดลบ 5.9% (YoY) ต่อเนื่อง 6 เดือน แม้ว่าการส่งออกภาพรวมของหมวดหดตัว แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว1.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน ในตลาดญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ)
- เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัว 16.7% ต่อเนื่อง 3 เดือนในตลาดสหรัฐฯ อิตาลี ฝรั่งเศส อินเดีย และอินโดนีเซีย
- อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัว66.4% ต่อเนื่อง 9 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย แคนาดา และจีน
- ครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว27.4% อเนื่อง 17 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เม็กซิโก ฮ่องกง และแคนาดา
- รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัว5% ต่อเนื่อง 8 เดือนในตลาดจีน ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์
- หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัว55.9% ต่อเนื่อง 17 เดือนในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เยอรมนี และมาเลเซีย
ขณะที่สินค้าสำคัญที่ติดลบ อาทิ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ติดลบ 14.2 % ต่อเนื่อง 8 เดือนในตลาดจีน เวียดนาม กัมพูชา อินเดีย และญี่ปุ่น แต่ขยายตัวในตลาดลาว สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ และอียิปต์
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ติดลบ 6% ต่อเนื่อง 6 เดือนนตลาดฮ่องกง จีน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และไต้หวัน แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และเม็กซิโก
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ติดลบ 13.7% ต่อเนื่อง 4 เดือน ในตลาดญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์
- อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ติดลบ 3.5% กลับมาหดตัวอีกครั้ง ในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ แต่ขยายตัวในตลาดฮ่องกง ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไต้หวัน และสิงคโปร์)ทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ติดลบ 5.8%
ส่วนตลาดส่งออกสำคัญการส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น โดยหดตัวน้อยลงในหลายตลาด อาทิ จีน อาเซียน (5) และ CLMV และบางตลาดสำคัญเริ่มกลับมาขยายตัว อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และรัสเซียและกลุ่ม CIS สะท้อนว่าอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น แม้ว่าจะยังอยู่ในทิศทางชะลอตัว ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ติดลบ 0.8 % ในตลาดจีน 3.9 % CLMV 3.5 % อาเซียน (5) 2.1% และสหภาพยุโรป (27) 7.3%
ขณะที่สหรัฐฯ และญี่ปุ่นขยายตัว 1.7% และ 10.2% ตามลำดับ (ตลาดรอง ติดลบ 3.4% โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ 6.9% ทวีปออสเตรเลีย 23.3% แต่ขยายตัวในตลาดรัสเซียและกลุ่ม CIS 228% ตะวันออกกลาง3%แอฟริกา 2.1% ลาตินอเมริกา 5.9% และสหราชอาณาจักร 5.8% ตลาดอื่น ๆ ติดลบ 39.5 %อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ติดลบ 43.5%