ระบบทุนนิยมโดยรัฐในยุค “สี จิ้นผิง” เป็นอย่างไร

16 มี.ค. 2566 | 15:23 น.
อัปเดตล่าสุด :16 มี.ค. 2566 | 15:51 น.

จีนบริหารเศรษฐกิจ กับสิ่งที่ไทยควรเรียนรู้   ระบบ“ทุนนิยมโดยรัฐที่มีพรรคเป็นใหญ่” ในยุคสี จิ้นผิงเป็นอย่างไร "ดร.อักษรศรี" มีคำตอบ

ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ไทย และผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจจีน เปิดเผยถึงการปกครองเศรษฐกิจของจีนด้วยระบบพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ประเทศและพรรคการเมืองอื่น ๆ ควรศึกษาว่า จุดเด่น คือ จีนใช้ ระบบเศรษฐกิจแบบเน้นความมั่นคง หรือเรียกว่า security -driven economy โดยเฉพาะความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทั้งด้าน Food Security ความมั่นคงทางอาหาร Energy Security ความมั่นคงทางพลังงาน Health Security ความมั่นคงทางสาธารณสุข และ Technology Security ความมั่นคงทางเทคโนโลยี โดยจีนจะลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ แต่จะยืนบนขาตัวเอง เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เหล่านี้

ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ไทย

ซึ่งทั้งหมดนี้ สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจสีจิ้นผิง หรือ Xinomics ที่นำโมเดลวงจรคู่ Dual Circulation Model มาเป็นแกนหลักในแผนพัฒนาฯ 5 ปีของจีนในขณะนี้ คือ แผนพัฒน์ฯ ฉบับที่ 14 ดังนั้น ระบบของจีนจะเน้นการรักษาเสถียรภาพ stability first ซึ่งมีกลไกพรรคคอมมิวนิสต์คอยกำกับดูแล ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือเรียกว่าเป็นระบบทุนนิยมโดยรัฐที่มีพรรคเป็นใหญ่ หรือ party-state capitalism

ทั้งนี้ มีหลายอย่างที่ประเทศอื่นสามารถเรียนรู้และปรับประยุกต์จากจีนได้ โดยเฉพาะการเน้นการรักษาเสถียรภาพในยุคที่โลกมีแต่ความผันผวนและโลกแปรปรวนสูงมาก  ในกรณีของไทย อาจจะนำมาปรับใช้อย่างเหมาะสมกับบริบทของไทย  ในหลาย ๆด้านที่น่าจะเป็นประโยชน์กับคนไทย  เช่น ความมั่นคงทางอาหาร Food Security เพราะเป็นเรื่องจำเป็นเกี่ยวข้องกับปากท้องพื้นฐานของผู้คน คนไทยทั้งชาติต้องมีอาหารเพียงพอ ไม่พึ่งพาต่างประเทศในการนำเข้าอาหารมากเกินไป และพัฒนาภาคเกษตรของไทยที่ก้าวหน้า ใช้ Agri Tech และเป็นเกษตรอัจฉริยะ

ความมั่นคงทางพลังงาน Energy Security ซึ่งมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ และพลังงานเป็น sector ที่เป็นความจำเป็นพื้นฐานที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาคส่วนอื่นในวงกว้าง  รวมทั้งการมุ่งพัฒนาพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นทิศทางหลักของประเทศไทยในขณะนี้ที่เน้น BCG model คือ Bio-Circular-Green economy และส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า EV เป็นต้น

“ระบบเศรษฐกิจจีนมีลักษณะเฉพาะในแบบอัตลักษณ์จีน ที่เรียกว่า Socialist Market Economy with Chinese characteristics โดยเฉพาะในยุคสีจิ้นผิงตลอด 10 ปีที่ผ่านมาได้มีการดึงให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนมาเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและขจัดปัญหาเศรษฐกิจในหลายด้าน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะในการขจัดความยากจนแบบตรงจุด

ดังนั้นระบบแบบจีนภายใต้การนำของสีจิ้นผิง จึงเป็นระบบที่เรียกว่า party-state capitalism  หรือระบบทุนนิยมโดยรัฐที่มีพรรคเป็นใหญ่ต้องบอกว่าในยุคสี จิ้นผิงเน้นผลักดันพรรคคอมมิวนิสต์เป็นองค์กรหลักระดับสูงสุดของจีน  Party First ดังจะเห็นได้จาก ความคิดสีจิ้นผิง Xi Jinping Thought ที่ถูกนำไปใส่ในรัฐธรรมนูญของจีนมาตั้งแต่ปี 2018 จะพบว่า ล้วนแต่เน้นบทบาทพรรคสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด รวมทั้งการเป็นกลไกสำคัญที่สุดที่ผลักดันให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ และมุ่งพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอย่างจริงจัง ดังนั้น ยุคนี้ของจีนเป็นยุคที่พรรคคุมรัฐ”

ที่มา:https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02X6qg193Ey78fg8mmu6hBTKrt1fHgTiKavb7XNq1XuQfe1i8aZS19FM1qwQy5m9k7l&id=1037140385&mibextid=uc01c0