ส่องปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อไทยชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 13 เดือน

08 มี.ค. 2566 | 01:40 น.
อัปเดตล่าสุด :08 มี.ค. 2566 | 15:05 น.

ส่องปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อไทยชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 13 เดือน หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ราคายังคงเพิ่มขึ้นตามต้นทุนและอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจ คาดแนวโน้มเดือนมี.ค.จะชะลอตัวลง

อัตราเงินเฟ้อไทยที่สูงขึ้น 3.79% (YoY) ในเดือนนี้ เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว ตามราคาสินค้าทั้งในหมวดอาหาร และหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร ดังนี้ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 5.74% (YoY) ชะลอตัวจากเดือนมกราคม 2566 ที่สูงขึ้น 7.70% ตามการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวของราคาอาหารสำเร็จรูป (กับข้าวสำเร็จรูป อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า) ผักและผลไม้ (มะนาว แตงกวา แตงโม ส้มเขียวหวาน)

ส่องปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อไทยชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 13 เดือน

ข้าวสาร ไข่และผลิตภัณฑ์นม (ไข่ไก่ นมถั่วเหลือง) เครื่องประกอบอาหาร (ซีอิ๊ว น้ำพริกแกง ซอสหอยนางรม) และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำอัดลม) ส่วนเนื้อสัตว์ (ไก่สด ปลาทู เนื้อสุกร) ราคายังคงเพิ่มขึ้นตามต้นทุนและอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจ สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง อาทิ ผักคะน้า ผักชี พริกสด น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) และมะขามเปียก

 

ส่องปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อไทยชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 13 เดือน

หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 2.47% (YoY) ชะลอตัวจากเดือนมกราคม 2566 ที่สูงขึ้น3.18% เนื่องจากสินค้าสำคัญหลายรายการราคาลดลง อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่มแก๊สโซฮอล์และน้ำมันเบนซิน เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า) น้ำยาระงับกลิ่นกาย ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว แป้งผัดหน้า ผ้าอ้อมสำเร็จรูป และค่าทัศนาจรในประเทศ

ส่องปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อไทยชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 13 เดือน

นอกจากนี้ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ สารกำจัดแมลง) ราคาชะลอตัวลง ขณะที่ ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ค่าโดยสารสาธารณะ (แท็กซี่ เรือ รถเมล์เล็ก/สองแถว เครื่องบิน) วัสดุก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (ยาสีฟัน กระดาษชำระ ค่าแต่งผมชาย) ราคาปรับสูงขึ้นเล็กน้อย

ส่องปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อไทยชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 13 เดือน

ทั้งนี้เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้น 1.93% (YoY) เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลง 0.12% (MoM) ตามหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ที่ลดลง 0.41%

สำหรับ สินค้าที่ราคาลดลง เช่น เนื้อสุกร ไก่สด ข้าวสารเจ้า ผักและผลไม้สด (ผักคะน้า ผักชี ต้นหอม มะม่วง ส้มเขียวหวาน แตงโม) เนื่องจากปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น รวมทั้ง น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) และเครื่องปรุงรส ราคาลดลง ขณะที่สินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ 0.09%

ส่องปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อไทยชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 13 เดือน

เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว อาทิ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบทุกประเภท (ยกเว้นราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลง) ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าเช่าบ้าน และวัสดุก่อสร้าง และบางรายการราคาปรับลดลง อาทิ ค่าของใช้ส่วนบุคคล (ผ้าอนามัย แชมพูสระผม ยาสีฟัน สบู่ถูตัว) น้ำยาล้างจาน

ส่องปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อไทยชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 13 เดือน

ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อเดือนมีนาคม 2566 คาดว่าจะชะลอตัวลง ตามราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดหลายรายการที่คาดว่าจะลดลงต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา และราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ระดับต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับฐานราคาในเดือนมีนาคม 2565 ค่อนข้างสูง การส่งออกของไทยที่มีแนวโน้มลดลงตามอุปสงค์โลก

ส่องปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อไทยชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 13 เดือน

และการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด จะกดดันต่อการขยายตัวของเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ค่าไฟฟ้าที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าปีที่ผ่านมา ราคาก๊าซหุงต้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นในเดือนมีนาคมนี้ การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการยังคงขยายตัวได้ดี จะส่งผลให้เงินเฟ้อชะลอตัวไม่มากนัก นอกจากนี้ ความเสี่ยงจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และภัยแล้งทั้งในและต่างประเทศ อาจจะส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลก และจะส่งผลมายังราคาสินค้าและบริการของไทยตามลำดับ ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

ส่องปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อไทยชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 13 เดือน

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.5 จากระดับ 51.3 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และอยู่ในช่วงเชื่อมั่นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี โดยปรับเพิ่มขึ้นทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน และในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 58.5 จากระดับ 57.2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมที่ปรับเพิ่มขึ้นมีสาเหตุสำคัญจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ที่ได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว

ส่องปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อไทยชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 13 เดือน

สะท้อนได้จากจำนวนเที่ยวบิน และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ มาตรการลดค่าครองชีพ และการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการยังคงขยายตัว และราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ