ไล่ล่า “ประมงผิดกฎหมาย”ตามใบสั่งอียู

22 ม.ค. 2566 | 17:37 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ม.ค. 2566 | 18:51 น.
562

“ธนพร ศรรียางกูล” แฉ “กรมประมง” รับปากอียูแก้ “ปิดอ่าว-จับสัตว์น้ำวัยอ่อน” ชี้หากประเทศไทยทำไม่ได้ก็โดนใบแดง เช่นแคมารูน ย้ำ หน้าที่ “ IUU HUNTER “ มีหน้าที่รักษากติกา จำเป็นที่จะต้องบังคับใช้กฎหมาย ลุ้นอียูประเมิน ก.ค. ไทยจะรอดใบแดงหรือไม่

 

ไล่ล่า “ประมงผิดกฎหมาย”ตามใบสั่งอียู

 

รองศาสตราจารย์ธนพร ศรียางกูล รองประธานคณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์การตรวจ ติดตาม ควบคุมเฝ้าระวังการทำประมงและแรงงานในภาคประมง หรือ รองประธาน “ IUU HUNTER” เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เมื่อประมาณเดือนตุลาคม ปี  2565 ที่ผ่านมา  ได้มีประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ทางสหภาพยุโรปก็มีข้อสังเกตในการทำงานต่อต้าน IUU ของประเทศไทย รวมทุกหมวด 35 ประเด็น ใน 35 ประเด็น ก็สามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่ม

 

กลุ่มที่ 1 ก็คือกลุ่มพฤติกรรมการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทุจริตคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ

 

2. การด้อยประสิทธิภาพในการตรวจไม่ว่าจะเป็นการตรวจที่ท่าเทียบเรือ หรือที่เราเรียกว่า PIPO  หรือการตรวจกลางทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจด้านการประมงไร้ประสิทธิภาพมากๆ  เป็นข้อคอมเมนต์ของสหภาพยุโรป หรืออียู

 

ส่วนประเด็นที่ 3  กรมประมงมีเจตนาปล่อยปละละเลยให้มีการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนในจำนวนมากที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำของเราอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม นี่คือ 3 กลุ่มในเรื่องหลัก โดยทั้ง 3 กลุ่มก็จะมีสิ่งที่จะต้องทำทั้งหมด 35 ประการ

 

ไล่ล่า “ประมงผิดกฎหมาย”ตามใบสั่งอียู

 

รองศาสตราจารย์ธนพร กล่าวว่า พอหลังจากที่ สหภาพยุโรปได้มีข้อสังเกตก็เลยมีการมาปรับการทำงาน แล้วประกอบกับช่วงเดือนตุลาคมมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ราชการของคนที่เกี่ยวข้องก็เลยนำมาสู่การปรับชุด "IUU HUNTER" ซึ่ง คำว่า  "IUU HUNTER"   ก็คือการทำงานที่ริเริ่มข้อมูลเพื่อชี้เป้า แล้วก็นำไปปฏิบัติการในการชาร์จเป้าก็คือการบังคับใช้กฎหมาย หรือจะเรียกว่าการจับกุมเพื่อดำเนินคดี นี่คือหลักการทำงานสหภาพยุโรป

 

“กำหนดไทม์ไลน์ เป็นอย่างไร สหภาพยุโรปจะมาอีกครั้งหนึ่งในช่วง 2566 แต่เราจะต้องส่งรายงานการทำงานเดือนมิถุนายน ตอนนี้ทางสหภาพได้กำหนดจะมาเดือนตุลาคม มีข้อสังเกต มีข้อเสนอแนะ 3 ประการใหญ่ แล้ว 35 เรื่องที่ต้องทำ แล้วเค้าจะมาตรวจประเมินอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม ปี 66 แต่การมาตรวจประเทศไทยจะต้องส่งรายงานก่อน โดยธรรมเนียมปฏิบัติจะต้องส่งล่วงหน้า 1 เดือน คือเดือนมิถุนายน ปี 2566 ต้องส่งรายงาน หมายความว่าเราจะมีเวลาทำงานตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือนพฤษภาคม เพียง 5 เดือน นี่คือไทม์ไลน์ที่เราจะมากำหนดแผนปฎิบัติการของชุด IUU HUNTER”

 

ไล่ล่า “ประมงผิดกฎหมาย”ตามใบสั่งอียู

 

สำหรับภารกิจอะไรบ้างที่ IUU  1. ก็คือว่าจะให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะกรณีการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนที่มีข้อมูลยืนยันแล้วว่ามีการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนในปริมาณมากผิดปกติ และที่สำคัญก็มีการปล่อยปละละเลยในเรื่องการควบคุม เพราะฉะนั้นไอยูยูฮันเตอร์ก็จะให้เรื่องนี้เป็นเรื่องอันดับ 1  แล้วก็จะมาสัมพันธ์ว่าการปล่อยปละละเลยก็คือเจ้าหน้าที่ปล่อยปละละเลยก็จะนำไปสู่ข้อสังเกตประการที่ 2 ของสหภาพยุโรปว่าเจ้าหน้าที่มีพฤติกรรมเรื่องของการประพฤติมิชอบ เรื่องของการละเว้น เรื่องของการทุจริตคอรัปชันคล้ายกับกรมอุทยานแห่งชาติฯ หรือเจ้าหน้าที่ก็มีประโยชน์แอบแฝง ร่วมกับเรือประมงบางกลุ่ม

 

ไล่ล่า “ประมงผิดกฎหมาย”ตามใบสั่งอียู

 

รองศาสตราจารย์ธนพร  กล่าวว่า เมื่อมีประโยชน์แอบแฝง และละเว้นก็เลยทำให้การตรวจก็ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น พูดตรงๆ ก็คือว่าเรือกลุ่มไหนเป็นพรรคพวก ก็ตรวจน้อยหรือไม่ตรวจ หรือตรวจไม่ละเอียด และนี่คืองานที่จะทำ และการทำงานในรอบนี้จะมีกรอบเป้าหมายที่เป็นจุดโฟกัส 1.เรือประมงที่มีพฤติกรรมการทำประมงแบบทำลายล้างทรัพยากร และ 2.เจ้าหน้าที่ที่มีพฤติกรรมปล่อยปละละเลย ส่วนจะมีการเอื้อประโยชน์หรือไม่ อย่างไรนั้นจะได้ก็จะสืบสวนในทางลึกต่อไป

 

“ผมบอกเลยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่กรมประมงไปยืนยันไว้กับสหภาพยุโรปเองว่ากรมประมงบริหารทรัพยากรสัตว์น้ำให้เกิดความยั่งยืน ดังนั้นอะไรที่กรมไปแจ้งยืนยันกับสหภาพยุโรปที่กรมทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ นั่นก็เป็นสิ่งที่กรมประมงต้องรับผิดชอบ คำว่ากรมประมง หมายถึงอะไรบ้าง ก็คือสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยฝ่าย ไอยูยูฮันเตอร์ก็จะเข้าไปสนับสนุนสิ่งที่กรมประมงไปสัญญาไว้กับสหภาพยุโรปไว้ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมประมงไปให้สัญญาไว้ส่วนอธิบดีกรมประมงไปสัญญาว่าอย่างไรก็ให้ไปถามได้เลย”

 

ไล่ล่า “ประมงผิดกฎหมาย”ตามใบสั่งอียู

 

สิ่งที่กรมประมงไปสัญญาเรื่องของการทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำยั่งยืน ซึ่งถ้ากรมประมงทำไม่ได้ ประเทศไทยก็โดนใบแค่ แน่นั้นเอง ก็เพราะอธิบดีกรมประมงไปสัญญาเองกับอียูในห้องประชุม ไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น ไอยูยูฮันเตอร์มีหน้าที่สนับสนุนบังคับใช้กฎหมาย แต่มาตรการที่กำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นในขณะนี้ก็เป็นสิ่งที่กรมประมงไปสัญญาเอาไว้ถ้าทำไม่ได้กรมประมงก็ต้องรับผิดชอบ

 

 

ไล่ล่า “ประมงผิดกฎหมาย”ตามใบสั่งอียู

 

ในส่วนเรื่องอื่นก็คงจะไม่มี เพราะคนที่จะกระทบกับเรื่องนี้พูดตรงก็คือเครื่องมือประมงประสิทธิภาพสูงสุดก็คือ “อวนลากคู่”  ปัจจุบันมีประมาณ 300- 400 คู่ เป็นเครื่องมือที่ทำลายล้างทรัพยากรทะเลสูงสุด แล้วก็มีการปล่อยปละละเลยให้เรือกลุ่มนี้ทำลายล้างอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นมาตรการที่กรมประมงจะต้องที่ไปรับปากกับสหภาพยุโรป ส่วนเครื่องมืออื่นไม่เดือดร้อน

 

ถ้าจะเดือดร้อนก็มีแต่นายทุนชาวประมงที่ร่ำรวยที่ทำอวนลากคู่เท่านั้น แล้วสิ่งที่จะทำให้ลดทอนประสิทธิภาพ ดีที่สุดควรจะต้องเลิก แต่ก็เข้าใจว่าอยู่ดีที่จะให้ไปเลิกทำประมงก็คงไม่ได้ก็ค่อยๆ ปรับกฎเกณฑ์ เราเองก็อยากให้ทุกคนมีความมั่นคงในอาชีพ เพราะฉะนั้นการทำประชาพิจารณ์ของกรมประมงก็ต้องดำเนินไปไปคุยให้ได้ข้อยุติ เมื่อได้ข้อยุติ ฝ่าย ไอยูยูฮันเตอร์เราก็จะเข้าไปดูการปฎิบัติได้ตามข้อยุติไหม เช่น ได้ข้อยุติแล้วแต่ก็ยังมีคนทำผิด อย่างนี้ไอยูยูฮันเตอร์ก็จะเข้าไปจัดการไม่ว่าจะเป็นเรือหรือเจ้าหน้าที่ก็จัดการหมด ในส่วนกระบวนการการหารือกับการบริหารจัดการเป็นหน้าที่หลักของกรมประมงอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นกรมประมงก็ต้องดำเนินการ

 

ล่าสุดเรื่องประกาศปิดอ่าว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับไอยูยูฮันเตอร์โดยตรง ก็เป็นหนึ่งในมาตรการที่กรมประมงไปสัญญาไว้กับอียู แต่เมื่อตกลงกันแล้ว เกิดมาตรการขึ้น ใครไม่ปฏิบัติตามมาตรการหรือข้อตกลงนั้นไอยูยูฮันเตอร์ก็จะไปบังคับด้วยกฎหมาย  ส่วนกลุ่มเรือที่จะโวยวายในเรื่องมาตรการนี้ก็คือเรือที่ใช้ประสิทธิภาพสูงสุด อวนลากคู่ อวนลากแผ่นตะเฆ่

 

 

ไล่ล่า “ประมงผิดกฎหมาย”ตามใบสั่งอียู

 

ไม่กี่วันมานี้สหภาพยุโรปประกาศให้ใบแดงประเทศแคมารูน เพราะฉะนั้นงานของไอยูยูฮันเตอร์ เรื่องของด่านก็จะดูว่าขณะนี้ประเทศไทยมีการจัดการทำมาตรการรองรับผลกระทบจากเรื่องนี้แล้วหรือยัง เพราะปฎิเสธไม่ได้ว่าบ้านเราเป็นแหล่งนำเข้าสัตว์น้ำก็อาจจะมีสัตว์น้ำมาจาก แคเมอรูน (หลังจากที่เคยให้ใบเหลืองไปก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564)  

 

 

หรือจะมีสัตว์น้ำที่มาจากเรือแคเมรูนจับก็ได้ในเมื่ออียูมีการให้ใบแดงแล้วจะต้องไม่ยอมให้สัตว์น้ำเข้ามาส่งออกในนามประเทศไทยไม่ได้เด็ดขาด จะอยู่ในการทำงานของชุด 2 การตราจท่าเทียบเรือ การทำงานของศูนย์Pi –Po ดูการทำงานตรวจตราเรือประมงและแรงงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อมีวัตถุประสงค์จะขึ้นเป็นเทียร์ 1  มาใช้ในการทำงาน

 

 

ชุดที่ 3 เป็นการตรวจกลางทะเล จะเป็นทีมชุดเฉพาะกิจสนธิกำลังในการปฎิบัติทางน้ำ และชุดที่ 4 จะเป็นการปฏิบัติชุดเคลื่อนที่เร็ว มีอากาศยาน มีโดรน และชุดที่ 5 จะเป็นชุดสนับสนุนการดำเนินการในทางกฎหมาย เช่น การทำสำนวนต่างๆ  ซึ่งชุดปฏิบัติการมีการแต่งตั้งเรียบร้อยหมดแล้ว

 

ไล่ล่า “ประมงผิดกฎหมาย”ตามใบสั่งอียู

รองศาสตราจารย์ธนพร กล่าวว่า วันนี้ความจริงแล้วผมขอเรียนย้ำว่ามาตรการการบริหารจัดการกรมประมงเป็นหน่วยที่รับผิดชอบหลักดังนั้นการที่จะบริหารทรัพยากรอย่างไร เป็นเรื่องที่อธิบดีกรมประมงไปรับปากไว้เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ก็ต้องทำให้เป็นไปตามนั้นเพราะสิ่งที่ท่านไปรับปากไว้ท่านทำไม่ได้คนเสียหายก็คือประเทศไทย เพราะสิ่งที่ท่านไปรับปากไว้ในนามประเทศไทย และกฎกติกาที่ได้หารือกันแล้ว ออกมาใช้ "ไอยูยูฮันเตอร์"มีหน้าที่รักษากติกา ก็คือ ใครก็ตามที่กระทำผิดไม่เป็นไปตามกติกาไว้ ไอยูยูฮันเตอร์ก็จำเป็นที่จะต้องบังคับใช้กฎหมาย นี่คือ งานของ ไอยุยูฮันเตอร์  ไม่ใช่ไม่พอใจ จะไปใล่จับใคร เราต้องทำงานจากพื้นฐานข้อมูลให้ดำเนินไว้ให้เป็นไปตามกติกาที่ตกลง