แกะรอย พ่อค้าจีนขายทุเรียนไทยด้อยคุณภาพ อนาคต “ทุเรียนไทย” จะเดินอย่างไร

29 พ.ย. 2565 | 17:31 น.
อัปเดตล่าสุด :30 พ.ย. 2565 | 00:41 น.

"ระพีภัทร์" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แกะรอย พ่อค้าจีนขายทุเรียนไทยด้อยคุณภาพ อนาคต “ทุเรียนไทย” จะเดินต่อไปอย่างไร

แกะรอย พ่อค้าจีนขายทุเรียนไทยด้อยคุณภาพ อนาคต “ทุเรียนไทย” จะเดินอย่างไร

 

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากกรณีทุเรียนไทยวางขายในจีนที่เป็นข่าวนั้น ฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ชี้แจงดังนี้

 

1. ในวันที่ 28 พ.ย. 65 เวลาประมาณ 20.00 น. ฝ่ายเกษตรฯ เซี่ยงไฮ้ ได้เดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริงจุดจำหน่ายทุเรียนตามที่ปรากฏในข่าวแต่ไม่พบการขายทุเรียน จากการตรวจสอบข้อมูล พบว่า กรณีที่เป็นข่าว เป็นรถขายทุเรียนริมทาง (รถกระบะ) ไม่ใช่การขายทุเรียนจากร้านค้าที่มีแหล่งที่ตั้งถาวร โดยปกติรถขายทุเรียนคันนี้จะจอดขายช่วงกลางคืนบนถนน Xinhua ของเมืองเซี่ยงไฮ้  ช่วงวันที่ขายก็ไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่จะมาขายวันเสาร์อาทิตย์ ที่ผ่านมารถดังกล่าวไม่ได้มาจอดขายทุเรียน ณ บริเวณนั้นนานกว่าสัปดาห์แล้ว  ราคาขายจะเป็นราคาต่อจินหรือ 500 กรัม ปกติทุเรียนไทยที่จำหน่ายในช่วงนี้ราคาประมาณ 25-40 หยวน/500กรัม หรือ 50-80 หยวน/กก.  (หรือประมาณ 250-400 บาท/กก)

 

แกะรอย พ่อค้าจีนขายทุเรียนไทยด้อยคุณภาพ อนาคต “ทุเรียนไทย” จะเดินอย่างไร

2. ทั้งนี้ รถขายทุเรียนข้างทาง ส่วนใหญ่จะพบเห็นตามชานเมือง จอดขายริมถนนเฉพาะช่วงกลางคืน เพื่อหลบเลี่ยงเจ้าหน้าที่  และทุเรียนที่ขายก็เป็นทุเรียนตกเกรด คุณภาพต่ำ และส่วนใหญ่ราคาถูกกว่าร้านค้าผลไม้ที่ได้มาตรฐาน

 

3. จากการสอบถามข้อมูลจากตลาดค้าส่งทราบว่า รถขายทุเรียนข้างทางในเซี่ยงไฮ้เป็นรถกระบะมาจากมณฑลอื่น โดยพ่อค้าจะไปซื้อทุเรียนตกเกรดราคาต่ำ ในปริมาณมากๆ มาเร่ขายริมถนน โดยบางคันจะเปลี่ยนที่ขายไปเรื่อยๆ จะแกะเนื้อทุเรียนขายเฉพาะเนื้อ ไม่ขายทั้งเปลือก นอกจากนี้ เครื่องชั่งก็ไม่ได้มาตรฐาน  จากการสอบถามคนไทยที่เคยซื้อทุเรียนจากรถกระบะ จะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ทุเรียนคุณภาพต่ำ รสชาติไม่อร่อย

 

 

 

4. อนึ่ง จากการสำรวจร้านจำหน่ายผลไม้ในพื้นที่ 5 ร้าน พบว่า มีทุเรียนไทยขาย 2 ร้าน ทุเรียนเวียดนาม 1 ร้าน ซึ่งทุเรียนไทยราคาสูงกว่าทุเรียนเวียดนาม  จากการสำรวจพบว่า ทุเรียนที่วางจำหน่ายเปลือกเริ่มปริแตก มีขนาดใหญ่เล็กคละกันไป บางลูกก็สวย บางลูกไม่ค่อยสวย จากการสอบถามพ่อค้าบอกว่าทุเรียนไทยอร่อยและเป็นที่รู้จัก คนที่รู้จักทุเรียน ก็จะมักเลือกซื้อทุเรียนไทย

 

5. ในสายตาผู้บริโภค จะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างทุเรียนไทยและทุเรียนประเทศอื่นจากรูปลักษณ์ได้ แต่จะสังเกตความแตกต่างจากสติกเกอร์ที่ขั้วผลที่ระบุว่าเป็นทุเรียนจากประเทศไทยหรือเวียดนาม

 

แกะรอย พ่อค้าจีนขายทุเรียนไทยด้อยคุณภาพ อนาคต “ทุเรียนไทย” จะเดินอย่างไร

 

6. อย่างไรก็ดีทุเรียนไทยที่จำหน่ายในประเทศจีน จะพบได้ทั้งคุณภาพดีและคุณภาพต่ำ ซึ่งปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพจะพบบ่อยครั้งในช่วงต้นฤดูกาล ปลายฤดูกาล และนอกฤดูกาล  ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการควบคุมคุณภาพทุเรียนไทยก่อนการส่งออกมายังประเทศจีน เพื่อมิให้มีทุเรียนตกเกรด หรือทุเรียนคุณภาพต่ำมาจำหน่ายซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ของทุเรียนไทยในภาพรวม

 

นายระพีภัทร์ กล่าวว่า ทุเรียนส่งออกของไทยมีการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิตจากแปลงGAP คัดสินค้าจากโรงคัดบรรจุที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานGMP มีการตรวจสอบความสุกแก่ของผลทุเรียน และการตรวจสอบศัตรูพืชก่อนการส่งออก ทุเรียนทุกชิปเม้นจะต้องแนบใบรับรองสุขอนามัยพืชซึ่งออกโดยระบบใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแปลงที่ผลิตได้จึงเป็นไปได้ยากที่จะมีทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาดต่างประเทศ

 

 

2.ทุเรียนที่ส่งออกของไทยจะต้องมีสติ๊กเกอร์ติดที่ขั้วผลทุกผล โดย

(1) สติ๊กเกอร์ติดขั้วผลทุเรียนจะต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตร x 15 เซนติเมตร

(2) ข้อมูลบนสติ๊กเกอร์จะเรียงจากซ้ายไปขวาโดยต้องประกอบด้วย

(2.1) โลโก้บริษัท พร้อมด้วยทะเบียนเลขที่ผู้ส่งออก (Exporter No. DU-1-xx-www) และทะเบียนเลขที่หนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืช (DOA xxxxx xx xxxxxx) ไว้ใต้โลโก้บริษัท

(2.2) ระบุข้อความ ดังนี้ For Quality Problem, Please Contact : Plant Standard and Certification Division Department of Agriculture, Thailand Tel : +66 -2579 -6133 Fax : +66 -2579 -6134 E -mail : [email protected]

 

แกะรอย พ่อค้าจีนขายทุเรียนไทยด้อยคุณภาพ อนาคต “ทุเรียนไทย” จะเดินอย่างไร

 

 

3. ผู้บริโภคที่พบปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ สามารถแจ้งปัญหาและข้อมูลทะเบียนเลขที่ผู้ส่งออกและโรงคัดบรรจุตาม ข้อ 2.2 เพื่อให้กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบย้อนกลับได้

 

อย่างไรก็ดี นายระพีภัทร์ กล่าวอีกว่า ในวันที่ 29-30 พ.ย. ได้รับมอบหมายจากดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ระยอง และจันทบุรี เร่งรัดติดตามการออกทะเบียน GAP รูปแบบใหม่ซึ่งจะแล้วเสร็จทั้ง 80,000 ฉบับ สำหรับภาคตะวันออก ในต้นเดือน ธ.ค.นี้ แน่นอนและจะครบ 100 % ทั้งประเทศภายในกลางเดือนธันวาคมนี้ แน่นอน ขอให้พี่น้องเกษตรกร และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ไม่ต้องกังวล และเดินหน้าควบคุมกำกับดูแลคุณภาพทุเรียนใต้ รวมถึง ป้องกันปัญหาทุเรียนอ่อน และทุเรียนสวมสิทธิ์ ตามนโยบาย Zero สวมสิทธิ์

 

“สำหรับ การเปลี่ยนแปลง GAP รูปแบบใหม่ นั้น จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิต ซึ่งจะเป็นการป้องกันการสวมสิทธิ์ทุเรียน และผลไม้ไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ”