ถึงเวลาแล้ว ปฏิวัติการทำนาไทย ก้าวสู่ความยั่งยืน

22 พ.ย. 2565 | 16:44 น.
อัปเดตล่าสุด :23 พ.ย. 2565 | 02:38 น.
830

ไทย “ปฏิวัติ” การทำนา สู่ความยั่งยืน “กรมการข้าว” งัดโปรเจ็กต์ โครงการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว 1 กก. ชาวนาต้องการข้าวพันธุ์ไหนให้มาแลก จับมือ 7 องค์กร ปลูกข้าวตามออร์เดอร์ ใช้ศูนย์ข้าวชุมชน รวบรวมข้าว ส่งขายได้ราคาดีกว่า โรงสีสบายใจ ไม่ต้องซื้อชี้นำราคาตลาด เน้นคุณภาพ

เมื่อวันที่  21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา กรมการข้าว ได้จัด พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน ระหว่างสมาคมพัฒนา เศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก สมาคมศูนย์ข้าวชุมชน (ประเทศไทย) สมาคมโรงสีข้าวไทย  และ สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย  ในการปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืนในครั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่ทางสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก เป็นผู้พัฒนาส่งเสริมชาวนาและเกษตรกร

 

ภาพประวัติศาสตร์ ไทยฏิวัติการทำนา สู่ความยั่งยืน

 

ผ่านโครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model ตามแนวทางของนายกรัฐมนตรี ไปสู่การทำนาแบบประณีต เลิกใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ทำให้ได้ข้าวที่ดีมีคุณภาพ ปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้การตลาดนำการเพาะปลูก ภาคีโรงสีเข้ามารับซื้อข้าวในราคาที่เหมาะสม ตามนโยบาย BCG Model ที่ทำให้เกษตรกรลดต้นทุนในการเพาะปลูก มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน

ณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์

 

นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว  เผยว่า วัตถุประสงค์ ของความร่วมมือในครั้งนี้ กรมการข้าวสนองนโยบายรัฐบาล และดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องการให้ใช้ตลาดนำการผลิต ซึ่งตลาดของข้าว ก็คือ โรงสี ประกอบตนเองได้รู้จักกับนายกสมาคมโรงสีข้าวไทย แล้วถ้าจะทำข้าวคุณภาพให้ จะมารับซื้อให้ได้หรือไม่ ราคาที่แน่นอน ซึ่งจะทำข้าวคุณภาพให้กับโรงสี แล้วมาถึงจุดที่จะต้องทำความร่วมมือให้เห็นเป็นรูปธรรม

 

โดยมีการนำเสนอโครงการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยที่พี่น้องเกษตรกรมีข้าวทุกชนิดทุกสายพันธุ์ ต้องการข้าวพันธุ์ไหน ให้นำเข้า 1 กก. มาแลก แต่ไม่ได้สะเปะ จะให้แลกชนิดข้าวแบบโซนนิ่งรายตำบล เนื่องจากพันธุ์ข้าว แต่ละชนิด หากใช้เกิน 3 ปี ก็จะมีปัญหาข้าวไม่มีคุณภาพ ผลผลิตต่ำ ต้นทุนสูง เพื่อข้าวให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ นี่เป็นเรื่องสำคัญ แต่บุคลากรของกรมมีไม่มากจึงจำเป็นที่จะให้องค์กรต่างๆ เข้ามาเชื่อมการทำข้าวมีประสิทธิภาพ แล้วขจัดปัญหาข้าวปลอมปน

ถึงเวลาแล้ว ปฏิวัติการทำนาไทย ก้าวสู่ความยั่งยืน

 

ด้าน นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า  ทาง มกอช. ได้ร่วมงานกับกรมการข้าว และดำเนินการร่วมกับสมาคม องค์กรต่างๆ ด้านข้าว ในการพัฒนายกระดับ เพื่อผลิตข้าวให้ได้ตามความต้องการของตลาด ซึ่งความต้องการของตลาดสำหรับข้าวไทย 

 

โดยแบ่งออก เป็นครึ่งหนึ่งส่งออก และครึ่งหนึ่งรับประทานในประเทศ ว่า แต่ละส่วนต้องการข้าวคุณภาพแบบไหน ซึ่งการใช้มาตรฐาน ต้องเน้นในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย ก็คือมาตรฐาน GAP ก็มีการทำงานร่วมกันเพื่อสนองความต้องการของตลาดอินทรีย์ หรือออร์แกนิค ซึ่งจะมีผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่ง

 

 

ถึงเวลาแล้ว ปฏิวัติการทำนาไทย ก้าวสู่ความยั่งยืน

 

โดย ทางมกอช. จะมีตราสัญลักษณ์เพื่อสื่อให้กับกลุ่มผุ้บริโภครับทราบ เข้าใจ และสนใจที่จะซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาข้าวปกติ  ล่าสุดมีมาตรฐานใหม่ สนองความต้องการโลก การผลิตข้าวที่ได้มาตรฐานการผลิตข้าวที่ยั่งยืน (GAP++) กล่าวคือ การกำหนดมาตรฐาน มาเป็นตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลก ตามนโยบาย ตลาดนำการผลิตทั้งในประเทศและทั่วโลกเพื่อมาตรฐานของข้าวไทย

 

 

 

ถึงเวลาแล้ว ปฏิวัติการทำนาไทย ก้าวสู่ความยั่งยืน

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า เป็นไปตามนโยบายของสมาคมในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต การหาเมล็ดพันธุ์ข้าวใหม่ให้กับชาวนา นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่มาร่วมเซ็นเอ็มโอยูในครั้งนี้

 

จารึก กมลอินทร์

 

นายจารึก กมลอินทร์  ประธานคณะกรรมการกลางศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศ กล่าวว่า  จากการพิจารณารายละเอียดโครงการ ในนามเกษตรกรซึ่งเป็นชาวนาอยากเห็นภาพแบบนี้ตั้งนานแล้ว ซึ่งการแก้ปัญหาไม่ได้แก้ในเชิงพื้นที่แบบนี้ ซึ่งตนเองอยู่ในพื้นที่จะทำความเข้าใจ ในส่วนของศูนย์ข้าวชุมชนที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ป้อนให้กับโครงการนี้ ที่ได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เกษตรกรทั่วไปจะทำแบบเชิงเดี่ยว อยากให้รวมกลุ่มกัน เพราะการรวมกลุ่ม โรงสีจะรู้จุด รู้เป้าหมายว่าโรงสีจะต้องไปเอาข้าวจังหวัดไหน ข้าวพันธุ์อะไร นี่เป็นตลาดนำการผลิตชัดเจน เกษตรกรจะได้ประโยชน์ แล้วโรงสีก็จะได้สบายใจทำข้าวคุณภาพที่จะขายให้กับผู้ค้า ก็อยากจะฝากอธิบดีให้ดำเนินการต่อเนื่อง

 

ทีมสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก

 

ดร.ภณ ทัพพินท์กร นายกสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก กล่าวว่า  ข้าวรักษ์โลกตามโครงการ BCG โมเดล เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ชาวนาทำนาแบบประณีต โดยใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรเป็นหัวใจหลัก เลิกใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ยาฆ่าแมลง     นอกจากนี้ยังใช้วิธีการไถกลบตอซังข้าว แล้วฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์ เพื่อทำการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติเพิ่มธาตุสารอาหารกลับลงไปในดิน ส่งเสริมโดรนเพื่อการเกษตรในการฉีดพ่นจุลินทรีย์ เพื่อประหยัดแรงงาน ประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่าย และส่งเสริมระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานทางเลือกแบบหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อประหยัดต้นทุนพลังงาน

      

เมื่อผลผลิตข้าวออกมาจะเป็นข้าวที่ดีมีคุณภาพ เป็นไปตามความต้องการของตลาด โรงสีกลับมารับซื้อข้าวในราคาที่ดีและเหมาะสม จากผลลัพธ์เชิงประจักษ์ของการจัดทำโครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model โครงการนำร่องระยะที่ 1 พบว่าผลผลิตข้าวต่อไร่ในภาคอีสานเพิ่มขึ้นสูงถึง 550 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาขายข้าวได้ราคาสูงถึง 13,000-14,000 บาทต่อตัน หากคิดที่ราคาขาย 13,000 บาทต่อตันแล้ว ต้นทุนในการเพาะปลูกเหลือ 2,500 บาทต่อไร่แล้วเกษตรกรเหลือกำไร 4,650 บาทต่อไร่ จึงเป็นการแก้ปัญหาอย่างตรงจุดตรงประเด็นในเรื่อง ลดต้นทุนในการผลิต ทำให้คุณภาพข้าวดีมีคุณภาพ และเมื่อข้าวดีมีคุณภาพโรงสีกลับมารับซื้อในราคาที่สูงเพิ่มขึ้น

 

ทั้งนี้โรงสีจะกำหนดชนิดของข้าวที่โรงสีต้องการในแต่ละพื้นที่และเป็นผู้ที่จะกลับมาซื้อข้าวรักษ์โลกเมื่อทำการเก็บเกี่ยว กรมการข้าวผ่านสมาคมศูนย์ข้าวชุมชนกำหนดขอบเขตการผลิต  ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดและจัดหาเมล็ดพันธ์ให้ตรงตามความต้องการ ซึ่งจากความร่วมมือกันของทางภาครัฐและสมาคมฯ ผ่านโครงการนี้เสมือนมอบคันเบ็ดตกปลา ให้กับชาวนา ทำการปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน ทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดการแบ่งปันกันในสังคม รักษาสิ่งแวดล้อม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป

 

ทีม สมาคมโรงสีข้าวไทย

 

นายรังสรรค์ สบายเมือง นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ข้าวทุกเมล็ดในประเทศ โรงสีเป็นผู้ซื้อ เพื่อการแปรรูปเป็นข้าวสาร โรงสีเป็นผู้รับภาระจ่ายเงินในอุตสาหกรรมข้าว สำรองทั่วประเทศ ซึ่งการทำเอ็มโอยูในครั้งนี้มองว่าเป็นการพัฒนาข้าวทั้งวงจรข้าวอย่างยั่งยืน เพราะทุกวันนี้การปลูกข้าวสะเปะสะปะไปหมดทำให้ข้าวสารที่เป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายพันธุ์มีทั้งข้าวอ่อน แข็งปะปนทำให้การบริโภคขาดความอร่อย

 

“วงการข้าวเหมือนวนในอ่าง แต่มาคราวนี้น่าจะดูดีขึ้น หลักการดีขึ้น  ปลูกข้าวตามใจโรงสี และไม่ใช่มาบังคับโรงสีให้ซื้อนำตลาด 200-500 บาท  ให้เกษตรกรใช้เป็นแรงจูงใจ ให้ซื้อตามคุณภาพ ซึ่งระบุตามเอ็มโอยู แต่เชื่อมั่นว่าจะมีคุณภาพแน่นอน เพราะมีพันธุ์เดียว อย่างไรโรงสีก็ซื้อข้าวราคาดีกว่าซื้อข้าวคละ เป็นธรรมชาติอยู่แล้วตามคุณภาพ”

 

ด้านนายนิพนธ์ สมิทธาพิพัฒน์ เลขาธิการ สมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวเสริม ว่า  ถ้าชาวนาปลูกข้าวตรงตามความต้องการตลาด ราคาจะดีขึ้น  ยกตัวอย่าง ตลาดข้าวนุ่ม อาจจะเป็น กข79 หรือ กข43  พวกนี้เป็นข้าวมีราคา แต่ถ้าชาวนาไปปลูกข้าว กข43 แต่ไม่มีโรงสีในพื้นที่ที่รับซื้อข้าวชนิดนี้เลย ก็จะไม่ได้ราคา  เป็นต้น

ภาคิณ มุกสิสุวรรณ

 

นายาภาคิณ มุกสิสุวรรณ” นายกสมาคมศูนย์ข้าวชุมชน (ประเทศไทย) กล่าวว่า เป็นงานของภาพรวมที่จะขับเคลื่อนในเรื่องของข้าวคุณภาพ ข้าวรักษ์โลก เพราะฉะนั้นองค์กรชาวนาจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกัน เพราะแต่ละสมาคมก็มีสมาชิกและเครือข่ายของตัวเอง เพื่อสนองนโยบายกรมการข้าวให้ตอบโจทย์ความต้องการของเทรนด์ ตลาดโลกดังนั้นจำเป็นที่จะต้องช่วยกันทุกภาคส่วน ทำอย่างไรให้พี่น้องเกษตรกรในภาคการผลิตได้เข้าใจเพื่อให้มีการผลิตในรูปแบบเดียวกัน

 

ในส่วนของสมาคมเองมีศูนย์ข้าวชุมชนทั่วประเทศจำเป็นที่จะต้องช่วยกันในการทำเรื่องเมล็ดพันธุ์เพื่อที่จะมารองรับนโยบายตรงนี้ต่อไปจะต้องมีการปลูกข้าวเฉพาะถิ่น เฉพาะพื้นที่หรือจัดโซนนิ่งขึ้นมาให้ได้ยากในการควบคุมคุณภาพง่ายในการที่จะให้ผู้ซื้อ คือโรงสีจะได้มั่นใจในคุณภาพของข้าว อนาคตก็จะเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจ  พัฒนา ความเข้มแข็งของตัวกลุ่มเองและศูนย์ข้าวชุมชนไม่ใช่แค่ผู้ปลูกอย่างเดียว อาจจะเป็นผู้รวบรวม และผู้ประกอบการที่ยกระดับให้เทียบเท่าขึ้นมาได้ เป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะที่ผ่านมาไม่ได้บูรณาการกันเลย และตอนนี้เราทำงานเป็นทีมแล้ว ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี

 

 

 

 

 

เบญจพล นาคประเสริฐ

 

นายเบญจพล นาคประเสริฐ  ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ  กล่าวว่า  การที่กองทุนหมู่บ้านฯ เข้ามาพยายามที่จะสร้างอาชีพให้กับพี่น้องกองทุนหมู่บ้านโดยใช้ในเรื่องของโมเดลข้าวรักษ์โลก ทำตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี เพราะไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช่ยาฆ่าแมลง จะทดลองใช้เทคโนโลยีดูว่าเปลี่ยนมาใช้จุลินทรีย์แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นข้าวมีคุณภาพดีขึ้นหรือไม่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นหรือไม่ มีการทดลองนำร่องตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา  เพื่อเป็นตัวอย่าง ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาก็เห็นว่ามีผลผลิตเพิ่มขึ้น 500 กก.ต่อไร่ ถือว่าเป็นตัวเลขที่ดี และน่าสนใจที่พี่น้องเกษตรกรสนใจเปลี่ยนวิถีการทำนาได้ในฤดูการทำนาครั้งต่อไป

 

 

เก็บควันหลงภาพบรรยากาศ ชื่นมื่น

ถึงเวลาแล้ว ปฏิวัติการทำนาไทย ก้าวสู่ความยั่งยืน

 

ถึงเวลาแล้ว ปฏิวัติการทำนาไทย ก้าวสู่ความยั่งยืน

 

 

ถึงเวลาแล้ว ปฏิวัติการทำนาไทย ก้าวสู่ความยั่งยืน

 

ถึงเวลาแล้ว ปฏิวัติการทำนาไทย ก้าวสู่ความยั่งยืน

 

 

ปราโมทย์ เจริญศิลป์

 

ถึงเวลาแล้ว ปฏิวัติการทำนาไทย ก้าวสู่ความยั่งยืน

 

ถึงเวลาแล้ว ปฏิวัติการทำนาไทย ก้าวสู่ความยั่งยืน

ถึงเวลาแล้ว ปฏิวัติการทำนาไทย ก้าวสู่ความยั่งยืน