ชาวสวนช็อก “ประกันรายได้ยางพารา” เลื่อนออกไปไม่มีกำหนด

19 พ.ย. 2565 | 20:39 น.
อัปเดตล่าสุด :20 พ.ย. 2565 | 17:51 น.
1.9 k

ข่าวร้าย สศก. แจ้งเลื่อน “ประกันรายได้ยางพารา” ออกไปไม่มีกำหนด "อุทัย" ผนึก ม.แม่โจ้ กับ สมาคมนักวิชาการยางและ ถุงมือยาง ไม่ง้อโครงการรัฐ จัดงานมหกรรมยางพารา และพืชเศรษฐกิจ EEC 2023 ระหว่างวันที่ 23-26 ก.พ. เป็นนโยบายตาม มติ ครม. วันที่ 9 ส.ค.

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าได้รับแจ้งข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) นายรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งเลื่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) จากกำหนดเดิมเป็นวันที่ 21 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ เป็นออกไปไม่มีกำหนด สาเหตุเข้าใจง่าย จากราคาที่จะต้องจ่ายส่วนต่างมากเกินไป รัฐบาลรับภาระไม่ไหว

 

 

 

"ประกันรายได้ยาง" เลื่อนออกไปไม่มีกำหนด

 

จากปัญหาดังกล่าวนี้ ทางสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และ สมาคมนักวิชาการยางและ ถุงมือยาง  ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้รวบรวมเครือข่ายสถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางพารา จากวิสาหกิจ ชุมชนและจากผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs.) จัดงานมหกรรมยางพารา และพืชเศรษฐกิจ EEC 2023 ระหว่างวันที่ 23-26 กุมภาพันธ์ 2566

 

 

การจัดงานมหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ครั้งนี้ ช่วยกระตุ้นให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของยางพารา มีความ กระตือรือร้นด้านการสร้างความร่วมมือกันของประเทศผู้ผลิตยางพารา ทั้ง “เกษตรกรสวนยางพารา/ต้น ทาง อุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา/กลางทาง และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา/ปลายทาง” เพื่อให้ได้รับผลส าเร็จทั้งระบบครบวงจรของผู้ผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chane)

 

 

โดยเน้นความ ต้องการของผู้บริโภค การประยุกต์ และการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ตอบสนองต่อความต้องการ ของตลาดสินค้าเกษตร และเกิดการกระจายรายได้ไปสู่เกษตรกร ภายใต้การขับเคลื่อน “โครงการเกษตร ปลอดภัยครัวไทยสู่ครัวโลก” เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 9 สิงหาคม 2565

 

 

 

หลักการและเหตุผล

 

เนื่องจากประเทศไทยมีจุดเด่น ที่มีผลผลิตยางพารามากที่สุด เป็นดับหนึ่งของโลก ซึ่งเป็นจุด ได้เปรียบด้านวัตถุดิบที่จะป้อนโรงงานอุตสาหกรรมยางพารา จึงจะต้องสร้างกลยุทธ์กระตุ้นให้นักลงทุนจาก ทั่วโลกมาลงทุนในประเทศไทย ดังนั้น ในการจัดมหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา เครือข่ายสถาบันเกษตรกร นานาชาติฯ ในครั้งนี้ สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และ สมาคมนักวิชาการยางและ ถุงมือยาง จึงได้รวบรวมเครือข่ายสถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางพารา จากวิสาหกิจ ชุมชนและจากผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs.)

 

 

เพื่อให้นักลงทุน ต่างประเทศได้ มองเห็นถึงศักยภาพ ของอุตสาหกรรม SMEs. ผลิตภัณฑ์ยางพารารายย่อย เพื่อเป็นแนวทาง ในการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้ความส าคัญ ด้านวิจัยและ พัฒนา (R & D) ในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย เพื่อเป็นการแก้จุดอ่อนในภาคอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ยางพารา และเป็นการจับคู่ธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารากับผู้ที่สนใจในการที่จะร่วม ลงทุน เพื่อมุ่งเน้นที่จะใช้การตลาดน าการผลิต (Demand Pull) โดยเน้นการเชื่อมโยงภาคการเกษตรกับ ภาคอุตสาหกรรมให้เป็นระบบเดียวกันที่เน้นการประยุกต์และพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรอุตสาหกรรม ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565

 

วิธีการดำเนินงาน

 

1.สร้างเครือข่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางพารา เชื่อมโยงภายในประเทศและต่างประเทศ

 

2. จับคู่ธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา กับการซื้อ - ขายยางพารา และวัสดุ การเกษตรที่เกี่ยวข้องกับยางพารา เป็นต้น

 

3. จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ /MOU ระหว่างผู้ประกอบการเกษตรกรรมสวน ยางพารา โรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา และ การตลาดยางพารา เป็นต้น

 

4.จัดทำข้อตกลงความร่วมมือ/ MOU ระหว่างผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility ; CSR. ที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กับ วิสาหกิจชุมชนอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ยางพารา

 

5.ต่อยอดอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยการเพิ่มนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิต และเข้าถึงตลาดสินค้าที่มีมูลค่าสูง

 

6. ถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน เพื่อจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเกษตรกร ผู้ขาย และผู้ประกอบการ

 

7. ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปตามมติ คณะรัฐมนตรี วันที่ 9 สิงหาคม 2565 ให้เกษตรในพื้นที่ EEC ดำเนิน “การเกษตรปลอดภัย ครัวไทย สู่ครัวโลก”

 

 

 8. จัดให้มีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางพาราภายในประเทศ โดยผลักดันให้ รัฐบาลกำหนดนโยบายสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากยางพาราที่มีมูลค่าสูง อย่างหลากหลาย รวมถึงการสนับสนุนงานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากยางพารา ฃ

 

9. จัดให้ระดับราคายางพารามีเสถียรภาพตาม พรบ. กยท. 2558 มาตรา (8)

 

10. จัดให้ความรู้ในเรื่องสิทธิพิเศษในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

 

11. จัดการซื้อขายและแลกเปลี่ยน หรือร่วมลงทุนจัดตั้งโรงงานในเขตพื้นที่ EEC โครงการ ภายใต้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา)

 

12. ประชาสัมพันธ์โครงการ พัฒนาเกษตรในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตาม นโยบายของรัฐบาล

 

13. จัดให้มีการส่งเสริมตลาดผลไม้ พืชเศรษฐกิจ และ สมุนไพรพืชสุขภาพ รวมถึง ผลิตภัณฑ์ แปรรูปจากผลไม้ พืชเศรษฐกิจ และ สมุนไพรพืชสุขภาพของภาคตะวันออกเพื่อสร้างมูลค่าสูง

 

14. จัดให้มีการถ่ายทอดชุดความรู้ “เกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม” แก่เกษตรกร เด็ก เยาวชน และ ประชาชนทั่วไป เพื่อเริ่มต้น (Start - Up) เป็นผู้ประกอบการใหม่ ตามแนวคิด “”Well Being Farm Stay” รองรับการขยายตัวการท่องเที่ยววิถีใหม่ (Tourism New Normal)

 

 

นายอุทัย กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้มีการเชิญผู้เข้าร่วมงานจากต่างประเทศเข้ามาด้วย เชื่อว่าการจัดงานครั้งนี้ จะช่วยสร้างงาน และสร้างมูลค่ายางพาราเพิ่มขึ้นภายในประเทศ ดังนั้น เพื่อจัดกิจกรรมเร่งรัด ให้มีการใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มมากขึ้น เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ยางพารา 20 ปี รัฐบาลมีนโยบายที่จะใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้น โดยตั้งเป้าหมายให้ได้ ร้อยละ 35 ของผลผลิตยางพารา ทั้งหมด ของประเทศที่จะทำให้เกิดขึ้นได้จริง มิใช่เพียงแค่ลมปากเท่านั้น