ส่งออกเพื่อนบ้านไตรมาส4ลุ้นเหงื่อตกเดือนละ ‘แสนล้าน’

05 พ.ย. 2565 | 10:14 น.
อัปเดตล่าสุด :05 พ.ย. 2565 | 17:45 น.

รัฐมนตรีพาณิชย์มั่นใจ ส่งออกไทยปีนี้มีโอกาสโตสูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 5%ได้เท่าตัว เหตุ 9เดือนแรกตุนเต็มกระเป๋าโตแล้ว 10 % แต่การส่งออกไปเพื่อนบ้านต้องลุ้นเหงื่อตก ไตรมาส 4 ต้องทำยอดเดือนละ 1 แสนล้านบาทขึ้นไป

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯ และรัฐมนตรีพาณิชย์ แถลงตัวเลขส่งออกไทย 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) ปีนี้ มีมูลค่า7.523 ล้านล้านบาท เติบโตได้ 10.6% โดยหมวดสินค้าอุตสาหกรรม เป็นตัวนำ สร้างเงินเข้าประเทศ 5.888 ล้านล้านบาท มีอัตราโต9% ส่วนหมวดสินค้าเกษตร ส่งออกได้ 7.067 แสนล้านบาท เติบโต 5.2% ที่โดดเด่นคือ หมวดอุตสาหกรรมเกษตร ที่ส่งออกได้603,393 ล้านบาท และมีอัตราโตถึง 25.7%

 

ขณะที่การส่งออกเดือนก.ย. 2565 มีมูลค่า 888,371 ล้านบาท เติบโตได้ 7.8 % จาก 3 ปัจจัยหนุน ได้แก่

ส่งออกเพื่อนบ้านไตรมาส4ลุ้นเหงื่อตกเดือนละ ‘แสนล้าน’

 

ส่งออกเพื่อนบ้านไตรมาส4ลุ้นเหงื่อตกเดือนละ ‘แสนล้าน’

1. โลกเริ่มกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและใช้ชีวิตในภาวะปกติ หลังโควิด-19 ทำให้การส่งออกอาหารในรูปแบบต่างๆของประเทศไทย รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรม เช่น อัญมณี เครื่องประดับ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สำหรับการเดินทาง และเครื่องสำอาง ส่งออกได้ดีขึ้น

 

2. ภาวะการขาดแคลนเซมิคอน ดักเตอร์เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้การส่งออกรถจักรยานยนต์และรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้เซมิคอนดักเตอร์ สามารถกลับมาผลิตได้

ส่งออกเพื่อนบ้านไตรมาส4ลุ้นเหงื่อตกเดือนละ ‘แสนล้าน’

ส่งออกเพื่อนบ้านไตรมาส4ลุ้นเหงื่อตกเดือนละ ‘แสนล้าน’

3. การอ่อนค่าของค่าเงินบาท ทำให้เราสามารถส่งออกสินค้าเกษตรไปแข่งขันในตลาดโลกได้ดีขึ้น โดยเฉพาะข้าว คาดว่าปีนี้จะทำได้เกินเป้าที่กำหนดไว้เดิม 7 ล้านตัน

 

ตัวเลขการเติบโตการส่งออกที่ตุนไว้ 3 ไตรมาส โตที่ 10.6% สูงกว่าเป้าเติบโตการส่ง ออกที่ตั้งไว้ที่ 4% นายจุรินทร์แสดงความมั่นใจว่า จากการประเมินร่วมกับคณะทำงาน “เรามีโอกาสทำได้เพิ่มขึ้นไม่ น้อยกว่า 1 เท่าของเป้าเดิมที่ตั้งไว้ มั่น ใจว่า 3 เดือนท้ายปี(ต.ค.-ธ.ค.) 2565 นี้ การขยายตัวของตัวเลขส่งออก น่าจะอยู่ในลักษณะที่ดี การส่งออกยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญในการสร้างเงินให้ประเทศ”

ส่งออกเพื่อนบ้านไตรมาส4ลุ้นเหงื่อตกเดือนละ ‘แสนล้าน’

แต่การส่งออกชายแดนและการค้าผ่านแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ต้องลุ้นหนักกว่า

 

เมื่อกางตัวเลข 9 เดือนแรก การส่งออกของการค้าชายแดนกับ 4 ประเทศเพื่อนบ้าน ทำได้ 489,940 ล้านบาท เติบโต 19.3% โดยส่งออกไปมาเลเซียมากที่สุด 139,973 ล้านบาท เติบโต 8.5% อันดับสองคือ กัมพูชา 125,536 ล้านบาท โตได้ 19.5% ถัดมาคือสปป.ลาว 114,254 ล้านบาท โตถึง 24.7% และเมียนมา 110,177 ล้านบาท และโตสูงสุดถึง 29.4%

 

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยการให้การส่งออกผ่านการค้าชายแดน 4 ประเทศ 1.ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้แข่งขันด้านราคากับประเทศคู่แข่งได้ดีขึ้น 2.ราคานํ้ามันโลกปรับตัวสูงขึ้นและความต้องการนํ้ามันเชื้อเพลิงของประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น ทำให้การส่ง นํ้ามันเชื้อเพลิงไทยไปเมียนมา และ สปป.ลาวมีมูลค่าสูงขึ้น

 

ส่วนตัวเลขการค้าผ่านแดนเฉพาะทางบกไปจีน เวียดนาม และสิงคโปร์  มีตัวเลขติดลบ เพราะหันไปส่งทางเรือมากขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ใน 3 ไตรมาสแรก (ม.ค.-ก.ย.) 2565 ส่งออกได้รวม 283,962 ล้านบาท เปลี่ยน แปลง -23%

 

โดยไทยค้าผ่านแดนกับจีนสูงสุด ในช่วงดังกล่าวมีมูลค่าส่งออกรวม 115,945 ล้านบาท ลดลงถึง -28.5% ส่งออกทางบกไปสิงคโปร์ 38,302 ล้าน บาท ลดลง -8.2% เช่นกัน มีเพียงส่งออกผ่านแดนทางบกไปเวียดนาม ที่ยังเติบโตได้ 5.7% มูลค่า 36,129 ล้านบาท

 

ทั้งนี้ การค้าชายแดนและผ่านแดนได้รับผลกระทบจากการระบาดเชื้อโควิด-19 ระหว่างปี 2563-2565 ที่แต่ละประเทศปิดพรมแดนคุมการระบาด แม้จะเปิดให้ขนส่งสินค้าผ่านเข้า-ออกได้ เฉพาะด่านการค้าหลักที่จำเป็น และต้องมีมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด ทำให้ยอดการค้าย่อตัวลง

 

กระทั่งครึ่งหลังปี 2565 จึงผ่อนคลายมาตรการลง และเพิ่มความสะดวกการค้าชายแดน ได้แก่ การเปิดจุดผ่านแดนเพิ่มเติม เพื่อขนส่งสินค้าภายใต้มาตรการควบคุมการระบาดเชื้อโควิด-19 โดยจุดผ่านแดนฝั่งไทยเปิดเพิ่มเติมอีก 1 แห่ง คือ จุดผ่อนปรนการค้าบ้านด่านเก่า จ.อุบลราชธานี เมื่อ 30 ก.ย. 2565

 

ส่วนการเปิดจุดผ่านแดนฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน เพิ่มจำนวน 2 แห่ง คือ ที่ด่านประเพณีบ้านสิงสำพัน แขวงจำปาสัก สปป.ลาว เมื่อ30 ก.ย. 2565 และด่านท้องถิ่น เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว เมื่อ 3 ต.ค. 2565

 

ส่งผลให้ ณ วันที่ 20 ต.ค.2565 มีจุดผ่านแดนฝั่งไทยเปิดแล้ว 70 แห่ง (เพิ่มขึ้น 24 แห่งจากเมื่อสิ้นปี 2564 มีเปิด 46 แห่ง ) จากทั้งหมด 97 แห่ง ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเปิด 60 แห่ง

 

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ประกาศคงเป้าเติบโตการส่งออกของการค้าชายแดนและข้ามแดนปี 2565 ไว้ที่อัตราเติบโต 5% หรือเท่ากับ 1,082,897 ล้านบาท โดย 9 เดือนแรกปีนี้ทำไปได้แล้ว 71.5% ของเป้าหมายคิดเป็นมูลค่าส่งชายแดนและผ่านแดนรวม773,902 ล้านบาท

 

เท่ากับว่าใน 3 เดือนสุดท้ายปี 2565 ต้องส่งออกชายแดนและผ่านแดนรวมให้ได้อีก 308,995 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเดือนละ102,998 ล้านบาท จึงจะถึงเป้า โดยที่การส่งออกชายแดนและผ่านแดนเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ทำได้ที่ 91,053 ล้านบาท หรือส่งออกเพิ่มจากเดิมอีกเดือนละกว่า 1 หมื่นล้านบาท

เป็นเป้าที่ต้องลุ้นกันเหงื่อตก เลยทีเดียว 

 

 

หน้า8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,833 วันที่ 6-9 พฤศจิกายน พ.ศ.2565