เปิดความเห็น"ต่อพงษ์ เสลานนท์" กสทช.เสียงข้างมากควบรวม"ทรู-ดีแทค"

22 ต.ค. 2565 | 10:27 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ต.ค. 2565 | 17:40 น.
789

เปิดความเห็นข้อกฏหมาย"ต่อพงษ์ เสลานนท์" กสทช.เสียงข้างมาก กรณีการรวมธุรกิจระหว่าง "ทรู-ดีแทค(TRUE-DTAC)"

จากกรณี กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ประชุมวาระพิเศษจารณาการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  หรือ TRUE และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  DTAC   เมื่อวันที่  20 ต.ค. 65 มาราธอนนานกว่า 11 ชม. ก่อนที่ประชุมมีมติ 3:2 รับทราบการควบรวมธุรกิจ TRUE-DTAC 


ล่าสุด นายต่อพงษ์ เสลานนท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทำบันทึกความเห็นข้อกฏหมายกรณีควบรวมธุรกิจ ไว้ดังนี้
 

จากกรณีการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) ข้าพเจ้ามีความเห็นข้อกฎหมาย ดังนี้


พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 มาตรา 4 มิให้ใช้บังคับแก่การกระทํา ของ (4) ธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะกํากับดูแลในเรื่องการแข่งขันทางการค้า ดังนั้น เมื่อ กสทช. มีประกาศ เกี่ยวข้องกับการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะตาม (4) แล้ว กรณีการรวมธุรกิจ ระหว่างสองบริษัทดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้อํานาจหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
 

การรวมธุรกิจ ตามประกาศฉบับ พ.ศ.2561 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง ที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้มี อํานาจควบคุมของผู้รับใบอนุญาตรวมกับผู้รับใบอนุญาตรายอื่นหรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้รับใบอนุญาตราย อื่น แล้วเกิดเป็นนิติบุคคลใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

การเข้าถือครองธุรกิจ ตามประกาศฉบับ พ.ศ.2549 ข้อ 8 เพื่อจะเข้าควบคุมนโยบายหรือ การบริหารธุรกิจของผู้รับใบอนุญาตรายอื่น โดยการเข้าซื้อหรือถือหุ้นของผู้รับใบอนุญาตรายอื่นหรือเพื่อเข้าซื้อ สินทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนของผู้รับใบอนุญาตรายอื่น เห็นว่ากรณีนี้ ผู้รับใบอนุญาตทั้ง 2 รายยังคงดําเนิน ธุรกิจต่อไปเหมือนเดิม

 

พฤติการณ์ดังกล่าวมีผลทําให้ผู้รับใบอนุญาตทั้ง 2 ราย อาจจะบริหารธุรกิจโดยคนกลุ่มเดียวกัน จึงทําให้สามารถรวมหัวหรือสมรู้ร่วมคิดกันกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งในการดําเนินธุรกิจ อันอาจ ส่งผลให้เกิดการผูกขาด หรือลด หรือจํากัดการแข่งขันในการให้บริการโทรคมนาคม จึงจะต้องได้รับอนุญาต จากคณะกรรมการก่อน

 

ส่วนการรวมธุรกิจตามประกาศฉบับ พ.ศ.2561 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง มีความแตกต่างกับการถือ ครองธุรกิจรายอื่น คือ ไม่ได้จะเข้าควบคุมนโยบาย หรือการบริหารธุรกิจของผู้รับใบอนุญาตรายอื่นแต่อย่างใด


วิธีการถือครองธุรกิจตามประกาศฉบับ พ.ศ.2549 ข้อ 8 โอกาสจะมีผลกระทบต่อตลาด โทรคมนาคมรุนแรงเสียหายมากกว่าการรวมธุรกิจตามประกาศฉบับ พ.ศ.2561 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง เพราะมี ความประสงค์ชัดเจนตั้งแต่ต้นว่า กระทําเพื่อจะเข้าควบคุมนโยบาย หรือการบริหารธุรกิจของผู้รับใบอนุญาต รายอื่น

 

การรวมธุรกิจตามประกาศฉบับ พ.ศ.2561 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง จึงสามารถป้องกันผลกระทบ ความเสียหายล่วงหน้าได้ ตามข้อ 12 ในประกาศดังกล่าว

 

ส่วนการถือครองธุรกิจตามประกาศฉบับ พ.ศ.2549 ไม่สามารถกําหนดเงื่อนไขหรือมาตรการ เฉพาะล่วงหน้าได้

 

มาตรการเฉพาะตาม หมวด 4 จะนํามาใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีผลกระทบเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว เป็นมาตรการเฉพาะสําหรับใช้ลงโทษกรณีก่อให้เกิดผลกระทบมีความเสียหาย

 

เมื่อไม่เข้าข่ายข้อ 8 ตามประกาศ กทช. ฉบับ พ.ศ. 2549 คณะกรรมการ กสทช. จึงไม่มีอํานาจที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตการรวมธุรกิจ แต่คงมีอํานาจที่จะกําหนดเงื่อนไขหรือนํามาตรการ เฉพาะสําหรับผู้มีอํานาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสําคัญ ตามข้อ 12 ประกาศ กสทช. ฉบับ พ.ศ. 2561 ที่ออก มาตรการตามความมาตรา 27 (11) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553

 

บันทึกความเห็นฉบับเต็ม(คลิกที่นี่)