เปิดสิทธิประโยชน์ หนุนการลงทุนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค

21 ต.ค. 2565 | 16:41 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ต.ค. 2565 | 23:48 น.
701

เปิดกิจการเป้าหมายและสิทธิประโยชน์ สำหรับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค ทั่วประเทศ หลังรัฐบาลส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเฉพาะและเหมาะสมตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบการกำหนดกิจการเป้าหมายและสิทธิประโยชน์ สำหรับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค โดยกำหนดคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับทุกพื้นที่

 

ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเป็นการเฉพาะและเหมาะสมตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เสนอคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพิจารณากำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษตามแนวทางที่ กพศ. ให้ความเห็นชอบต่อไป 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ภาพประกอบข่าวพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค

สำหรับมีพื้นที่และคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย แยกได้ดังนี้

 

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor : NEC – Creative LANNA) 

  • ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง 
  • ส่งเสริมคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร 

 

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor : NeEC – Bioeconomy) 

  • ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย 
  • ส่งเสริมคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมชีวภาพ และ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร 

 

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง - ตะวันตก (Central - Western Economic Corridor : CWEC) 

  • ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี 
  • ส่งเสริมคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 

 

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) 

  • ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช 
  • ส่งเสริมคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารอุตสาหกรรมชีวภาพ และ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) 

 

ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

นอกจากนี้ ที่ประชุม กพศ. ได้เห็นชอบข้อเสนอมาตรการและปัจจัยสนับสนุนที่จะให้แก่ผู้ประกอบกิจการในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อม (Ecosystem) ให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจและขยายการลงทุน โดยมีมาตรการที่สำคัญ ดังนี้

  • การให้สิทธิประโยชน์ (ทางภาษีและมิใช่ภาษี) 
  • การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม 
  • การพัฒนากำลังคน ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการ 
  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญและสิ่งอำนวยความสะดวก 
  • การสนับสนุนเงินทุน 
  • การแก้ไขกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมการประกอบกิจการ รวมทั้งกำหนดมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมรายคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไป

 

ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ