ส.อ.ท.สัญจรขับเคลื่อน Eco Factoryปั้น”ตราด”ยักษ์เล็กภาคตะวันออก

15 ต.ค. 2565 | 15:51 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ต.ค. 2565 | 23:04 น.

สภาอุตสาหกรรมฯสัญจรภาคตะวันออก เคลื่อนวิสัยทัศน์ผนึกทุกภาครวมเป็นหนึ่ง สร้าง One Team สู่เป้าหมายโมเดล BCG ด้วยอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ “เกรียงไกร”ย้ำไทยผนึกแน่นซัพพลายเชนโลก รับไม่ได้หากปล่อยน้ำท่วมใหญอีก ชี้ตราดต้องโตบนฐานชีวภาพเป็นยักษ์เล็กของตะวันออก

ผู้สื่อข่าวรายงาน วันที่ 14 ตุลาคม 2565 ห้องจอมทอง โรงแรมอัยยะปุระ เกาะช้าง จ.ตราด สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตราด เป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกสัญจรขึ้น  โดยกิจกรรมนี้มีนายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดหัวหน้าส่วนราชการ และผู้บริหารภาคเอกชนในจังหวัดตราด และสมาชิกสภาอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก เข้าร่วมกว่า 180 คน 

 

นายธรา วัฒนวินิน ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตราด กล่าวว่า การจัดงานสัมมนาครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการติดอาวุธทางความคิด และเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพทางการอุตสาหกรรม ให้กับผู้ประกอบการสมาชิกสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตราด และในภาคตะวันออก ให้สามารถพัฒนาธุรกิจให้เจริญเติบโตแล้ว 

ส.อ.ท.สัญจรขับเคลื่อน Eco Factoryปั้น”ตราด”ยักษ์เล็กภาคตะวันออก

 

ส.อ.ท.สัญจรขับเคลื่อน Eco Factoryปั้น”ตราด”ยักษ์เล็กภาคตะวันออก

ยังเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่าเดิม ตามวิสัยทัศน์ “ONE VISION” ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภาอุตสาหกรรมฯ ภายใต้นโยบายการขับเคลื่อน ส.อ.ท. “ONE FTI” หรือการหลอมรวมทุกภาคส่วนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน 

 

โดยอาศัยยุทธศาสตร์ 4 ข้อ ในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนภายในส.อ.ท. ที่ประกอบไปด้วยสมาชิก 15,000 ราย 45 กลุ่มอุตสาหกรรม 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด และเจ้าหน้าที่ ส.อ.ท.  และภายนอก ที่ประกอบไปด้วยหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ จะร่วมกันทำงานเป็น “ONE TEAM” เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน “ONE GOAL”

ส.อ.ท.สัญจรขับเคลื่อน Eco Factoryปั้น”ตราด”ยักษ์เล็กภาคตะวันออก

ส.อ.ท.สัญจรขับเคลื่อน Eco Factoryปั้น”ตราด”ยักษ์เล็กภาคตะวันออก

ด้านดร.สาโรจน์  วสุวานิช ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก กล่าวว่า ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรม ต้องมีการปรับตัวและพัฒนาตนเองสู่ความยั่งยืน ทั้งการมุ่งสู่การเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การเตรียมความพร้อมในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อหาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินกิจการ และพัฒนาแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-products) ที่สามารถส่งเสริมและสนับสนุนภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้ง Supply chain ที่นอกเหนือจากภาคอุตสาหกรรมได้

 

ทั้งนี้ ส.อ.ท. ในฐานะองค์กรกลางของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาคเอกชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ในการเสริมสร้างประสิทธิภาพเพื่อการอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มโอกาสการสร้างงาน การกระจายรายได้ สร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมทางสังคม ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำหลักการ BCG ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจการขององค์กร 

ส.อ.ท.สัญจรขับเคลื่อน Eco Factoryปั้น”ตราด”ยักษ์เล็กภาคตะวันออก

ทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดตั้งสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในการพัฒนา Thailand Carbon Credit Exchange Platform รวมทั้งการจัดตั้ง RE100 Thailand Club เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดในภาคอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality  ภายใต้วิสัยทัศน์ “ONE VISION” เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทย ที่เข้มแข็งกว่าเดิม

 

จากนั้นนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ“ฝ่าวิกฤตสู่โอกาส พัฒนาตราดก้าวทันโลก” ซึ่งได้สะท้อนปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยในปัจจุบันและในอนาคตโดยระบุว่าปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศขณะนี้ ทางสภาอุตสาหกรรมกำลังมองว่า เมื่อน้ำมาจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมเหมือนปี 2554 หรือไม่ เพราะหากเกิดปัญหาขึ้น จะส่งผลกระทบไม่เพียงประเทศไทย แต่นานาชาติจะได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะไทยส่งสินค้าอุตสาหกรรมไปต่างประเทศมาก 

ส.อ.ท.สัญจรขับเคลื่อน Eco Factoryปั้น”ตราด”ยักษ์เล็กภาคตะวันออก

ขณะที่ปัญหาของโลกขณะนี้ก็ส่งผลกระทบกับไทย คือ สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ที่ทำให้ราคาพลังงานสูงขึ้น ซึ่งสหรัฐฯไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เพราะจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ จึงเร่งแก้ปัญหา ทั้งนำน้ำมันสำรองมาใช้ การผลักดันให้เพิ่มกำลังผลิตและการขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งผลกระทบต่อค่าเงินของนานาประเทศ ไทยเองค่าเงินบาทอ่อน ถึง 38-39 บาท/ดอลล่าร์ และปลายปีนี้ก็จะเตะ40 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้จะดีสำหรับผู้ส่งออก แต่ผู้ผลิตสินค้าในประเทศจะแย่ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอีได้ 

 

นายเกรียงไกร กล่าวว่า นับจากนี้ภาคอุตสาหกรรมของไทย จะต้องปรับตัวเพื่อยกระดับการลงทุน เพื่อพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง เพื่อแก้ไขการดิสรัปชั่น รวมทั้งหันไปพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ให้เป็น SMART AGRICULTURE INDUSTRY(SAI) เป็น

 

SMART FARMING และการพัฒนาBCG MODEL ของคลัสเตอร์อุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต ที่จะเป็นรากฐาน ก่อนเกิดอุตสาหกรรมอีก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 11 คลัสเตอร์โดยแนวคิดเหล่านี้เป็นแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ได้นำเสนอใหรัฐบาลผลักดัน เพื่อปรับทิศทางอุตสาหกรรมไปในทางนี้ ซึ่งจะเป็นทางรอดของอุตสาหกรรมไทยโดยจะมีสภาอุตสาหกรรมทั้ง 76 จังหวัด ร่วมกันพัฒนาและผลักดันให้เกิดผลทางปฏิบัติ

ส.อ.ท.สัญจรขับเคลื่อน Eco Factoryปั้น”ตราด”ยักษ์เล็กภาคตะวันออก

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวในช่วงท้ายว่า ในส่วนของจังหวัดตราดนั้น ภาพของเศรษฐกิจจะมุ่งเน้นหลักไปทางสินค้าทางการเกษตรเป็นหลัก ทั้งผลไม้ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา แต่สิ่งที่จังหวัดตราดมีก็คือ สินค้าทางการเกษตร ซึ่งเป็นสิ่งที่จะสามารถพัฒนาให้จังหวัดตราดเป็นยักษ์เล็กในภาคตะวันออกได้ เพราะจ.ตราดเป็นจังหวัดที่มีขนาดทางเศรษฐกิจเล็กว่าทุกจังหวัด 

 

แต่การที่จ.ตราดมีพืชผลทางการเกษตรมาก จะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการเป็นวัตถุดิบในการผลิตเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio Economic)  ที่จะเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าต่าง ๆ ได้จำนวนมาก เช่น ไบโอพลาสติก ที่วันนี้ไทยคือผู้ผลิตมากที่สุดในโลก ซึ่งหากสามารถทำได้จะทำให้จังหวัดตราดเป็นยักษ์เล็กของภาคตะวันออกได้