ส่งไม้ต่ออธิบดีกรมปศุสัตว์ใหม่ สานภารกิจป้องกัน ควบคุม กำจัดโรคระบาดสัตว์

13 ต.ค. 2565 | 16:38 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ต.ค. 2565 | 23:38 น.

อัพเดทสถานการณ์โรคระบาดในสัตว์ในประเทศไทย ภารกิจใหม่ ท้าทาย อธิบดีกรมปศุสัตว์สานภารกิจป้องกัน ควบคุม กำจัดโรคระบาดสัตว์ โดยเฉพาะโรคอุบัติใหม่ อาจก่อความเสียหายในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ได้ มีโรคอะไรบ้าง มาอัพเดทกัน

ปัจจุบันการเลี้ยงปศุสัตว์ในประเทศไทย มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคของมนุษย์เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของประชากรมนุษย์ ส่งผลให้การเกิดโรคระบาดในสัตว์ และโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน มีโอกาสสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดโรคอุบัติใหม่ ที่เกิดการแพร่กระจายจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทย เนื่องจากโรคบางโรคไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในระเทศไทย เมื่อเกิดการแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศ อาจก่อความเสียหายในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ได้ โรคระบาดในสัตว์และโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คนที่สำคัญ

 

 

ส่งไม้ต่ออธิบดีกรมปศุสัตว์ใหม่ สานภารกิจป้องกัน ควบคุม กำจัดโรคระบาดสัตว์

 

เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้หวัดหมู โรคบรูเซลโลซิส โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็นต้น ซึ่งส่งผลความเสียหายทางด้านสาธารณสุขและทางด้านเศรษฐกิจ หากไม่มีการเตรียมพร้อมวางแผนเพื่อรับมือโรคระบาดในสัตว์ล่วงหน้า การเฝ้าระวังสถานการณ์การเกิดโรคระบาดในสัตว์ เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยจัดการความเสี่ยงและลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นฐานข้อมูล ในการประเมิน วางแผนในการเฝ้าระวังในอนาคต ซึ่งการวางแผนที่ดีและมีประสิทธิภาพยังช่วยลดงบประมาณที่ต้องใช้ในการควบคุม ป้องกันโรคได้อีกด้วย

 

แหล่งข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กรมปศุสัตว์ เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักอย่างหนึ่ง คือ การควบคุม เฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดโรคระบาดในสัตว์ และดูแลด้านปัญหาสุขภาพสัตว์ทั่วไป ภาระกิจดังกล่าว เป็นหน้าที่ของอธิบดีคนใหม่ (คลิกอ่าน) แนวทางหนึ่งที่จะส่งผลให้การป้องกันโรคระบาดในสัตว์สัมฤทธิ์ผล คือการเฝ้าระวังสถานการณ์การเกิดโรคระบาดในสัตว์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างสม่ำเสมอและรวดเร็ว จะช่วยให้การวางแผนการควบคุม ป้องกันโรคระบาดในสัตว์มีประสิทธิภาพและทันท่วงที ลดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้

 

 

ผลการดำเนินงาน

 

1.โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF)

 

ด้วยสถานการณ์ที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับโรคอุบัติใหม่ในสุกร คือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ซึ่งเป็นโรคที่ระบาดอย่างรวดเร็ว ยากในการควบคุม มีอัตราการป่วย และอัตราการตายค่อนข้างสูง การเกิดโรคดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างมากแก่เกษตรกรในระดับฟาร์ม และเป็นการทำลายระบบอุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์ อันจะส่งผลให้ราคาสินค้าในตลาดสูงขึ้น และกระทบกับผู้บริโภคโดยภาพรวม โดยประเทศไทยพบโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร 31 จังหวัด ปัจจุบันทุกการระบาดมีระยะเวลามากกว่า 30 วันทั้งหมด

 

การเฝ้าระวังโรคทางอาการในฟาร์มสุกร สะสม 1 ต.ค. 62 – ปัจจุบัน มีจำนวน 1,040,028 ฟาร์ม เฝ้าระวังโรคในสุกรที่เข้าฆ่า จำนวน 17,798,169 ตัว มีเกษตรกรที่ได้รับเงินค่าชดเชยราคาสุกรที่ถูกกทำลายในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 7,687 ราย สุกร 227,610 ตัว งบประมาณ 823,812,155.02 บาท โดยมีเกษตรกร 7 ราย อยู่ระหว่างการเบิกจ่ายเป็นเงิน 52,350 บาท และกรมปศุสัตว์ดำเนินการทำข้อตกลงกับสำนักงบประมาณสำหรับการขอรับงบประมาณเพื่อเบิกจ่ายให้แก่เกษตรกรที่ถูกทำลายในช่วง 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน 2565

 

2. โรคปากและเท้าเปื่อย

ปี 2564 พบการระบาดของโรคจำนวน 47 ครั้ง ใน 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย กระบี่ ชุมพร ตาก นครพนม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช พะเยา พังงา พัทลุง มุกดาหาร ลพบุรี ลำพูน สงขลา สระบุรี สุโขทัย และ สุราษฎร์ธานี (ข้อมูลระบบ E-smart วันที่ 1 ม.ค.- 31 ธันวาคม 2564) กรณีแบ่งตามชนิดสัตว์ โคเนื้อ 28 ครั้ง, โคนม 17 ครั้ง, กระบือ 1 ครั้ง และไม่ทราบข้อมูล 1 ครั้งแบ่งเป็น type O จำนวน 14 ครั้ง, type A จำนวน 12 ครั้ง, ไม่ทราบ type จำนวน 20 ครั้ง และ not sample 1 ครั้ง

 

 

ส่งไม้ต่ออธิบดีกรมปศุสัตว์ใหม่ สานภารกิจป้องกัน ควบคุม กำจัดโรคระบาดสัตว์

 

ปี 2565 พบการระบาดของโรคจำนวน 55 ครั้ง ใน 21 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี หนองบัวลำภู หนองคาย นครราชสีมา มุกดาหาร ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง ตรัง กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช และสงขลา (ข้อมูลระบบ E-smart วันที่ 1 ม.ค.- 13 กันยายน 2565 ) กรณีแบ่งตามชนิดสัตว์ โคเนื้อ 28 ครั้ง, โคนม 25 ครั้ง และกระบือ 2 ครั้ง แบ่งเป็น type O จำนวน 16 ครั้ง, type A จำนวน 10 ครั้ง, ไม่ทราบ type จำนวน 14 ครั้ง และ รอผล จำนวน 15 ครั้ง

 

 

3. โรคลัมปี สกิน สถานการณ์การระบาดโรคลัมปี สกิน วันที่ 14 กันยายน 2565 พบสัตว์ป่วยใหม่ 29 ตัว รวมสัตว์ป่วยสะสม 3,485 ตัว สัตว์หายป่วยสะสม 9,698 ตัว และ สัตว์ตายสะสม 2,963 ตัว ผลการดำเนินงานฉีดวัคซีนโรคลัมปี สกิน รอบ 360,000 โด๊ส ดำเนินงานได้ 358,391 โด๊ส คิดเป็นร้อยละ 99.97 วัคซีนสูญเสียจำนวน 114 โด๊ส คิดเป็นร้อยละ 0.03 และ รอบ 5,000,000 โด๊ส (ข้อมูลวันที่ 9 มิถุนายน 65) ดำเนินงานได้ 4,985,042 คิดเป็นร้อยละ 99.75 วัคซีนสูญเสียจำนวน 12,658 โด๊ส คิดเป็นร้อยละ 0.25

 

ส่งไม้ต่ออธิบดีกรมปศุสัตว์ใหม่ สานภารกิจป้องกัน ควบคุม กำจัดโรคระบาดสัตว์

 

 

ส่วนในรอบจัดสรรวัคซีนเพื่อการควบคุมโรค 216,010 โด๊ส แบ่งเป็น วัคซีนเชื้อตาย (สทช.) จำนวน 190,000 โด๊ส (เดือนมิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคมและกันยายน) และวัคซีนเป็น จำนวน 26,010 โด๊ส ยอดการดำเนินการฉีดวัคซีน ณ วันที่ 13 กันยายน 2565 ดำเนินการได้ 49,797  โด๊ส คิดเป็นร้อยละ 43.86

 

 

4. โรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย ปี 2564 พบการระบาดของโรค 11 ครั้ง ใน 9 จังหวัด รวมพบสัตว์ป่วยตายจำนวน 55 ตัว เมื่อพิจารณาจำนวนการระบาดในปี 2564 เทียบกับปี 2563 พบว่ามีจำนวนครั้ง การระบาดลดลงร้อยละ 71.05 ปี 2565 พบการระบาดของโรค 7 ครั้ง ในกระบือ จำนวนสัตว์ป่วยตาย รวม 83 ตัว พื้นที่ที่พบโรคได้แก่ จังหวัดลำปาง บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และชัยภูมิ (ข้อมูลระบบ E-smart วันที่ 1 ม.ค.-31 สิงหาคม 2565)

 

 

5.โรคแบล็คเลก  ปี 2564 พบการรายงานโรค จำนวน 2 ครั้งในโคเนื้อ จำนวนสัตว์ป่วยตาย รวม 56 ตัว พื้นที่พบโรค ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอุตรดิตถ์ปี 2565 ยังไม่พบรายงาน

 

6. โรคบรูเซลลาปี 2564 พบการระบาดในแพะ จำนวน 67 ราย มีร้อยละของการตรวจพบโรคในฝูงคิดเป็น 5.81 ในแกะจำนวน 15 ราย มีร้อยละของการตรวจพบโรคในฝูงคิดเป็น 11.39 ในโคเนื้อ 24 ราย มีร้อยละของการตรวจพบโรคในฝูงคิดเป็น 11.63 ในโคนมจำนวน 9 ราย มีร้อยละของการตรวจพบโรคในฝูงคิดเป็น 4.51 และในกระบือ 8 ราย มีร้อยละของการตรวจพบโรคในฝูงคิดเป็น 17.12

 

ปี 2565 พบการระบาดในแพะ จำนวน 8 ราย มีร้อยละของการตรวจพบโรคในฝูงคิดเป็น 19.61 ในแกะจำนวน 2 ราย มีร้อยละของการตรวจพบโรคในฝูงคิดเป็น 5.60 และในโคเนื้อ 2 ราย มีร้อยละของการตรวจพบโรคในฝูงคิดเป็น 14.08

 

ส่งไม้ต่ออธิบดีกรมปศุสัตว์ใหม่ สานภารกิจป้องกัน ควบคุม กำจัดโรคระบาดสัตว์

 

7.โครงการสำรวจความชุกโรคบรูเซลลาในแพะและแกะปี 2564 จำนวนตัวอย่าง 18,019 ตัวอย่าง พบผลบวกจำนวน 75 ตัว คิดเป็นความชุกรายตัวร้อยละ 0.4162 จำนวนฟาร์ม 1,410 ฟาร์ม พบผลบวก 28 ฟาร์ม คิดเป็นความชุกรายฟาร์มร้อยละ 1.98 ปี 2565 จำนวนตัวอย่าง 1,487 ตัวอย่าง พบผลบวกจำนวน 30 ตัว คิดเป็นความชุกรายตัวร้อยละ 2.02 จำนวนฟาร์ม 105 ฟาร์ม พบผลบวก 3 ฟาร์ม คิดเป็นความชุกรายฟาร์มร้อยละ 2.86

 

8. โครงการเฝ้าระวังโรคพีพีอาร์ในแพะแกะการเฝ้าระวังภายในประเทศ ปี 2564 เป้าหมาย 5,000 ตัว ดำเนินการแล้ว 4,039 ตัว เป็นผลลบทั้งหมด และ ปี 2565 เป้าหมาย 1,000 ตัว ดำเนินการแล้ว 163 ตัว เป็นผลลบทั้งหมดการเฝ้าระวังในสัตว์นำเข้าจากประเทศเมียนมาร์ ปี 2564 เป้าหมาย 10,000 ตัว ดำเนินการแล้ว 9,076 ตัว เป็นผลลบทั้งหมด และ ปี 2565 เป้าหมาย 4,000 ตัว อยู่ในระหว่างการสรุปผล

 

9.โครงการกำจัดโรคข้ออักเสบและสมองอักเสบในฝูงแพะ ปี 2564 จำนวนตัวอย่าง 4,121 ตัวอย่าง พบผลบวกจำนวน 205 ตัว คิดเป็นความชุกร้อยละ 4.97 และ ปี 2565 จำนวนตัวอย่าง 500 ตัวอย่าง อยู่ในระหว่างการสรุปผล

 

ส่งไม้ต่ออธิบดีกรมปศุสัตว์ใหม่ สานภารกิจป้องกัน ควบคุม กำจัดโรคระบาดสัตว์

 

10.โรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรงสูง (HPAI) ได้แก่สายพันธุ์ H5N1 H5N2 H5N5 H5N8 H5 และ H7N3 โดยทั่วโลกมีการระบาดทั้งสิ้น 2,933 จุด พบใน ทวีปยุโรป 19 ประเทศ 1,977 จุด ทวีปเอเชีย 9 ประเทศ 424 จุดทวีปแอฟริกา 9 ประเทศ 192 จุด ทวีปอเมริกา 3 ประเทศ 340 จุด และ ชนิดรุนแรงต่ำ (LPAI)
 

ปี 65 ทั่วโลกยังไม่พบรายงานการระบาดเกิดขึ้น สำหรับการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้าน เกิดในประเทศเวียดนาม สายพันธุ์ที่พบ ได้แก่ H5N1 จำนวน 26 จุดการระบาด และ H5N8 จำนวน 18 จุด การระบาด โดยการระบาดล่าสุดที่พบคือเดือนมิถุนายน 2565 ประเทศที่ไทยประกาศชะลอนำเข้านำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีก ได้แก่ ฝรั่งเศส จีน ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา อินเดีย โปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ฮังการี ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ เวียดนาม และอินโดนีเซีย

 

ทั้งนี้ สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคนทั่วโลกปี 65 (1 ม.ค. 65 – 15 ก.ย. 65) พบใน จีน ทั้งหมด 17 ราย โดยพบการติดเชื้อของสายพันธุ์ H5N6 10 ราย, H9N2 4 ราย และ H3N8 3 ราย อังกฤษ โดยพบการติดเชื้อของสายพันธุ์ H5N1 1 ราย สหรัฐอเมริกา โดยพบการติดเชื้อของสายพันธุ์ H5 1 ราย และ ผลการเฝ้าระวังโรคเชิงรับในสัตว์ปีกของประเทศไทย ปี 2565 (ม.ค.-ก.ย.) ทั้งสิ้น 1,673 ราย พบโรคระบาดในสัตว์ปีก สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) Bacterial Infection ค 31 % 2) Parasitic roundworm infection 17 % และ 3) กลุ่มอาการ Pneumonia 14 % อื่นๆ เช่น Avian Infectious Bronchitis Marek's disease virusCoccidiosis เป็นต้น

 

11. โรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ในปี พ.ศ. 2565 ข้อมูล ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2565 มีจำนวนตัวอย่างส่งตรวจวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าทางห้องปฏิบัติการทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาค กรมปศุสัตว์ 7 แห่ง และสถานเสาวภา สภากาชาดไทย อ้างอิงจากระบบฐานข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า (Thai Rabies Net) ทั้งสิ้นจำนวน 3,452 ตัวอย่าง พบให้ผลบวกทางห้องปฏิบัติการจำนวน 152 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 4.4 ของจำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจทั้งหมด

 

ส่งไม้ต่ออธิบดีกรมปศุสัตว์ใหม่ สานภารกิจป้องกัน ควบคุม กำจัดโรคระบาดสัตว์

 

ในปี พ.ศ.2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 13 กันยายน 2565 พบสัตว์ให้ผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าต่อวันเฉลี่ยอยู่ที่ 0.6 ตัว/วัน และพบมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าจำนวน 1 ราย ในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมีข้อมูลสถานการณ์ของโรคพิษสุนัขบ้าย้อนหลัง ดังนี้ปี 2560 พบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ร้อยละ 9.86 คนเสียชีวิต 11 ราย พบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เฉลี่ยอยู่ที่ 2.3 เคส/วัน

 

ปี2561 พบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ร้อยละ 15.31 คนเสียชีวิต 18 ราย พบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เฉลี่ยอยู่ที่ 4 เคส/วัน ปี2562 พบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ร้อยละ 5.15 คนเสียชีวิต 3 ราย พบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เฉลี่ยอยู่ที่ 1 เคส/วัน ปี2563 พบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ร้อยละ 3.34 คนเสียชีวิต 3 ราย พบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เฉลี่ยอยู่ที่ 0.7 เคส/วัน

 

 

ส่งไม้ต่ออธิบดีกรมปศุสัตว์ใหม่ สานภารกิจป้องกัน ควบคุม กำจัดโรคระบาดสัตว์

 

ปี 2564 พบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ร้อยละ 3.49 คนเสียชีวิต 4 ราย พบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เฉลี่ยอยู่ที่ 0.6 เคส/วัน ปี 2565 พบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ร้อยละ 4.40 คนเสียชีวิต 1 ราย พบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เฉลี่ยอยู่ที่ 0.6 เคส/วันสัตว์ที่พบติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ในปี พ.ศ.2565 (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม –13 กันยายน 2565) พบเป็นสุนัขจำนวน 141 ตัว โค 9 ตัว และแมว 2 ตัว โดยพบว่าการพบโรคพิษสุนัขบ้าในโคมีสัดส่วนสูงขึ้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นการถูกกัด สัมผัสเชื้อ หรือติดโรคแพร่มากจากสุนัขที่ติดเชื้อ

 

ปัญหาการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ยังคงมีปัญหาหลักอยู่ในกลุ่มสุนัขจรจัดหรือสุนัขที่ไม่ทราบประวัติที่มา คิดเป็นร้อยละ 67 ของจำนวนสุนัขที่พบการติดเชื้อทั้งหมด โดยแบ่งเป็นกลุ่มสุนัขจรจัดที่มีความใกล้ชิดกับแหล่งชุมชนร้อยละ 26 และสุนัขจรจัดที่ไม่มีความใกล้ชิดกับแหล่งชุมชนหรือหาที่มาไม่ได้ร้อยละ 41 สุนัขที่พบโรคพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือไม่ทราบประวัติแน่ชัดในการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าสูงถึงร้อยละ 87 นอกจากนี้ยังพบว่ามีสุนัขบ้างส่วนที่พบโรคมีประวัติการได้รับวัคซีน แต่ขาดการฉีดกระตุ้นอย่างเหมาะสม ดังแสดงในภาพด้านล่าง

 

 

การพบโรคพิษสุนัขบ้าในปี พ.ศ.2565 ในประเทศไทย พบการระบาดในพื้นที่ 24 จังหวัดได้แก่ ชลบุรี 71 ตัวอย่าง, สงขลา 11 ตัวอย่าง, สมุทรปราการ 8 ตัวอย่าง, ระยอง 7 ตัวอย่าง, สระแก้ว 8 ตัวอย่าง, อุบลราชธานี 10 ตัวอย่าง, เชียงราย 4 ตัวอย่าง, ฉะเชิงเทรา 7 ตัวอย่าง, บุรีรัมย์ 3 ตัวอย่าง, สุรินทร์ 3 ตัวอย่าง, พะเยา 3 ตัวอย่าง, พัทลุง 3 ตัวอย่าง, ปทุมธานี 2 ตัวอย่าง, นครราชสีมา 1 ตัวอย่าง, ปราจีนบุรี 1 ตัวอย่าง, นครสวรรค์ 1 ตัวอย่าง, กรุงเทพมหานคร 1 ตัวอย่าง, นครศรีธรรมราช 1 ตัวอย่าง, จันทบุรี 1 ตัวอย่าง, อำนาจเจริญ 1 ตัวอย่าง, เลย 1 ตัวอย่าง, ประจวบคีรีขันธ์ 1 ตัวอย่าง สมุทรสงคราม 1 ตัวอย่าง และยโสธร 1 ตัวอย่าง ดังแสดงในภาพด้านล่างนี้