ข่าวดี เก็บกักน้ำเพียงพอใช้ ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566

06 ต.ค. 2565 | 17:46 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ต.ค. 2565 | 01:07 น.
1.1 k

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) นับถอยหลัง อีก 26 วัน สิ้นสุดฤดูฝน ข่าวดี เก็บกักน้ำเพียงพอใช้ ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566 อัพเดท เปิดรายชื่อ 26 เขื่อนทั่วประเทศไทย ล่าสุด ระดับน้ำวิกฤติเกิน 80% เตือน วันที่ 6-10 ต.ค. รับมือน้ำทะเลหนุนสูง โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) เปิดข้อมูล ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565  นับถอยหลังอีก 26 วันสิ้นสุดฤดูฝน ประมาณการความต้องการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งและช่วงต้นฤดูฝนของปี 2566 (อุปโภค-บริโภค การเกษตร และระบบนิเวศ )  จำนวน 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำเก็บกักเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งแล้ว

 

 

กรมชลประทาน รายงานสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ  (ข้อมูล วันที่ 6 ต.ค. 65) ขนาดใหญ่และขนาดกลาง ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 61,151 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 80 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 37,226 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 71) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2564 (52,636 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 69 ) มากกว่าปี 2564 จำนวน 8,515 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 1,154.06 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย 560.25 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 15,469 ล้าน ลบ.ม.

 

ข่าวดี เก็บกักน้ำเพียงพอใช้ ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 56,369 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 79(ปริมาตรน้ำใช้การได้ 32,832 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 69) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2564 (48,464 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 68) มากกว่าปี 2564 จำนวน 7,905 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 805.71 ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย จำนวน 228.51 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 15,080 ล้าน ลบ.

 

 

ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ (อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่) ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565 

 

ปี 2565 มีน้ำ 56,369 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 79%

 

ปี 2552 มีน้ำ 52,717ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 76% น้อยกว่า 2565 จำนวน 3,652ล้าน ลบ.ม. (ปี 2552 ยังไม่มีเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน)

 

ปี 2554 มีน้ำ 64,607ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 92% มากกว่าปี 2565 จำนวน 8,238ล้าน ลบ.ม.

 

 ปี2561 มีน้ำ 56,479ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 80% มากกว่าปี 2565 จำนวน 110 ล้าน ลบ.ม.

 

 ปี2564 มีน้ำ 48,462 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 68% น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 7,907 ล้าน ลบ.ม.

 

 

 

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)  เฝ้าระวัง น้ำทะเลหนุนสูง โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงวันที่ 6-10 ต.ค. 65

 

 

สภาพน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ระดับน้ำวิกฤติเกิน 80% มีทั้งหมด 26 แห่ง ดังนี้

 

1.เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล. ที่ตั้ง, ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

 

2.เขื่อนแม่กวงอุดมธารา ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

 

3. เขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง

 

4.เขื่อนกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง

 

5.เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก

 

6. อ่างเก็บน้ำแม่มอก จังหวัดลำปาง

 

7. เขื่อนห้วยหลวง ตั้งอยู่ใน ตำบลโคกสะอาด อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

 

8.เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

 

9.เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

 

10.เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์

 

11.เขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา

 

12.เขื่อนลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา

 

13.เขื่อนมูลบน จังหวัดนครราชสีมา

 

14.เขื่อนลำแชะ จังหวัดนครราชสีมา

 

15.เขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

 

16.เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

 

17.เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี

 

18.เขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี

 

19.เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี

 

20.เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี

 

21. เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก

 

22.อ่างเก็บน้ำคลองสียัด

 

23.อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี

 

24. อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล  จังหวัดระยอง

 

25.อ่างเก็บน้ำประแสร์  จังหวัดระยอง

 

26. อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา จังหวัดปราจีนบุรี