ถอดสูตร WHA - สยามพิวรรธน์ ตั้งรับวิกฤติพลิกทำกำไร

04 ต.ค. 2565 | 15:46 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ต.ค. 2565 | 23:10 น.

ผ่าเกมโควิด จรีพร-ชฎาทิพ พลิกธุรกิจรับโลกเปลี่ยน ดัน WHA - สยามพิวรรธน์ พลิกกำไร พร้อมลุยธุรกิจภาคต่อปรับแผน strategy-ตั้งรับการย้ายฐานลงทุน เชื่อไทยยังมีดีแนะรัฐคงความต่อเนื่องนโยบายหนุนธุรกิจไทยคว้าโอกาสหลังโควิด

ในช่วงวิกฤติโควิดที่ผ่านมากระทบทุกอุตสาหกรรมหากการประคับประคองธุรกิจให้อยู่เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถผู้บริหารแล้ว การพลิกธุรกิจให้กลับมามีกำไรกลับเป็นโจทย์หินที่ท้าทายฝีมือผู้บริหารหนักกว่า WHA และ สยามพิวรรธน์  2 ธุรกิจที่อยู่ภายใต้การบริหารของแม่ทัพหญิงอย่าง จรีพร จารุกรสกุลและชฎาทิพ จูตระกูล เป็น 2 ธุรกิจที่พิสูจน์ฝีไม้ลายมือของผู้นำอย่างยิ่งเพราะแม้ว่าจะเจอกับโควิดจนธุรกิจกระทบหลายส่วนแต่ยังสามารถพลิกฟื้นกำไรให้กลับมาได้ในเวลาอันรวดเร็ว

จรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

แม่ทัพหญิงแห่ง WHA อย่างจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผ่านงานสัมมนา Thailand Economic Outlook 2023 จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ว่า WHA ปัจุบันมีพอร์ตธุรกิจ 4 ธุรกิจหลักได้แก่ โลจิสติกส์ ,การพัฒนาอุตสาหกรรม,สาธารณูปโภคและพลังงานและแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งในช่วงโควิดมีบางธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ แต่WHA ยังสามารถบาล๊านซ์พอร์ตได้ดีและทำให้มียอดขายที่เติบโต 20%

 

โดยลูกค้าส่วนใหญ่กว่า  80% เป็นต่างชาติ ทำให้ที่ผ่านมา WHA เห็นมองเห็นเทรนด์และการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งภาพรวมเศรษฐกิจในหลายๆประเทศและพบว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าหรือEV ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะโตเต็มที่  แต่ปีที่ 5 จะเป็นจุดกระแทก ขณะที่โลจิสติกส์ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา e commerce เป็นที่พูดถึงและมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเมืองไทย และที่น่าสนใจคือตอนนี้ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุและค่าแรงแพง ดังนั้นโจทย์ใหม่ของ WHA คือการลดต้นทุนโลจิสติกส์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งตั้งรับการไหลของฐานทุนที่จะเข้ามาในประเทศ

 

ภาพโอกาสของโลจิสติกส์มีมากมายเราเริ่มมองภาพของ “กรีน โลจิสติกส์” และนิคมอุตสาหกรรมเมืองไทยยังเป็น destination ของการลงทุนต่างๆเมื่อเทียบกับเวียดนาม อินฟาซัคเจอร์ ประเทศไทยแข็งแกร่งกว่าเพื่อนบ้านเรา คนของเรามีสกิลจ๊อบเปอร์ที่ดีมาก แต่เราต้องมีการปรับ up skill reskill และ change skill แต่ทั้งสองประเทศสามารถที่จะเติบโตคู่ขนานกันได้ ดังนั้นการลงทุนของWHAจะใช้จุดแข็งของธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อน

 

“ประเทศไทยมีบุญเก่าที่ดีมาก เรามีecosystemที่แข็งแรงเรื่องรถยนต์ มีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์หมื่นกว่าราย แต่เทรนด์ของ EV จะค่อยๆ เปลี่ยน BYD ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของจีนกำลังเข้าลงทุน 20 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นบิ๊กดิลที่สะเทือนทั่วโลก และ BYDเลือกประเทศไทยเป็นที่ผลิตรถยนต์ EV นอกประเทศจีนเป็นที่แรก นอกจากนี้เรายังได้รับติดต่อบริษัทTop 10 ของเมืองจีนอีกหลายบริษัทซึ่งอยากให้เราสร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรม EV จีนเพื่อส่งออกทั่วโลก 

 

นี่หมายถึงโอกาสกำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทย เราต้องสร้าง connectivity เพื่อต่อยอดให้ SME และCorporate  นี่คือจุดเปลี่ยนของประเทศไม่ใช่แค่ผลิตและOEM แต่ เราสามารถที่จะสร้างแบรนด์เราเองได้หรือไม่EV เป็นเรื่องใหม่เพราะฉะนั้นจีนจึงโตได้เร็วเพราะทุกคนเริ่มต้นจากศูนย์เหมือนกัน สำหรับ WHA มองภาพการเติบโตในปีนี้ในระดับสูงเพราะเชื่อมั่นในกระแสการเคลื่อนย้ายฐานทุนค่อนข้างมาก

 

ผู้บริหารกล่าวต่อไปว่า ไม่เฉพาะเรื่อง EV เท่านั้นที่เป็นโอกาส แต่ยังมีเรื่องของน้ำและพลังงาน ทุนจีนต้องการพลังงานสะอาด 100% WHAมีโซล่าร์ มีธุรกิจพลังงานที่เวียดนามซึ่งรัฐบาลให้การสนับสนุน แต่ประเทศไทยเป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลจะสนับสนุนตลอดเวลา

 

“ภาครัฐและประชาชนจะต้องเดินไปด้วยกันและจะต้องมีความต่อเนื่อง ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลเราไม่ได้สนใจเรามองแต่เรื่องความต่อเนื่องอันไหนทำดีก็ควรที่จะต้องทำต่อ ประเทศไทยยังเป็นจุดหมายของการลงทุน เวลาที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนไม่ได้มองเรื่องการเมือง เพราะเวลาเราเปลี่ยนรัฐบาลเราไม่เคยไปยุ่งกับต่างชาติเลย เพราะฉะนั้นจึงนโยบายที่ดีก็ขอให้ทำต่อโดยเฉพาะเรื่อง EEC ขอให้ทำต่อเนื่อง”

ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด 

ขณะที่นางชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด  เปิดเผยว่า สยามพิวรรธน์อยู่คู่กับประเทศไทยผ่านวิกฤตการณ์ทุกรูปแบบ โดยเพาะทำเลสยามซึ่งเป็นสมรภูมิทางการค้าและสมรภูมิทุกชนิด ในช่วงโควิดสยามพิวรรธน์ได้รับผลกระทบเหมือนธุรกิจอื่น 

 

แต่จากเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ทำให้สามารถรับมือวิกฤติได้ดีและสร้างยอดขายปีนี้ในระยะ 9 เดือนเติบโตมากกว่าช่วงเดียวกันของก่อนโควิด ท่ามกลางโจทย์ใหญ่คือไม่มีนักท่องเที่ยวเลย ทั้งนี้สยามพิวรรธน์ ไม่ต้องการเป็นที่หนึ่งเรื่องของจำนวนศูนย์การค้า หรือเป็นที่หนึ่งเรื่องของพื้นที่ที่มากที่สุด แต่สยามพิวรรธน์ใช้กลยุทธ์  top of mine ซึ่งประกอบไปด้วย 

 

1เป็นที่หนึ่งในใจพันธมิตรทางธุรกิจ ห้างสรรพสินค้าของสยามพิวรรธน์ ไม่ใช่แค่ค้าขายแต่ยังเป็นแรงส่งแบรนด์และสร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรมากมาย โดยจับมือทั้งภาคและเอกชนทุก sector สร้างต้นแบบธุรกิจใหม่ๆ สร้างแบรนด์และสร้างการเติบโตให้ธุรกิจของผู้อื่น

 

2 ที่หนึ่งในใจผู้คน ไม่ใช่แค่เฉพาะคนไทยแต่เป็นของคนทั้งโลก ตอนนี้สยามพารากอนติดอันดับ 6 ของโลกสถานที่มีผู้เช็คอินมากที่สุดบน facebook  และเป็นของสถานที่ที่มีคนเช็คอินมากที่สุดบน instagram และได้รับการโหวตจากนักท่องเที่ยวจีนว่าเป็นศูนย์การค้าที่อยากมาที่สุด 

 

3 ที่หนึ่งในใจคู่ค้า สยามพิวรรธน์มีคู่ค้าในธุรกิจนับหมื่นราย สามารถช่วยทำให้ลูกค้าสร้างยอดขายเป็นที่หนึ่งของประเทศและติด top 10 ของโลก สร้าง traffic มากกว่า 100 ล้านคนต่อปี และ4 เป็น ที่ 1 ของโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นประเทศที่หนึ่งในใจของคนทั้งโลก ศูนย์การค้าคือตัวสำคัญที่จะก้าวออกไปและเป็นหนึ่งในแม่เหล็กที่จะดึงดูดคนทั้งโลกให้เข้ามาที่ไทย เพราะเราเป็น shopping paradise มาโดยตลอด 

 

“เราไม่ได้มีศูนย์ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศแต่เรามี 4 ศูนย์การค้าและ 1 luxury outlet mall แต่เราได้รับรางวัลชนะเลิศจากองค์กรต่างๆระดับโลกเช่นที่ 1 ด้านนวัตกรรมและการออกแบบ  ที่ 1 ในการปฏิวัติวงการค้าปลีกที่ 1 ทางด้านการตลาดและสร้างประสบการณ์ระดับโลก ,ที่ 1 ในการเป็นโครงการที่สนับสนุนธุรกิจรายย่อยที่ดีที่สุด ,ที่ 1 ในการเป็น green Leadership ,ที่ 1การพัฒนาความยั่งยืนและที่ 1 ด้านการสร้างจุดหมายปลายทางที่คนทั่วโลกอยากมา  ทั้งหมดนี้เป็น Strategy ที่เราใช้ในการสร้างธุรกิจของเรามาตลอด 63 ปี และใน 7 ปีที่ผ่านมายอดขายของเราเติบโต 5 เท่า บริษัทย่อยของเราเติบโตจาก 32 บริษัทขึ้นมาเป็น 48 บริษัท  และยังสามารถมี luxury outlet mall ออกมาได้ท่ามกลางวิกฤติโควิด”

 

ผู้บริหารเปิดเผยเพิ่มเติมว่า  หลังจากนี้ สยามพิวรรธน์ จะก้าวข้ามทุกความเปลี่ยนแปลงและทุกความท้าทาย สยามพิวรรธน์ไม่ได้กลัว Digital Transformationและเตรียมต่อมาตลอด 10 ปี สยามพิวรรธน์ไม่ได้ขายสินค้าแต่ขายคุณค่าและมอบประสบการณ์เหนือความคาดหมาย สิ่งที่สยามพิวรรธน์ทำคือจัดอีเวนต์มากกว่า 423อีเวนต์อย่างต่ำต่อปี เพื่อสร้างตลาดของตัวเองและสร้างวิธีการทำธุรกิจเพื่อEngage คน ภายใต้Strategyใหม่คือ above the ocean strategy 

 

“หลังจากนี้เราจะอยู่เหนือความเปลี่ยนแปลงโดยถอยตัวเองออกมาและมองธุรกิจในบริบทใหม่ ไม่มีกรอบ และเราจะปราศจากคู่แข่งแต่เปี่ยมไปด้วยพันธมิตรควบคู่กับการสร้าง eco system เพื่อความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าและร่วมกันอย่างยั่งยืน สร้างโลกใหม่ที่ไร้พรมแดน ไร้ข้อจำกัดและเปี่ยมด้วยโอกาสหลากหลายมิติ  เป็นการสร้างทุกอย่างใหม่หมดไม่มีกรอบ และเติบโตไปด้วยกันในอีโคซิสเต็มของคนที่มีวิสัยทัศน์เหมือนกันและครีเอทในสิ่งใหม่ๆ”