“Personnel supplement” สนามแข่งใหม่ร้านขายยา-อาหารเสริม

22 ก.ย. 2565 | 20:34 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.ย. 2565 | 03:56 น.

ร้านขายอาหาร-อาหารเสริม เปลี่ยนโจทย์การแข่งขันปั้นจุดขายใหม่ "Personnel supplement" บวก "Telemedicine " 3 Player Dii-ท็อปส์วีต้า-LAB Pharmacy วัดกำลังชิงกำลังซื้อ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าผลพวงจากวิกฤติโควิด ทำให้คนหันมาใส่ใจผู้บริโภคมากขึ้น นอกจากพื้นฐานที่ต้องมีติดบ้านแล้ว วิตมินและอาหารเสริมดูเหมือนจะกลายเป็นไอเท็มที่คนมองว่าสำคัญไม่แพ้กัน ทำให้ในช่วง2ปีที่ผ่านมาตลาดวิตามินและอาหารเสริมเติบโตอย่างก้าวกระโดดพร้อมๆกับการแข่งขันที่ดุเดือดมากยิ่งขึ้น

  “Personnel supplement” สนามแข่งใหม่ร้านขายยา-อาหารเสริม

ข้อมูลที่น่าสนใจจาก  EuroMonitor ระบุว่าใน ปี2559 ตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและวิตามินของประเทศไทย มีมูลค่า 53,810 ล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 74,247 ล้านบาท ในปี 2564 ขณะที่ข้อมูลจากการสำรวจของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขระบุเพิ่มเติมว่าในปี 2564มีครัวเรือนไทยที่บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกว่า 1.8 ล้านครัวเรือน โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 1,036 บาทต่อเดือน 

 

 

จากความเซ็กซี่ของมูลค่าตลาดมหาศาลนี้ ดึงดูดให้ผู้เล่นหน้าใหม่เข้าสู่ตลาดกันคึกคักทั้งในบทบาทเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์วิตามินและsupplement  ในขณะที่มีกลุ่มเข้ามาในบทบาทร้านค้าและแพลตฟอร์มการจำหน่าย และแน่นอนว่าเมื่อตลาดมีการแข่งขันที่สูงลิ่ว “จุดขาย” จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดึงดูดลูกค้าให้มาใช้จ่ายกับธุรกิจของตัวเองมากที่สุด และในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาคำว่า  “Personnel supplement” ถูกนำมาใช้เป็นคีย์เวิรดในการเรียกลูกค้าที่คุ้นหูคุ้นตากันมากขึ้น

“Personnel supplement” สนามแข่งใหม่ร้านขายยา-อาหารเสริม
ไม่ว่าจะเป็น Divana แบรนด์ Spa เบอร์ต้นขอไทย ที่สบช่องช่วงโควิดคลอดโพรดักซ์ “Personnel supplement” ภายใต้แบรนด์ DII ซึ่งผู้บริหาร   'ธเนศ จิระเสวกดิลก' ผู้ก่อตั้งและหนึ่งในหุ้นส่วนของ Divana Spa เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า ทั้งวิกฤติโควิด  โรคNCD หรือแม้แต่ออฟฟิศซินโดรมสท้อนให้เห็นภาพว่าเรื่องของสุขภาพไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นหัวใจสำคัญและเป็นความจำเป็นของความใช้ชีวิต

 

“ในช่วงโควิดเราได้รับผลกระทบมาก ธุรกิจสปาเป็นธุรกิจแรกที่ถูกให้สั่งปิดและเป็นธุรกิจเกือบสุดท้ายที่ถูกให้สั่งเปิด ซึ่งในช่วงนั้นเราได้ทำธุรกิจใหม่คือธุรกิจอาหารเสริมภายใต้แบรนด์ DII ที่เป็น“Personnel supplement” เพราะแต่ละคนมีปัญหาสุขภาพและความต้องการซัพลีเมนต์ที่ต่างกัน คอนเซ็ปต์ของเราคือออกแบบวิตามินและสารอาหารให้กับเฉพาะบุคคล  เป้าหมายสุดท้ายของDII supplement คือ  Wellness Kit at Home เราต้องการให้อาหารเสริมนี้เป็นวิตามินที่วางอยู่ใน ทุกบ้าน สามารถใช้ก่อนออกกำลังกาย เสริมความงาม ได้”

“Personnel supplement” สนามแข่งใหม่ร้านขายยา-อาหารเสริม

อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่น่าติดตามคือ กลุ่ม เซ็นทรัล รีเทล  คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ที่ก่อนหน้านี้ประกาศตัวว่าจะรุกเข้าสู่ธุรกิจ เฮลท์แอนด์ เวลเนส ซึ่งนอกจากมีร้านขายยา Top care เป็นของตัวเองแล้ว ล่าสุดยังเปิดตัว “ท็อปส์วีต้า” ร้านจำหน่ายวิตามินและอาหารเสริมครบวงจรและผู้เชี่ยวชาญด้านวิตามินและอาหารเสริม หนึ่งในธุรกิจล่าสุดภายใต้พอร์ต เฮลท์แอนด์ เวลเนส โดยมีเป้าหมายใหญ่ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ตลาดวิตามินและอาหารเสริมของไทย  และมียอดขายทะลุ 1,500 ล้านบาทภายในปี 2570

 

ทั้งนี้ CRC ได้วางโพชิชั่นนิ่งร้านท็อปส์วีต้า ในแผนกสุขภาพและความงามในท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต, เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และร้านท็อปส์แคร์ โดยเปิดให้บริการแล้วกว่า 20 สาขาทั่วประเทศ และจะขยายเพิ่มเป็น40 สาขาภายในสิ้นปีนี้และ150 สาขาภายในปี 2567

 

ทางด้านหัวเรือใหญ่อย่าง ไท จิราธิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการเงิน บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC กล่าวว่า  CRCเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในตลาด health and wellnessมูลค่า 2 แสนล้าน โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาที่มีโควิดตลาดนี้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดอาหารเสริมเติบโตประมาณ 10% ช่องทางที่เติบโตเร็วที่สุดคือช่องทางออนไลน์ CRCสร้างท็อปส์วีต้า เพื่อเป็นธุรกิจที่ขายวิตามินและอาหารเสริมที่เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ใส่ใจสุขภาพ และมองหาเวลเนส นอกจากนี้ในช่องทางออนไลน์เรายังมีแบบประเมินสุขภาพช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายกว่าช่องทางอื่น โดย “ท็อปส์วีต้า” เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ health and wellness ซึ่งเรามีหลายธุรกิจซึ่งกำลังเปิดตัวในเร็วๆนี้ 

 

“เราทำท็อปส์วีต้าขึ้นมาเพราะเทรนด์ health and wellness เป็นเทรนด์ชั้นนำที่ทุกบริษัทอยากทำ เราดึงจุดแข็งของ CRC ในเรื่องของการค้าขายและตั้งตัวเองเป็นศูนย์รวมวิตามินและอาหารเสริมที่ครบวงจรที่สุด นั่งอยู่ที่บ้านก็สามารถกดซื้อได้ เพราะคนคิดว่าการซื้อวิตามินค่อนข้างซับซ้อน แต่เราทำให้ง่ายโดยการทำแบบประเมินสุขภาพก่อนเพื่อแนะนำวิตามินและอาหารที่เหมาะกับแต่ละบุคคลและตรงกับเป้าหมายสุขภาพของแต่ละคนหรือการจัดสรร “Personnel supplement” ที่เหมาะกับสุขภาพของแต่ละบุคคล ”

  “Personnel supplement” สนามแข่งใหม่ร้านขายยา-อาหารเสริม

ทางด้านของ อินเตอร์ ฟาร์มา อีกหนึ่งผู้เล่นในตลาดร้านขายยาที่โลดเล่นในตลาดมานาน ล่าสุดนอกจากจะขยาย ร้านขายยาLAB Pharmacy  เป็นสาขาที่ 21 แล้วยังมาพร้อมกับการบริการแนะนำวิตามินและอาหารเสริมที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลซึ่งลูกค้าสามารถพูดคุยกับเภสัชกรและ วิตามินบัดดี้ที่ประจำร้านตลอด 24 ชั่วโมงผ่านทั้งช่องทางwalk in และ เทเลเมดิซีน นอกจากนี้ LAB นอกเหนือไปจากการดูแลสุขภาพของคนแล้ว จะขยายไลน์ไปยังผลิตภัณฑ์การดูแลสุขภาพเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง และสุดท้ายจะมีการเสนอบริการสุขภาพเฉพาะบุคคล (Personalized Health Services) พร้อมบริการส่งยา วิตามินและอาหารเสริมให้ลูกค้าถึงบ้านอีกด้วย ทั้งนี้ ดร. ตฤณวรรธน์ ธนิตนิธิพันธ์ ประเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์ ฟาร์มา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ความต้องการยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของผู้บริโภคยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร้านขายยาไม่ควรถูกตีกรอบ ด้วยการให้คำปรึกษาด้านยาเท่านั้น แต่ควรจะให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวันได้ด้วย ดังนั้น LAB Pharmacy จะเป็นร้านขายยาที่ดูแล "สุขภาพแบบองค์รวม" ที่ช่วยให้ลูกค้ามีสุขภาพกายและใจที่ดี ป้องกันโรค และชะลอวัย

 

และสาขานี้ยังถือเป็นสาขานำร่องในการเพิ่มโซนของ Pet Pharmacy เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่มักมีสัตว์เลี้ยงมาเติมเต็มชีวิต นอกจากนี้ ยังมีโซนของวิตามินเฉพาะบุคคล ทางเลือกของสุขภาพตามหลักการของ "เวชศาสตร์ชะลอวัย" อีกด้วย

 

“LAB Pharmacy จะมีจุดที่แตกต่างคือมีเภสัชกรอยู่ตลอดเวลาสามารถให้คำปรึกษาต่างๆได้ เราไม่ได้มุ่งเน้นในเรื่องของการรักษาอย่างเดียวแต่ยังมุ่งเน้นในเรื่องของการป้องกันโรคและชะลอวัย ซึ่งเราเองมีผลิตภัณฑ์ทางด้านชะลอวัยซึ่งถูกใช้ในศูนย์ชะลอวัยต่างๆ นอกจากนี้เราก็ยังมีเรื่องของระบบเทเลเมดิซีนผ่านคลินิกของเรา ซึ่งในอนาคตคาดว่าเราน่าจะมีบริการสุขภาพครบวงจรทั้งร้านขายยา คลินิกและโรงพยาบาล โดยเราวาง positioning ไว้ว่าจะเป็นร้านขายยาที่อยู่ในศูนย์การค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตระดับพรีเมี่ยม  

 

นอกจากนี้เรายังมีเรื่องของ Prt phamacy หรือร้านยาเฉพาะเจาะจงสำหรับสัตว์เลี้ยง เพราะว่าเทรนด์การเลี้ยงดูหมาแมวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสัตว์เลี้ยงก็ต้องการอาหารเสริมไม่ต่างจากคน และในโซนของวิตามินเฉพาะบุคคลเรามีเภสัชกรและวิตามินบัดดี้คอยให้คำปรึกษาได้ว่าวิตามินตัวไหนจำเป็น วิตามินตัวไหนไม่จำเป็น และลูกค้าสามารถสั่งซื้อและให้ส่งเคอรี่ไปถึงที่บ้านได้”

 

อย่างไรก็ตามผู้เล่นในสงคราม  “Personnel supplement” แม้ดูเหมือนไม่เยอะ แต่หากมองในมุมหนึ่ง “Personnel supplement” ก็ไม่ใช่บริการใหม่ แต่เป็นเหมือนกิมมิคที่ทำให้ร้านขายยา-อาหารเสริมมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าและทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่ายขึ้นกว่าเดิม ส่วนใครจะกินส่วนแบ่งการตลาดหรือชิงยอดขายได้มากกว่ากัน ก็คงต้องรอดูฝีไม้ลายมือของแต่ละแบรนด์กันอีกสักพัก