ฉมา แอ็สเซ็ท เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จากสมุนไพรไทยออร์แกนิค ภายใต้แบรนด์ “ฉมา” เผยสมุนไพรไทยมีโอกาสเติบโตได้อย่างยั่งยืนทั้งในและต่างประเทศ สัญญาณดีรัฐบาลเดินเครื่องสนับสนุน เผย 3 ความท้าทายที่ผู้ประกอบการธุรกิจสมุนไพรไทยต้องรู้ เพื่อพลิกเกมสร้างโอกาสปั้นแบรนด์ให้มีความยั่งยืน คือ 1. มาตรฐานการผลิต 2. การขออนุญาต และ 3. ความรู้ความเข้าใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับยาสมุนไพร
ชี้การสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอางจากสมุนไพร ต้องควบคุมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ คือรู้แหล่งที่มาของสมุนไพร เน้นคุมคุณภาพตามมาตรฐานสากลของวัตถุดิบ สามารถสืบย้อนกลับได้ เสริมด้วยองค์ความรู้จากเภสัชแผนไทยที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และสนับสนุนด้วยงานวิจัยจากบุคลากรทรงคุณวุฒิภายในประเทศพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค
ด้านผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลหรือปรึกษาแพทย์แผนไทยเพื่อการใช้สมุนไพรที่ถูกต้องและได้ประโยชน์สูงสุด มั่นใจสมุนไพรไทยมีโอกาสก้าวเป็นผู้นำในตลาดโลกและเติบโตได้อย่างยั่งยืน
นางสาวปรินดา ตั้งพิรุฬห์ธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฉมา แอ็สเซ็ท จำกัด และหนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัท ไทยฮา จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทผู้ผลิตสินค้าตรา "เกษตร" ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์การเกษตร หนึ่งในผู้ผลิตและส่งออกอาหารรายใหญ่ของไทย เปิดเผยว่า สมุนไพรไทยยังมีโอกาสและมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในตลาดประเทศไทยและตลาดโลก เนื่องจากผู้บริโภคทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับการใช้สมุนไพรเป็นหนึ่งในตัวเลือกเพื่อดูแลรักษาสุขภาพ ทั้งในเชิงป้องกัน และเชิงการรักษา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากธรรมชาติ สมุนไพรออแกนิค
ประกอบกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านมา ทำให้สมุนไพรไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้นทั่วโลกจากการนำฟ้าทะลายโจรมาเป็นหนึ่งใน ทางเลือกของการดูแล ประกอบกับปัจจุบันภาครัฐมีนโยบายพร้อมผลักดันสมุนไพรไทยสู่สมุนไพรโลก โดยมีเป้าหมายยกระดับการแข่งขันของสมุนไพรตามยุทธศาสตร์ชาติ ที่ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรและยา เพื่อการดูแลปัญหาสุขภาพ
ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ ที่ต้องเริ่มจากการพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน การพัฒนาและสนับสนุนงานวิจัยสมุนไพร พัฒนาคุณภาพโรงงานผลิต สู่มาตรฐาน Good Manufacturing Practice หรือ GMP เพื่อเป้าหมายการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้ไทยเป็นผู้นำการส่งออกสมุนไพร และให้ตลาดสมุนไพรไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด
อย่างไรก็ดีจากการทุ่มเทปลู กและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุ นไพรมานานกว่า 10 ปีฉมา แอ็สเซ็ท พบว่าผู้ประกอบการธุ รกิจสมุนไพรไทยต้องเผชิญกับ 3 ความท้าทาย ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จากสมุนไพรไทย เพื่อขับเคลื่อนสู่ธุรกิจ ประกอบด้วย
1. มาตรฐานการผลิต นับเป็นจุ ดเริ่มต้นสำคัญที่มีผลกั บมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ซึ่งแบรนด์สมุนไพรจะต้องผ่ านการรับรอง FMP หรือ Fundament al Manufacturing Practice สำหรับในประเทศ ก่อนจะไปสู่ขั้นตอนการขอรั บรองมาตรฐาน GMP หรือ Good Manufacturing Practice สำหรับอาเซียน และมาตรฐานการผลิตอื่น ๆ
2.การขออนุญาต ในส่ วนนี้มีกระบวนการและขั้นตอนที่ ใช้เวลา ตั้งแต่การยื่นเอกสารขอผลิตยาตั วอย่าง หรือ ยบ.8 การรับเอกสารขอผลิตยาตั วอย่าง การผลิตยาตัวอย่างเพื่อส่ งยาตรวจวิเคราะห์เชื้อตามประกาศ อย. ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ การส่งเอกสารคำขอขึ้นทะเบียน (ทบ.1) พร้อมผลตรวจเชื้อ และตัวอย่างยา เข้ากองผลิตภัณฑ์สมุนไพร การแก้ไขเอกสารที่มีข้อบกพร่ องตามคำแนะนำจากที่เจ้าหน้าที่ การส่งประเมินวิชาการโดยผู้เชี่ ยวชาญ ก่อนที่จะได้รับใบสำคัญ (ทบ. 2) และการขออนุญาตใบอนุญาตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เช่น ฆอ. เพื่อการขออนุญาตโฆษณา และอื่น ๆ ทั้งนี้ หากสามารถเปิดให้มีการลงทุนพั ฒนานวัตกรรมการผลิตสมุนไพรไทย จะส่งเสริมให้เกิดประโยชน์กับสั งคมและประเทศเป็นอย่างมาก
3.ความรู้ความเข้าใจของผู้บริ โภคเกี่ยวกับยาสมุนไพร แม้สมุ นไพรจะใช้ได้ผลและมีการบรรเทา ดูแล รักษา ในประเทศไทยมารุ่นต่อรุ่นสื บทอดต่อเนื่องกันมาร้อยหลายปี แต่ปัจจุบันยังต้ องการเอกสารงานวิจัยรองรับที่ชั ดเจน ส่งผลให้สร้างความรู้ความเข้ าใจในการใช้สมุนไพรไทยสำหรับผู้ บริโภค ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย
แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีกรมการแพทย์แผนไทย เป็นหน่ วยงานกลางในรวบรวมตำรับยาสมุ นไพรไทยหน่วยงานหลักที่สำคั ญในการส่งเสริมพัฒนาวิจัย จัดระบบความรู้ พัฒนาแหล่งผลิตและผลิตภัณฑ์สมุ นไพร คุ้มครอง อนุรักษ์ และส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานการบริการการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อนําไปใช้ในระบบบริการสุ ขภาพ อย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นทางเลือกให้แก่ ประชาชนในการดูแลสุขภาพ
นางสาวปรินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า หากผู้ ประกอบการสามารถก้าวข้ามความท้ าทายเหล่านี้ ด้วยการดำเนินการได้จนครบ แม้จะใช้เวลา แต่ก็จะเป็นการสร้างโอกาส สร้ างแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอางจากสมุนไพรให้ สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน หัวใจสำคัญคือการควบคุมคุณภาพตั้ งแต่วัตถุดิบ รู้แหล่งที่มาของสมุนไพร เพื่อคุณภาพตามมาตรฐานสากลของวั ตถุดิบ ใช้องค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภั ณฑ์และผลิตจากโรงงานที่ได้ มาตรฐาน รวมทั้งมีช่องทางจำหน่ายเพื่อส่ งมอบผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพถึ งมือผู้บริโภค ขณะที่ผู้บริโภคควรศึ กษาประโยชน์และสรรพคุณของสมุ นไพร รวมทั้งรับคำปรึกษาจากแพทย์ แผนไทย เพื่อการใช้สมุนไพรที่ถูกต้ องและได้ประโยชน์สูงสุด
“สำหรับ ‘ฉมา’ มีแรงบั นดาลใจในการเข้าสู่ตลาดผลิตภั ณฑ์อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จากแบรนด์สมุนไพรไทยชื่อดังอย่ าง ‘อภัยภูเบศร’ ผู้บุกเบิ กและสร้างมาตราฐานยาสมุ นไพรไทยตามมาตราฐาน PICS เพื่ อทดแทนการใช้ยานำเข้าจากต่ างประเทศ สามารถพึ่งพิงตนเอง และลดการเสียเงินตราในประเทศ รวมถึง ‘มูลนิธิอภัยภูเบศ’ ส่ งเสริมการปลูกสมุนไพรกับกลุ่ มชาวบ้านเพื่อการสร้างงาน และเป็นการสร้างวิถีชุมชนอย่ างยั่งยืนตลอดมา
โดย ‘ฉมา’ มุ่งมั่นจะเป็น 1 ในแ บรนด์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยออร์ แกนิคจากธรรมชาติ ที่เข้ามาช่วยกันยกระดับตลาดสมุ นไพรไทยให้เติบโต เพิ่มทางเลือกใหม่เพื่อตอบโจทย์ เทรนด์สุขภาพองค์รวมให้ผู้บริ โภค ด้วยการนำจุดแข็งของ ‘ฉมาฟาร์ มออร์แกนิค’ มาตรฐานสากลกว่า 10 0 ไร่ ที่เน้นควบคุมคุณภาพวัตถุดิบตั้ งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ด้วยการปลูกพืชผักสมุ นไพรตามมาตรฐานออร์แกนิคสากล เพื่อวัตถุดิบสมุนไพรที่ดีสำหรั บการผลิตภัณฑ์อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง มีการทำงานร่วมกับแพทย์ แผนไทยเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐาน FMP รวมทั้งจะยื่ นตรวจมาตรฐาน GMP ภายในปี 2565“ นางสาวปรินดากล่าวทิ้งท้าย