PRINC ดึงโมเดล“ไคโก โดะ” ผุดศูนย์ PNKG รองรับสังคมสูงวัย

22 ส.ค. 2565 | 16:49 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ส.ค. 2565 | 03:12 น.

เทรนด์เปลี่ยนคนรุ่นใหม่เร่งเก็บเงินวางแผนเกษียนอายุการทำงานเฉลี่ย 45 ปี ขณะที่คนรุ่นเก่ายังตั้งเป้าเกษียนอายุ 60 ปีเท่าเดิม PRINC ผุดโมเดล PNKG รองรับสังคมสูงวัย แนะไทยควรมีสิทธิการรักษาผู้ป่วยหลังเกษียน ชี้ปัจุบันผู้ป่วยควักกระเป๋าจ่ายเอง

นายธานี มณีนุตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) (PRINC)  เปิดเผยผ่าน Health & Wealth Forum : สร้างสุขก่อนสูงวัย อยู่ดี สุขภาพดี การเงินดี ว่า สิ่งที่คนเราหนีไม่พ้นก็คือความแก่ชรา คนหนุ่มสาวในวันนี้จะต้องก้าวเข้าสู่วัยชราในอนาคต

นายธานี มณีนุตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) (PRINC)

ในอดีตจะมีคำว่าจากคนรุ่นลูกรุ่นหลานว่าอยากให้ผู้ใหญ่ในบ้านนั่งกิน นอนกิน อย่างสุขสบาย แต่จริงๆแล้วผู้สูงวัยควรต้องการที่จะเดินไปกินเอง ไม่ใช่นั่งกิน นอนกิน เพราะการที่มีสุขภาพแข็งแรงสามารถเดินทานอาหารหรือไปกินในสิ่งที่อยากไปกินเองได้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดในชีวิต 

 

เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้คนรุ่นใหม่อยากจะเกษียณอายุเร็วขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเด็กรุ่นใหม่ หรือสตาร์ทอัพเองต้องการเก็บเงินและเกษียณอายุในวัย 45-50 ปี แต่คนรุ่นเก่ายังต้องการเกษียณอายุ 60 ปี เพราะคิดว่าการเกษียณอายุจะเป็นการหมดคุณค่าของตัวเอง แต่จริงๆแล้วการเกษียณอายุเป็นจุดเริ่มต้นของการที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข 

PRINC ดึงโมเดล“ไคโก โดะ” ผุดศูนย์ PNKG รองรับสังคมสูงวัย

“เราย้อนไปดูประเทศเพื่อนบ้านของเราเช่นประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะเกาะโอกินาว่า ประชาชนอายุยืนมากบางคนมีอายุถึง 120 ปี ทางประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมสูงวัยตั้งแต่ปี 2010 ก่อนประเทศไทย 20 ปี  ซึ่งตอนนี้คนทำงานมีปริมาณที่ลดลงเรื่อยๆขณะที่กลุ่มคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆทำให้มีศาสตร์การดูแลผู้สูงอายุอย่างยาวนาน  ประเทศไทยก็กำลังจะเข้าสู่ aging society เช่นเดียวกัน 

 

จากการวิจัยพบว่าที่โอกินาว่ามีสิ่งที่พิเศษ 3 สิ่งคือเรื่องของอาหารการกิน ไลฟ์สไตล์และสิ่งแวดล้อมอากาศดีและมลภาวะเป็นศูนย์จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้คนในจังหวัดนี้อายุยืนยาว ในขณะที่เรื่องของการดูแลฟื้นฟูผู้สูงอายุมีความสำคัญ ที่ประเทศญี่ปุ่นถึงแม้ว่าจะมีการดูแลสุขภาพต่างๆแล้วก็ยังมีโอกาสเป็นโรคเพราะฉะนั้นในประชากรที่เป็นเส้นเลือดในสมองอุดตัน เขาจะมีการบริบาลการรักษาที่ดี

 

ซึ่งเราได้ร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่นชื่อนิปปอน เคอิ กรุ๊ป ซึ่งมีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุโดยใช้ศาสตร์เฉพาะทางที่ชื่อว่า “ไคโก โดะ” ซึ่งประกอบด้วย 4 เรื่องด้วยกันเรื่องแรกคืออิคิไก ผู้ป่วยที่ติดเตียงหรือเป็นสโตรกจะมีภาวะติดเตียงและแขนขาดเป็นอัมพาต เพราะฉะนั้นการกลับมาฟื้นฟูพลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญ  2 คือเรื่องของการทำงานเป็นทีม เรามีสหวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญทั้งในไทยและญี่ปุ่นเข้ามาร่วมดูแลคนไข้  3 พึ่งพาตัวเองเป็นหลัก มีการฝึกให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองเพราะคุณค่าของคนคือการช่วยเหลือตัวเอง  ซึ่งที่ศูนย์ PNKG ของเราได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญเข้ามาใช้ร่วมกัน  เรื่องสุดท้าย motor  learning การเรียนรู้ผ่านสิ่งต่างๆที่เคยทำได้เพื่อให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้ยิ่งฟื้นฟูเร็วเท่าไหร่กันกลับไปใช้ชีวิตอย่างปัจจุบันที่สุดได้เร็ว”

 

นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการกทม. เองต้องการให้มีการผลักดันสิทธิการรักษาฟื้นฟูผู้สูงอายุ เพราะปัจุบันประเทศไทมีสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรคซึ่งไม่ได้ครอบคลุมเรื่องเหล่านี้ เพราะฉะนั้นผู้ป่วยที่เข้ามารักษาจะใช้สิทธิ์ประกันส่วนตัวและออกค่าใช้จ่ายเองซึ่งมีค่าใช้จ่ายพอสมควร ดังนั้น Health is wealth หลังเกษียณอายุควรจะต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญเพราะถ้าสุขภาพไม่ดี เงินเก็บเท่าไหร่ก็ไม่พอถ้าต้องการจะมีชีวิตยืนยาวต่อไป

 

“ในประเทศไทยโอกาสที่ผู้ป่วยสโตรกจะเข้าถึงการดูแลยังมีน้อยและจำนวนเคสที่เข้ามาในระบบยังน้อยเพราะส่วนมากคนไข้เข้าระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคจบการรักษาที่โรงพยาบาลแล้วกลับบ้านบ้าน ซึ่งเฟสหลังจากนี้เป็นสิ่งสำคัญก็คือเป็นเรื่องของการฟื้นฟูแต่ประเทศไทยยังไม่ได้ครอบคลุมถึงตรงนี้หรือมีก็มีน้อยมากๆเพราะฉะนั้นจำนวนเคสที่เข้ามาในระบบให้นักกายภาพของไทยเข้าไปฝึกฝนจึงน้อยมากทำให้ไม่ได้ฝึกปฏิบัติจริงเรียนรู้แต่ทฤษฎี 

 

แต่ประเทศญี่ปุ่นสวัสดิการแห่งรัฐค่อนข้างดี ทุกเคสที่เกิดสโตรกมีการดูแลฟื้นฟูและรัฐบาลให้การสนับสนุนทั้งหมด เพราะฉะนั้นปริมาณเคสที่เข้ามาในระบบที่จะเป็นแหล่งฝึกฝนของนักศึกษามีจำนวนมากทำให้เกิดองค์ความรู้ นอกจากนั้นเป็นเรื่องของการดูแลร่วมกันซึ่งหลายๆวิชาชีพเช่นนักกายภาพ นักกิจกรรม นักโภชนาการจะเข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยร่วมกันแต่ประเทศไทยจะต้องรับคำสั่งจากแพทย์คนเดียว”