บิ๊กชาเลนจ์ ‘ทีวี ธันเดอร์’ สร้างตัวตนใน international market

01 พ.ค. 2565 | 15:12 น.
อัปเดตล่าสุด :01 พ.ค. 2565 | 22:36 น.

เปิดยุทธศาสตร์ “ทีวี ธันเดอร์” เร่งเครื่องกลยุทธ์ content to connect ปั้นคอนเทนต์ เกมโชว์ ละคร ซีรีย์ดราม่า Vlog จับมือพาร์ทเนอร์บูมธุรกิจใหม่ virtual production - content solution กระจายความเสี่ยงธุรกิจหลัก ปูทางลุย international market

พิษโควิดส่งผลกระทบต่อทุกธุรกิจ รวมถึงธุรกิจสื่อ ต่อเนื่องจาก 2 ปีกก่อนจนถึงปีนี้ ที่คาดว่ามูลค่าสื่อโฆษณาโดยรวมยังคงไม่ได้แตกต่างจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากแบรนด์ยังคงระมัดระวังในการใช้เงิน เพราะฉะนั้นตัวเลข advertising spending คงไม่ได้ต่างจากปีก่อน ทำให้หลายธุรกิจยังคงต้องตั้งการ์ดรับ รวมถึง “ทีวี ธันเดอร์” ก็เช่นกัน เมื่อธุรกิจหลักยังคงเป็นการสร้างคอนเทนต์

 

นายณฐกฤต วรรณภิญโญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กลยุทธ์การทำตลาดของทีวี ธันเดอร์จะเน้นการทำ content to connect คือการทำ content ที่ connect กับ Target เพราะปัจจุบันมีแพลตฟอร์มเกิดขึ้นจำนวนมาก โดยทีวี ธันเดอร์จะทำคอนเทนต์บน 3 แพลตฟอร์มหลัก คือทีวี, OTT (AIS play, disney plus) และ social media (Fcebook, YouTube) โดยพิจารณาจาก Target เป็นสำคัญ

              

“คอนเทนต์ทั้ง 3 ส่วนที่เป็นแพลตฟอร์มใหญ่ๆ แต่ละแพลตฟอร์มมีฐานผู้ชมต่างกัน สไตล์และเทสต์ก็ต่างกันเราทำ content มานานสิ่งสำคัญในการทำ content ที่ผ่านๆมา สิ่งที่ไม่เปลี่ยนไปเลย ก็คือการดูว่าเราสื่อสารกับใคร เมื่อก่อนเราสื่อสารกับคนที่ดูทีวีเป็นหลัก พอมีแพลตฟอร์มใหม่เข้ามาเราก็ต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น

ทีวี ธันเดอร์

วันนี้เรามีความเข้าใจ รู้ว่าเทสต์ของคนดูแต่ละแพลตฟอร์มแตกต่างกันอย่างไร เพราะฉะนั้นในคอนเซ็ปต์ content to connect ของคอนเทนต์ที่อยู่บนแต่ละแพลตฟอร์มจะแตกต่างกันหมดเลยไม่ใช่ 1 คอนเทนต์ แต่ไปอยู่ทุกแพลตฟอร์ม”

              

แผนการวางคอนเทนต์ในแต่ละแพลตฟอร์ม สำหรับแพลตฟอร์มทีวี หัวใจสำคัญคือ ย่อยง่าย ไม่ซับซ้อนมาก เช่น รายการเกมโชว์ และละคร ส่วนแพลตฟอร์ม OTT จะนำเสนอคอนเทนต์ที่มีความเข้มข้น เรียลและลึก โดยใช้ประเด็นทางสังคมบางอย่างเข้าไปใส่ด้วย เช่นซีรีย์/ดราม่า เนื่องจากออร์เดี้ยน เป็นกลุ่มคนเมืองรุ่นใหม่ที่มีความเป็นแมส และโซเซียลมีเดีย

 

ออร์เดี้ยนหลักๆมีความคล้ายกับทีวี ปัจจุบันบริษัทโฟกัส facebook และ YouTube เป็นหลักโดยใช้คอนเทนต์บนทีวีมาเผยแพร่ต่อ รวมทั้ง Vlog ตามติดชีวิตดารา และในอนาคตจะขยายไปสู่การทำ content ที่ connect กับคนบน social media ในรูปแบบอื่น รวมทั้ง project content บน TikTok ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างปลุกปั้น

  ทีวี ธันเดอร์              

นอกจากการทำ content to connect แล้ว “ทีวี ธันเดอร์” ยังให้ความสำคัญกับพาร์ทเนอร์ชิพ โดยในไตรมาสแรกบริษัทได้จับมือกับพาร์ทเนอร์หลายรายไม่ว่าจะเป็น AIS ที่ทำงานร่วมกันมานาน และ Workpoint พาร์ทเนอร์ล่าสุดที่เพิ่งจะทำงานร่วมกันในการทำรายการ “แฟนกัน 1 DAY” และละครโรแมนติกคอมเมอดี้ “แม่สื่อโลโซ” และในไตรมาสที่ 2 นี้ ทีวี ธันเดอร์มีแผนที่จะเปิดตัว virtual production ซึ่งเป็นการจับมือกับพาร์ทเนอร์เช่นเดียวกัน

              

“เชื่อว่าพาร์ทเนอร์ชิพเป็นสิ่งที่ทำให้เราทลายกำแพงไปทำสิ่งที่เราไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองคนเดียว กุญแจสำคัญคือการที่เราจะพาร์ทเนอร์ชิพกับใคร ก็คือ สิ่งที่เรามีกับสิ่งที่เขามีจะเสริมกันอย่างไร ทีวี ธันเดอร์มีความเข้าใจในเรื่องของคอนเทนต์และมีสตูดิโอ 6 สตูดิโอ และทำ virtual studio เพิ่มเข้ามา หลักๆจะเป็นเทคโนโลยีที่ยังไม่ค่อยมีคนทำ เพราะ virtual ปกติก็จะทำบน green screen ขีดจำกัดคือคน คนจะขยับบนกรีนสกรีนได้เฉพาะจุดที่ถูกกำหนดไว้แล้ว

              

แต่สำหรับ virtual studio คนที่อยู่บนจอสามารถที่จะเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ในอนาคตจะทำ virtual content ซึ่งกำลังดูว่าอาจจะมีรายการที่ใช้ virtual production เข้าไปเป็นเนื้อหาใหม่ๆ และถ้าวันหนึ่งเราสามารถทำ virtual content ได้เป็นอย่างดี เมื่อเมทาเวิรส์สมาทีวี ธันเดอร์เองก็พร้อมที่เข้าไป”

              

สำหรับไตรมาส 3 ทีวี ธันเดอร์มีแผนร่วมทุนกับพาร์ทเนอร์บริษัท digital agency ในการทำ content solution โดยคอนเซ็ปต์การทำงานหลักคือ การทำคอนเทนต์ที่คัทตอมไมซ์ให้กับแบรนด์โดยเฉพาะ เช่น คอนเทนต์สั้นๆบน TikTok ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้ซีรีย์หนึ่งเรื่องที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อแบรนด์นั้นๆโดยเฉพาะและซีเรียสไม่ได้เน้นที่จะขายของเพราะแบรนด์ต้องการให้เกิด emotion connect ระหว่างลูกค้ากับตัวแบรนด์โดยใช้ series เป็นเวอร์ติคอล

ณฐกฤต วรรณภิญโญ               

“เราพยายามที่จะสร้าง คอนเทนต์ที่เป็นโซลูชันให้กับแบรนด์โดยเฉพาะ ซึ่งเราก็หวังว่ามันจะสามารถเติบโตได้ สำหรับช่องทางการเผยแพร่แล้วแต่โจทย์ของลูกค้าว่าต้องการที่จะไปออกแพลตฟอร์มไหนไม่ว่าจะเป็น channel ของ “ทีวี ธันเดอร์” หรือว่า influencer อื่นๆ ก็ตาม เพราะสุดท้ายแล้ว content to connect เราก็ต้องเข้าใจปลายทางของคอนเทนต์ ให้ดีก่อนว่าจะไปคุยกับใคร ถ้าคุยผิดคนเขาก็ไม่อยากคุยกับเรา

              

สำหรับเป้าการเติบโตปีนี้ บริษัทตั้งเป้าเติบโต 10- 15% แต่ดูจากสถานการณ์ถ้าหากสามารถทำได้ 10% ก็น่าดีใจแล้วแต่ 15% ก็ชาเลนจ์พอสมควรเพราะรายได้หลักของบริษัท 40% มาจาก เม็ดเงินโฆษณาบนช่องทีวีซึ่งถูกกระทบมาก เพราะฉะนั้นจึงเป็นชาเลนจ์ว่าจะทำให้อยู่ในระดับ 40% นี้ได้อย่างไร

              

“ณฐกฤต” ยังบอกอีกว่า เป้าหมายใหญ่ของ “ทีวี ธันเดอร์” ในอนาคต คือต้องการบุกตลาดต่างประเทศเพื่อสร้างตัวตนที่ชัดเจนในตลาด international market เพราะเชื่อว่าตลาดธุรกิจสื่อ/คอนเทนต์มีไซส์ที่จำกัด ทางเดียวที่ทีวี ธันเดอร์จะสร้างการเติบโตต่อในบริบทใหม่ คือ ต้องไปเติบโตต่างประเทศ

              

“ตลาดที่เมืองไทยมันมีไซส์จำกัด ขณะที่ธุรกิจเป็น global market แล้วแต่เรายังก้าวขึ้นไปไม่ถึง เพราะฉนั้นเป้าหมาย 3-5 ปี เป้าหมายแรกคืออยากให้ “ทีวี ธันเดอร์” มีตัวตนที่ชัดเจนในตลาด international market ตอนนี้เราอยู่ในประเทศไทยเป็นหลักมากว่า 20 กว่าปี และเป็นที่รู้จักในระดับหนึ่ง แต่สำหรับ international market แทบจะไม่มีใครรู้จัก ที่ผ่านมาเราทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ต่างชาติหลายคนแต่หลักๆ เราเป็นอิมพอร์ตเตอร์คือเราซื้อเขา ยังไม่ค่อยมีเขาซื้อเราแต่ Workpoint เขาขายไปได้หลายรายการแล้ว

 

ตอนนี้เราเริ่มเป็นผู้ส่งออกไลน์เซ่นซีรีย์/ดราม่า มา 2-3 ปีแล้วหลักๆ จะเป็นซีรีย์ที่อยู่บน OTT ไปญี่ปุ่นได้ 4 เรื่อง เป้าหมายคือ อยากเป็นเบอร์ 1 ผู้ผลิตคอนเทนต์บน OTT ที่ผู้คนพูดถึงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งก็อาจจะต้องใช้เวลาในการเดินทาง เรายังคงจะต้องยืนให้แข็งแรงในทุกขาที่เป็นการผลิตคอนเทนต์ไม่ว่าจะเป็น content creator หรือ content producer”

 

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,779 วันที่ 1 - 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565