อสมท. อวดผลประมูลคลื่นวิทยุเป็นไปตามเป้า

22 ก.พ. 2565 | 16:07 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ก.พ. 2565 | 23:38 น.

อสมท. ทุ่มประมูลคลื่นวิทยุระบบเอฟเอ็มสูงสุด 55 คลื่น เผยผลการประมูลเป็นที่น่าพอใจโดยเสนอราคาสูงสุด ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 6 คลื่น

หลังจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้เปิดประมูลคลื่นวิทยุเอฟเอ็ม จำนวน 71 คลื่นความถี่  ผู้ประกอบการจำนวน 30 บริษัทเข้าร่วมประมูลเมื่อวันที่  21 กุมภาพันธ์ 2565 โดยแบ่งการประมูลออกเป็น 2 รอบ

อสมท. อวดผลประมูลคลื่นวิทยุเป็นไปตามเป้า

ในการประมูลรอบแรกราคาตั้งต้นอยู่ที่ 390 ล้านบาท ราคาสุดท้ายจบที่ 443 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% หลังจากผู้เสนอราคาสุดท้ายสูงสุด กสทช.จะนำเสนอบอร์ดพิจารณาในวันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อให้บอร์ด กสทช.รับรองผู้เสนอราคาสุดท้ายสูงสุด หลังจากนั้นออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะประมูล โดยใบอนุญาตมีระยะเวลา 7 ปีส่วนอีก 3 รอบ สถานีส่วนใหญ่อยู่ที่พื้นที่ต่างจังหวัดเป็นหลัก 

รศ. เกษมศานต์  โชติชาครพันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยหลังเสร็จสิ้นการเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ในระบบเอฟเอ็ม ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ ว่า                       “อสมท ยื่นประมูลคลื่นวิทยุมากที่สุด จำนวน 55 คลื่น หลังเสร็จสิ้นการประมูลแล้ว ผลการประมูลเป็นที่น่าพอใจ         

อสมท. อวดผลประมูลคลื่นวิทยุเป็นไปตามเป้า

โดย อสมท เป็นผู้เสนอราคาสูงสุด ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 6 คลื่น ได้แก่ FM 95 ลูกทุ่งมหานคร  FM 99  Active Radio, FM 96.5 คลื่นความคิด, FM 100.5 MCOT News Network, FM 107 MET และ FM 105.5  ส่วนคลื่นวิทยุในภูมิภาค อสมท ยื่นประมูล จำนวน 49 คลื่น  อย่างไรก็ตามการประมูลมีปัญหาอุปสรรคอยู่บ้างทางเทคนิค โดยเฉพาะระบบการประมูล จะส่งผู้แทนไปตรวจทานความถูกต้องของระบบอีกครั้ง ที่สำนักงาน กสทช. อีกครั้ง”  

 

ในขณะที่สำหรับคลื่นวิทยุที่ บมจ.อสมท ไม่ได้เข้าประมูลในครั้งนี้ ไม่ได้มีผลกระทบ ต่อการดำเนินธุรกิจของ บมจ.อสมท อย่างมีนัยสำคัญ บมจ.อสมท ยังคงมีศักยภาพในการออกอากาศครอบคลุมพื้นที่ (Network Coverage Area) ทั่วประเทศที่ไม่แตกต่างจากเดิม โดยสามารถใช้การออกอากาศกระจายเสียงจากสถานีข้างเคียง ควบคู่ไปกับรูปแบบดิจิตอลแพลตฟอร์ม

 

ซึ่งต่อจากนี้จะมีการปรับโครงสร้างและรูปแบบการบริหารจัดการ (Refreshing Organization Structure & Management) การจัดผังรายการให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย (Refreshing Program) การจัดสรรช่วงเวลาออกอากาศ (Broadcasting Time Allocation) ระหว่างสถานีวิทยุแต่ละแห่งกับการออกอากาศของเครือข่ายคลื่นส่วนกลาง และ การผลักดันคู่ขนานระหว่างการออกอากาศในรูปแบบเดิมกับรูปแบบดิจิตอลแพลตฟอร์ม (Traditional & Digital Platforms) รวมถึงการจัดกิจกรรมเฉพาะกลุ่มผู้ฟังและแฟนคลับ (On Ground Events)

 

โดยการดำเนินการเหล่านี้ จะให้ความสำคัญกับความสามารถในการเพิ่มรายได้ การควบคุมค่าใช้จ่าย และความรับผิดชอบต่อสังคมในบทบาทของการเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ ควบคู่ไปกับการมองหาเครือข่ายและพันธมิตรใหม่ๆ