บ้านปู ซื้อกิจการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ฮาติ๋ญ หนุนพอร์ตพลังงานสะอาด

10 ธ.ค. 2564 | 11:09 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ธ.ค. 2564 | 18:24 น.
1.0 k

บ้านปู เร่งขยายพอร์ตด้านพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่ง BRES บริษัทย่อยภายใต้บ้านปู เน็กซ์ เข้าซื้อกิจการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ฮาติ๋ญ (Ha Tinh) กำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์ ในจังหวัดฮาติ๋ญ (Ha Tinh) ประเทศเวียดนาม คาดช่วยหนุน EBITDA มากกว่าร้อยละ 50 ในปี2568

บ้านปู เปลี่ยนผ่านธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ Greener & Smarter มุ่งขยายพอร์ตโฟลิโอด้านพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ล่าสุดบริษัท BRE Singapore Pte. Ltd (BRES) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด ที่บ้านปูถือหุ้นในอัตราร้อยละ 50 ได้เข้าลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ฮาติ๋ญ (Ha Tinh) ที่มีกำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์ ในจังหวัดฮาติ๋ญ (Ha Tinh) ประเทศเวียดนาม โดย BRES ได้ลงนามในสัญญาซื้อขาย (SPA) เพื่อเข้าซื้อกิจการในอัตราร้อยละ 100 ของ Ha Tinh Solar Power Joint Stock Company คาดว่ากระบวนการซื้อขายจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกของปี 2565 

โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ฮาติ๋ญ ในเวียดนาม –    อีกความสำเร็จในการสร้างการเติบโตของพอร์ตพลังงานที่สะอาดขึ้นของบ้านปู   ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการส่งมอบ “อนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน”

โดยการลงทุนครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในพลังงานที่สะอาดขึ้นและขยายระบบนิเวศด้านธุรกิจพลังงานของบ้านปู เพื่อก้าวสู่เป้าหมายที่บริษัทฯ จะมี EBITDA มากกว่าร้อยละ 50 จากธุรกิจพลังงานที่สะอาดขึ้นและเทคโนโลยีพลังงานภายในปี 2568 นอกจากนั้น ยังเป็นอีกก้าวสำคัญในการดำเนินตามแผนกลยุทธ์ของบ้านปูที่สอดคล้องกับแนวคิดและวัตถุประสงค์หลักของประชาคมโลกในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  

นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ตลอดปี 2564ที่ผ่านมา บ้านปูประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการเร่งเดินหน้าขยายพอร์ตพลังงานที่สะอาดขึ้น ด้วยการเข้าลงทุนในโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วอย่างต่อเนื่องทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็น โรงไฟฟ้า Nakoso IGCC ในญี่ปุ่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เบอริล (Beryl) และมานิลดรา (Manildra) ในออสเตรเลีย โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ CCGT “Temple I” ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา และล่าสุด โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ฮาติ๋ญ ในเวียดนาม

โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ฮาติ๋ญ ในเวียดนาม –    อีกความสำเร็จในการสร้างการเติบโตของพอร์ตพลังงานที่สะอาดขึ้นของบ้านปู   ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการส่งมอบ “อนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน”

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นภาพสะท้อนของความมุ่งมั่นในการเร่งพัฒนาธุรกิจด้านพลังงานหมุนเวียน ระบบกักเก็บพลังงาน และโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Efficiency, Low Emissions: HELE) ซึ่งเป็นทิศทางสำคัญตามที่กำหนดไว้ในแผนกลยุทธ์ของบ้านปูที่สอดคล้องกับแนวทางของประชาคมโลกในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” 

เวียดนามเป็นหนึ่งในตลาดยุทธศาสตร์สำคัญของบ้านปู เนื่องจากเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตในด้านพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงสุดของโลก มีแผนพัฒนาด้านพลังงานที่มุ่งเน้นการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนที่สูง โดยเฉพาะพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ การลงทุนในโรงไฟฟ้าฮาติ๋ญจึงสอดคล้องกับทิศทางกลยุทธ์ของบ้านปู และนับเป็นอีกก้าวหนึ่งในการเสริมสร้างสินทรัพย์ด้านพลังงานหมุนเวียน และเสริมสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจในตลาดพลังงานที่สำคัญทั่วโลก” 

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ฮาติ๋ญ เริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 มีราคารับซื้อไฟฟ้า (Feed-in-Tariff: FIT) ที่ 9.35 เซนต์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง โดยจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบสายส่งให้แก่การไฟฟ้าเวียดนาม ตามสัญญาการซื้อขายไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 20 ปี 

 

บ้านปูยังคงเดินหน้ากระบวนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ Greener & Smarter โดยมุ่งเน้นเสาะหาโอกาสการลงทุนเพื่อบรรลุเป้าหมายกำลังการผลิตจากธุรกิจผลิตพลังงาน 6,100 เมกะวัตต์ โดยมีสัดส่วนจากธุรกิจพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 1,600 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ยังรวมถึงการมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) จากธุรกิจพลังงานที่สะอาดขึ้นและเทคโนโลยีพลังงานมากกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2568 ซึ่งการเข้าซื้อโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แห่งใหม่นี้ส่งผลให้กำลังการผลิตรวมของธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในปัจจุบันของบ้านปูอยู่ที่ 1,128 เมกะวัตต์ 

โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ฮาติ๋ญ ในเวียดนาม –    อีกความสำเร็จในการสร้างการเติบโตของพอร์ตพลังงานที่สะอาดขึ้นของบ้านปู   ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการส่งมอบ “อนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน”

“บ้านปูมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจภายใต้หลักความยั่งยืนหรือ ESG เราพร้อมอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยและรัฐบาลในทุกประเทศที่เราเข้าไปดำเนินธุรกิจ ตลอดจนร่วมมือกับประชาคมโลก เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการพัฒนาแผนงานเชิงกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของการประชุม COP26 ที่ผ่านมา”