ทำได้ไง"การบินไทย"เผย9เดือนแรกปี2564กำไรพุ่ง5.1หมื่นล้าน

15 พ.ย. 2564 | 09:25 น.
อัปเดตล่าสุด :16 พ.ย. 2564 | 03:15 น.
12.8 k

การบินไทยเผยผลประกอบการ9เดือนแรกปี2564 พลิกจากขาดทุนมากำไรกว่า5.1หมื่นล้านบาท อนิสงค์จากการปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายพนักงานอย่างหนัก ช่วยธุรกิจแม้รายได้จากการบินลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

วันนี้(15 พฤศจิกายน2564)บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ถึงผลการดำเนินงาน 9เดือนแรกปี2564 โดยระบุว่าบริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน)และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิในงวด9เดือนแรกของ ปี 2564 จำนวน 51,115 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนสุทธิ 49,561 ล้านบาท โดยเป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 51,121 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 23.42 บาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 22.70 บาท โดยมี EBITDA เป็นลบ จำนวน 9,639 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 5,044 ล้านบาท 

ทำได้ไง\"การบินไทย\"เผย9เดือนแรกปี2564กำไรพุ่ง5.1หมื่นล้าน

 

ทั้งนี้ในงวด9เดือนแรกของปี 2564 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว-สุทธิ เป็นรายได้รวม73,084 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • กำไรจากการขายเงินลงทุน 2,202 ล้านบาท
  • กำไรจากการขายทรัพย์สินจำนวน 628 ล้านบาท
  •  กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 60,730 ล้านบาท
  • เงินชดเชยโครงการร่วมใจจากองค์กร 4,936 ล้านบาท
  • เงินชดเชยกรณีเลิกจ้างพนักงาน 1,222 ล้านบาท
  • การปรับปรุงรายการผลประโยชน์พนักงาน ลดลง 8,323 ล้านบาท จากการปรับโครงสร้างองค์กร และผลประโยชน์ของพนักงาน
  • ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องบินและสินทรัพย์สิทธิการใช้และอุปกรณ์การบินหมุนเวียน จำนวน 18,440 ล้านบาท
  • ผลขาดทุนจากการด้อยค่าซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 จำนวน116 ล้านบาท
  • ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจำนวน 11,197 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการตีมูลค่าทางบัญชีของหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ รวมหนี้สินตามสัญญาเช่าดำเนินงานเครื่องบินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16

ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมจำนวน 163,703 ล้านบาท ลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 45,594 ล้านบาท (21.8%) หนี้สินรวมมีจำนวน 240,196 ล้านบาท ลดลงจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 97,766 ล้านบาท (28.9%) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ติดลบจำนวน 76,493 ล้านบาท ติดลบลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 52,172 ล้านบาท 

 

ในงวด9เดือนแรกของปี 2564 เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งไตรมาสแรกยังทำการบินปกติเนื่องจากเป็นช่วงเริ่มระบาดของ COVID-1 9 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK)ลดลง 70.7% ปริมาณการขนส่งผู้ โดยสาร (RPK) ลดลง 93. 9% อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย13.9% ต่ำกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ยที่ 67.0%และมีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 0.82 ล้านคน ลดลงจากปีก่อน83.8% สำหรับด้านการขนส่งสินค้ามีปริมาณการผลิตด้านพัสดุภัณฑ์ (ADTK) ต่ำกว่าปีก่อน 65.2% ปริมาณการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (RFTK) ต่ำกว่าปีก่อน 38.4% อัตราส่วนการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (Freight Load Factox) เฉลี่ยเท่ากับ99.7% สูงกว่าปีก่อนที่เฉลี่ยเท่ากับ 562%


บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้รวมทั้งสิ้น 14,990 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 29,230 ล้านบาท หรือ 66.1%สาเหตุหลักเกิดจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลง 29,185 ล้านบาท (76.5%) รายได้จากการบริการอื่นๆ ลดลง 1,288 ล้านบาท เนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศทั้งของประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ แต่มีรายได้อื่นเพิ่มขึ้น 1,243 ล้านบาท มีสาเหตุหลักจากการรับรู้รายได้ที่เกิดจากการหักกลบลบหนี้ค่าบริการรายเดือนและการช่อมบำรุงตามสัญญาที่ค้างชำระตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทเรียกร้องค่าเสียหายที่เกี่ยวข้องกับการชำรุดของเครื่องยนต์ สำหรับค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 36,481 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 41,695 ล้านบาท(53.3%)

 

เนื่องจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่แปรผันตามปริมาณการผลิตและ/หรือปริมาณการขนส่งลดลง และถึงแม้จะมีการดำเนินมาตรการเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่เข้มงวดอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยรายได้ที่สูญเสียไปจากการที่ไม่สามารถทำการบินได้ตามปกติ ส่งผลให้ขาดทุนจากการดำเนินงานไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 21,491ล้านบาท แต่ขาดทุนลดลงจากปีก่อน 12,465 ล้านบาท (36.7%)

 

ทำได้ไง\"การบินไทย\"เผย9เดือนแรกปี2564กำไรพุ่ง5.1หมื่นล้าน

 

สำหรับการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัทฯ ได้กำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจใหม่ ได้แก่ "สายการบินคุณภาพสูง ที่ให้บริการเต็มรูปแบบ ด้วยความแข็งแกร่งของอัตลักษณ์ความเป็นไทย เชื่อมโยงประเทศไทยสู่ทั่วโลก และสร้างผลกำไรที่ดีอย่างต่อเนื่อง" และมีพันธกิจ 4 ด้าน คือ 1. สร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า 2. ความเป็นเลิศด้านการพาณิชย์ 3. ตันทุนที่แข่งขันได้ และ 4 ผู้นำด้านปฏิบัติการบิน 

 

บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินโครงการตามแผนปฏิรูปธุรกิจ กว่า 600 โครงการ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย และการเพิ่มการหารายได้ ตลอดจนการปรับโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะให้บริการ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมการบิน เมื่อสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายลง


ทั้งนี้ ความคืบหน้าในการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่


1. การปรับโครงสร้าง ลดขนาดองค์กร : บริษัทฯ ปรับปรุงโครงสร้างให้กระชับ เพิ่มศักยภาพการทำงานในแต่ละหน่วยธุรกิจให้มีความเชื่อมโยงกัน ลดกระบวนการขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน ปรับจำนวนพนักงานให้เหมาะสม และสอดคล้องกับจำนวนฝูงบินและกำลังการผลิต

 

2. การลดต้นทุนบุคลากร: บริษัทฯ ปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างและ โครงสร้างคำดอบแทนบุคลากร รวมทั้งมีการปรับปรุงสวัสดิการให้สอดคล้องกับธุรกิจและอุดสาหกรรมรวมถึงการประกาศโครงการต่างๆเช่น โครงการลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือนและคำตอบแทน (โครงการ Together We Can) โครงการ
ร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร (Mutual Separate Plan : MSP)

 

3. การลดตันทุนค่าเช่าเครื่องบิน : บริษัทฯ ได้จัดทำหนังสือข้อตกลง (Letter of Intent : LOl) กับผู้ให้เช่าเครื่องบิน เพื่อแสดงเจตนาของคู่สัญญาในการที่จะแก้ไขสัญญาดำเนินงานและสัญญาเช่าทางการเงินในปัจจุบัน ทั้งนี้ หนังสือข้อตกลงดังกล่าวยังได้กำหนดเรื่องการชำระค่าเช่าในช่วงระยะเวลาตามที่
ระบุไว้ให้คำนวณดามชั่โมงการใช้เครื่องบินที่เกิดขึ้นจริง (Power by the Hour)

 

4. ลดต้นทุนการดำเนินงานในด้านอื่นๆ : บริษัทฯ ได้มีการลดการใช้สินค้าและบริการให้สอดกล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนเจรจากับเจ้าหนี้การค้า ผู้ให้บริการด้านต่างๆ เพื่อต่อรองเงื่อนไขในสัญญาต่างๆ และบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

5. หารายได้ในช่วงที่สถานการณ์การบินยังไม่กลับมาเป็นปกติ โดย

  • รายได้จากธุรกิจการบิน : บริษัทฯ ทำการบินเที่ยวบินขนส่งสินค้า และเที่ยวบินรับผู้โดยสารกลับประเทศ (Repatriation Fight) โดยในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ ระบาคของโรค COVID-1ยังคงรุนแรง บริษัทได้ปรับปรับเที่ยวบินให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยยังคงให้บริการเที่ยวบินสนับสนุนนโยบายภูเก็ต Sandbox ตามแผนที่วางไว้ แต่เพิ่มเที่ยวบินที่รองรับการขนส่งสินค้ามากขึ้น
  • รายได้จากธุรกิจที่สนับสนุนการบิน : บริษัทฯ พขายามปรับตัวและวิเริ่มสิ่งไหม่ๆ เพื่อเพิ่มรายได้เช่น การเปิดภัตตาคาร "อร่อยล้นฟ้า ไม่บินก็ฟินได้" การเปิดให้บริการเข้าเยี่ยมชมและทดลองทำการบินด้วยเครื่องฝึกบินจำลอง (Flight Simulator) และมีแผนงานขยายธุรกิจ Master Franchise ร้าน Pufi&Pie ไปทั่วประเทศ
  • รายได้อื่นๆ เพื่อเพิ่มกระแสเงินสด : บริษัทฯ ได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อเพิ่มกระแสเงินสด เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียน และเตรียมความพร้อมรองรับหากสถานการณ์ดำเนินธุรกิงฟื้นตัวขึ้น เช่น ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตขายทรัพย์สินรองที่ไม่จำเป็นต่อการดำเนินงานหรือเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และมีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ได้แก่ หุ้นที่บริษัทถืออยู่ในบริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน)ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งใช้เป็นอาคารศูนย์ฝึกอบรมที่หลักสี่ และเครื่องยนต์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว 

 

โดยในไตรมาสที่ 3 นี้ได้ขายหุ้นที่ถือในบริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) เพิ่มขึ้น ขายที่ดินเปล่าจังหวัดเชียงใหม่ และตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของสำนักงานหลานหลวง และสำนักงานขายจังหวัดภูเก็ต


6. การปรับโครงสร้างหนี้ : บริษัทฯ ขยายเวลาการชำระหนี้ออกไป โดยการพักชำระหนี้ เงินต้นและดอกเบี้ย 2-3 ปี ปรับลดภาระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยตามภาระผูกพันเดิม ปรับลดภาระผูกพันตามสัญญาเช่าเซื้อเครื่องบิน และเพิ่มทางเลือกในการชำระหนี้ ตามกรอบการดำเนินการที่ได้ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ โดยการปรับปรุงดังกล่าว บริษัทฯ รับรู้เป็นกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ ใน 9 เดือนแรกของปี 2564 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 60,730 ล้านบาท 

 

7. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 มีมติที่ประชุมคณะผู้บริหารแผน ครั้งที่ 5/2564 อนุมัติไห้ลดทุนจดทะเบียนของบริษัทจากจำนวน 26,989,009,500 บาท เหลือจำนวน 21,827,719,1 70 บาท โดยการตัดหุ้นในบริษัทที่ยังไม่ได้ออกและจำหน่ายจำนวน 516,129,033 หุ้น ตามที่กำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้บริหารแผนดำเนินการจดทะเบียนลดทุนจดทะเบียนบริษัทและดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ในวันที่ 17 สิงหาคม 2564