"กู๊ด ดอกเตอร์ฯ" เปิดกลยุทธ์ใหม่ บุกเทรนด์ธุรกิจตลาดแพทย์ทางไกล

05 พ.ย. 2564 | 16:47 น.
อัปเดตล่าสุด :06 พ.ย. 2564 | 00:03 น.

"กู๊ด ดอกเตอร์ฯ" รุกขยายกลยุทธ์ใหม่ หลังผุดแอปสุขภาพดิจิทัล ตอบโจทย์ผู้ป่วยโควิด เล็งจับกลุ่มลูกค้าออฟไลน์-ออนไลน์ ร่วมมือสปสช. รองรับทิศทางเทรนด์ธุรกิจตลาดแพทย์ทางไกล

เมลวินหวู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับภูมิภาคบริษัทกู๊ดดอกเตอร์เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (GDT) เปิดเผยว่า บริษัทได้เตรียมกลยุทธ์รองรับเทรนด์ธุรกิจตลาดการแพทย์ทางไกลเติบโตจากอัตราเร่งผู้ใช้มือถือทำธุรกรรมมากขึ้นผสมโรงกับโควิด-19 ระบาดหลังความสำเร็จจากการพัฒนาแอปพลิเคชันกู๊ดดอกเตอร์ในฐานะผู้ให้บริการสุขภาพดิจิทัลที่เข้าถึงผู้ป่วยได้ถึง 38 เขตมีอัตราการลงทะเบียนผู้ป่วยสูงสุด 15 คน/ วันใช้ระยะเวลาการลงทะเบียน 30 นาที นับเป็นความมุ่งหวังอยากช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของหมอลดความแออัดของคนไข้ที่ไม่ต้องมาโรงพยาบาลและช่องว่างการเข้าถึงการรักษาภายใต้วิสัยทัศน์“หนึ่งแพทย์ต่อหนึ่งครอบครัวทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA)

 

 

 

 สำหรับแผนการดำเนินงานในปีข้างหน้าบริษัทได้วางกลยุทธ์การตลาดโดยมุ่งเน้นจับกลุ่มลูกค้าองค์กรที่เป็นแบบ B 2 B เพื่อขยายผลไปสู่ลูกค้าแบบ B 2 C ต่อไปอีกทั้งการมุ่งเน้นแพลตฟอร์มดูแลสุขภาพทั่วๆไปรวมถึงสุขภาพด้านจิตใจทั้งลูกค้าที่เป็นแบบOffline และ Online การให้ความรู้ด้านสุขภาพกับคนไทยรวมถึงการร่วมมือกับองค์กรภาครัฐเช่นสปสช.ในการดูแลผู้ป่วยหลังโควิด-19 นี้

 

 

 

ที่ผ่านมาบริษัทได้ดำเนินธุรกิจการแพทย์ทางไกลในรูปแบบดิจิทัลภายใต้วิสัยทัศน์“หนึ่งแพทย์ต่อหนึ่งครอบครัวทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA)ที่มีการเปิดตัวแอปพลิเคชันกู๊ดดอกเตอร์ในฐานะผู้ให้บริการสุขภาพดิจิทัลโดยออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งานเพื่อให้คนไทยเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างรวดเร็วต่อการขอรับการปรึกษาจากแพทย์ได้ภายใน 60 วินาทีแบบไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า

อีกทั้งยังได้รับการวินิจฉัยและแผนการรักษาได้อย่างรวดเร็วภายในเวลา 15 นาทีเพื่อเป็นการส่งเสริมและต่อยอดการบริการสุขภาพผ่านสถานพยาบาลรูปแบบดั้งเดิมเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงทีมแพทย์ได้อย่างรวดเร็วและทันเวลาแทนที่คนไข้จะต้องมานั่งรอแพทย์เป็นเวลานานๆที่โรงพยาบาลกว่าจะได้รับการรักษาบางครั้งไม่ทันกาล

 

 

 นอกจากนี้เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่และเวลาของทีมแพทย์พยาบาลแทนที่จะมาค่อยตรวจรักษาคนไข้ด้วยโรคพื้นฐานธรรมดาเช่นไข้หวัด,ท้องเสียก็ใช้เวลามีค่านี้ไปโฟกัสอยู่ที่คนไข้ที่เป็นเคสฉุนเฉินเร่งด่วนจำเป็นดีกว่านับเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีมแพทย์พยาบาลไม่ให้หนักเกินไปอีกทั้งช่วยลดความแออัดของคนไข้ที่ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลด้วย

 

 

 

 นายแพทย์สุทธิชัยโชคกิจชัยหัวหน้าฝ่าย บริษัทกู๊ดดอกเตอร์เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (GDT)กล่าวว่า ขณะเดียวกันพบว่าหลังจากช่วงเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา บริษัทถือว่าประสบความสำเร็จต่อการช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สีเขียว (ไม่แสดงอาการ) ที่ต้องทำ Home Isolation กักตัวดูแลที่บ้านเองภายหลังจากที่บริษัทได้รับอนุมัติจากสปสช. ( สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ทำให้บริษัทสามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้ถึง 38 เขตมีอัตราการลงทะเบียนผู้ป่วยสูงสุด 15 คน/ วันใช้ระยะเวลาการลงทะเบียน 30 นาที ก็สามารถเข้าถึงรับคำปรึกษาจากทีมแพทย์ประจำการที่มีการให้คำปรึกษาไปแล้วถึง 650 ครั้งตลอดจนบริการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ผ่านความร่วมมือกับเครือข่ายร้านขายยาทั่วประเทศไทยกว่า 250 แห่งรวมไปถึงการส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 ไปยังสถานพยาบาลเครือข่ายหากผู้ป่วยมีอาการแย่ลง

ทั้งนี้จากข้อมูลในปัจจุบันตลาด 3 ภูมิภาคเอเชียคือประเทศอินโดนีเซีย,จีน,ไทยถือเป็น 3 ประเทศที่มีส่วนแบ่งอัตราการทำธุรกรรมที่จำเป็นต่างๆในชีวิตประจำวันบนมือถือมากสุดประกอบวิกฤตโควิด-19 ที่กำลังเผชิญอยู่นี้ส่งผลให้เกิดอัตราการเร่งการเติบโตของแพทย์ทางไกลในรูปแบบดิจิทัลทั่วโลกให้สูงมากขึ้นถ้าเทียบกับช่วงเวลาก่อนเกิดโควิด-19

\"กู๊ด ดอกเตอร์ฯ\" เปิดกลยุทธ์ใหม่ บุกเทรนด์ธุรกิจตลาดแพทย์ทางไกล

 

 "การบริการแพทย์ทางไกลถือว่าเป็นทางออกที่ปลอดภัยและสะดวกสบายในการเข้าบริการทางการแพทย์สำหรับคนที่กังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโควิด-19 และคนที่ไม่ต้องการไปแออัดเพื่อต้องการไปแค่พบหมอในโรงพยาบาล อีกทั้งการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุดที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจากประเทศอื่นว่าแอปพลิเคชันกู๊ดดอกเตอร์สามารถช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้"

\"กู๊ด ดอกเตอร์ฯ\" เปิดกลยุทธ์ใหม่ บุกเทรนด์ธุรกิจตลาดแพทย์ทางไกล

 

สำหรับอัตราการเติบโตการใช้บริการสุขภาพรูปแบบดิจิทัลในปัจจุบันจนถึงอีก 5 ปีข้างหน้าจะแบ่งเป็น 1. การแพทย์ทางไกลจาก 22% เติบโตขึ้น 46% 2. การดูแลสุขภาพระยะยาวจาก 27% เติบโตขึ้น 48% 3.การวินิจฉัยโรคด้วยตนเองจาก 27% เติบโตขึ้น 47% 4. รูปแบบดิจิทัลจาก 32% เติบโตขึ้น 48% 5. ตามคำเรียกร้องจาก 35% เติบโตขึ้น 47% และสุดท้ายร้านขายยาจาก 37% เติบโตขึ้น 45%

 

\"กู๊ด ดอกเตอร์ฯ\" เปิดกลยุทธ์ใหม่ บุกเทรนด์ธุรกิจตลาดแพทย์ทางไกล

อย่างไรก็ตามจากผลตอบรับดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทได้รองรับโอกาสการเติบโตของธุรกิจการแพทย์ทางไกลโดยระบบการทำงานภายใต้ทีมงานแพทย์พร้อมคลินิกเวชกรรมที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นพร้อมได้รับใบอนุญาตให้สามารถบริการแพทย์การไกล (Telemedicine) อย่างเป็นทางการและเปิดให้บริการในประเทศไทยต้นแต่ต้นปีที่ผ่านมา