พลิกสถิติ “ฤดูฝน” มาเร็วที่สุด ปี2554 แต่ไม่ซ้ำรอย “น้ำท่วมใหญ่”

18 มี.ค. 2564 | 21:00 น.
6.0 k

โฆษกมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พลิกสถิติ "ฤดูฝน" มาเร็วที่สุดปี2554 อาจจะสร้างสถิติใหม่  แต่ไม่ซ้ำรอย “น้ำท่วมใหญ่”  พ้อง “ต้นยางนา” ออกดอกสะพรั่ง คาดน้ำมีมาก

นพดล มากทอง

นายนพดล มากทอง  โฆษก มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงสถานการณ์ปีนี้ "ฤดูฝน" จะมาเร็ว ซึ่งจากการพิจารณาจากข้อมูลดาวเทียม จะเห็นว่าปลายเดือนมีนาคม ฝนเริ่มตก เพิ่มมากขึ้นก็คงจะไม่ทำให้เกิดน้ำท่วม แต่พอเริ่มเข้าเดือนเมษายน ค่าฝนจะสูงกว่าโดยเฉลี่ยค่าฝนมากกว่าปกติจากทุกปี พอเดือนพฤษภาคม จากการติดตามข้อมูล ว่าปริมาณฝนมากแน่ๆ ซึ่งคาดว่าฤดูฝนจะเข้าในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม

 

แต่จากการดูข้อมูลจากดาวเทียมในขณะนี้ จะเห็นว่าฝนในช่วงเดือนเมษายนจะมีแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่า “ฤดูฝน” จะมา แต่เป็นช่วงฝนตก ปกติ ก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูฝน ที่กรมอุตุนิยมวิทยาจะประกาศ เป็นทางการ โดยปกติอยู่แล้ว ซึ่งในช่วงนั้นจะมีพายุ ในอดีตที่เคยก่อตัวฝั่งอันดามัน จะทำให้ภาคใต้ และฝั่งตะวันตกของประเทศไทย จะมีโอกาสเกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน และ พฤษภาคม นี่เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือว่ามีความเป็นไปได้

 

หลังจากในช่วงเดือนมิถุนายน และ กรกฎาคม ฝนจะไม่ค่อยมาก แต่ปริมาณฝนจะมาตกมากอีกครั้ง เดือนสิงหาคม กันยายน แล้วหากปริมาณฝนสะสมมาตั้งแต่เดือนมีนาคม จนถึงกันยายน อาจจะมีปริมาณน้ำสะสมไว้มาก ฝนตกมาก ก็อาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมในช่วงนี้ แต่ถ้าดูข้อมูลในขณะนี้คาดการณ์ว่าจะไม่น่ารุนแรงน้ำท่วมใหญ่แบบปี 2564 แต่เกิดขึ้นแน่

 

นายนพดล กล่าวว่า การคาดการณ์ว่าฤดูฝนจะมาเร็วในช่วงก่อนเดือนพฤษภาคม นั้นมาจากโมเดลแบบจำลองต่างๆ ซึ่งข้อมูลต้องนี้มีคลาดเคลื่อนได้ง่ายตลอดเวลา แต่ถ้าหากไปย้อนดูข้อมูลในอดีต “ฤดูฝน” ที่มาเร็วที่สุด เมื่อปี 2554 ในวันที่ 6 พฤษภาคม ปกติฤดูฝน จะกลางเดือนพฤษภาคม ดังนั้นในปีนี้คาดการณ์น่าจะเร็วกว่า แต่เมื่อมาดูย้อนประวัติศาสตร์ประเทศไทยที่ประกาศเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงเดือนมีนาคม หรือ เดือน เมษายน  เลย ไม่เคยมี แต่แบบจำลอง ที่คาดการณ์ล่วงหน้าก็เป็นลักษณะนั้น ในอดีตก็เคยมีปรากฏ แต่พอถึงเวลาเข้าจริง ก็ไม่เป็นตามคาดการณ์

 

 

สำหรับ "พายุฤดูร้อน" ระลอกนี้ มีผลกระทบ 2 วัน  ได้แก่ วันที่  21 มี.ค. 64 พื้นที่กระทบส่วนใหญ่อยู่ในภาคะวันออกเฉียงเหนือ หรืออีสาน ได้แก่ จังหวัด บึงกาฬ อุดรธานี อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู เลย ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา

 

ส่วนใน วันที่ 22 มี.ค. 64 ภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ พะเยา พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร

 

“ภาคกลาง” จังหวัด นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี อ่างทอง ลพบุรี กาญจบุรี ราชบุรี นครปฐม เพชรบุรี กทม.ปริมณฑล และ ภาคตะวันออก  ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด 

 

ทั้งนี้ “พายุฤดูร้อน” เกิดบางพื้นที่ ไม่ได้คลอบคลุมทั้งจังหวัด ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที  ระวังอันตรายและผลกระทบไว้ด้วย อาจมีลูกเห็บตกบางพื้นที่  ดูแลบ้านเรือนให้มั่นคงแข็งแรง หลีกเลี่ยงอยู่ใต้ต้นใหญ่ ขับรถระวังต้นไม้และเสาไฟฟ้าล้มทับ

อาจารย์นพพร นนทภา

 

สอดคล้องกับ อาจารย์นพพร นนทภา นักวนศาสตร์ ปัจจุบันทำงานที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการศึกษาและเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2548 ต้นไม้พยากณ์พยากรณ์ฝนล่วงหน้า ได้ ประกอบด้วย “ต้นยางนา”, “เหียง”, “พะยอม” และ “ตะเคียนทอง” เป็นกลุ่ม "ต้นไม้พยากรณ์อากาศ"  เวลากระจายพันธุ์จะต้องใช้ลม และฝน เพราะเมล็ดไม่มีระยะฟักตัว จะกำหนดตัวเองในวันที่ฝนตก

 

“เวลาศึกษาจะดูดอก ซึ่งดอกจะร่วง เราจะดูวันดอกร่วง แล้วจะนับวันซึ่งตรงกับวันฝนตก สามารถบอกล่วงหน้าได้ประมาณ 2-3 เดือน นี่คือข้อมูลแรก “วันฝนตก” ส่วนข้อมูลที่สองก็คือ “ปริมาณน้ำฝน” ในรอบปี ถ้า “ต้นยางนา”หรือ “ตะเคียนทอง” ออกดอก ไปที่ไหนก็เห็น ปีนั้นปริมาณน้ำจะมาก ซึ่งในปีนี้จะเหมือนปี 2554  

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ฝนมาเร็ว-มามาก” แต่ไม่ท่วมซ้ำรอย ปี54

เตือน “ลานีญา” ทิ้งทวน ระวังน้ำท่วม