ประเดิมมินิFTAไทย-อินเดีย เอกชนแนะจับกลุ่ม “อัครมหาเศรษฐี”

17 ธ.ค. 2563 | 14:21 น.

พาณิชย์ ประเดิมเจรจามินิเอฟทีเอไทย-อินเดีย   หวังปั้นตัวเลขการค้าการลงทุนเพิ่มปี64เอกชนแนะทำตลาดจับกลุ่ม”อัครมหาเศรษฐี” 300 ล้านคน

  นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และพาณิชย์  กล่าวภายหลังการประชุมหารือกับ 3 ภาคเอกชนด้านการค้าไทย-อินเดีย  ว่า   ไทยให้ความสำคัญกับตลาดอินเดียเป็นพิเศษเพราะอินเดียมีประชากรถึง 1,300 ล้านคนและมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ขนาดใหญ่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับ 5 ของโลก และเป็นคู่ค้าอันดับ1 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ และที่ผ่านมาได้นำกระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชนเดินทางไปเยือนอินเดียมาแล้วเพื่อเจรจาทางการค้า 2 ครั้ง ซึ่งสามารถลงนามทำข้อตกลงเพื่อทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกันได้เป็นจำนวนรวมกันถึง 10,137 ล้านบาท โดยมีการส่งมอบแล้ว 5,948 ล้านบาท ที่ยังไม่ครบเพราะติดเรื่องโควิด-19 ที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้มีการส่งมอบแล้วถึง 60%

ประเดิมมินิFTAไทย-อินเดีย  เอกชนแนะจับกลุ่ม “อัครมหาเศรษฐี”

 

            โดย ในการหารือมีความเห็นตรงกันว่า ทั้งสองประเทศควรมีการทำการค้าเชิงลึกระหว่างกันมากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องของการทำข้อตกลงทางการค้า ขณะนี้มีการเปิดเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ)  ไทย-อินเดีย และมี เอฟทีเออาเซียน-อินเดียอยู่แล้ว และเพื่อให้ทั้งสองประเทศสามารถเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันได้เห็นควรให้มีการดำเนินการมินิ เอฟทีเอระหว่างกัน  คือการเจรจาการค้าร่วมกันกระทรวงพระทรวงพาณิชย์กับกับอินเดีย ซึ่งได้ยกร่างแล้วเสร็จแล้ว  ในส่วนของไทยกับรัฐเตลังคานาของอินเดีย จากนี้ก็จะนำเสนอเข้าสู่คณะรัญมนตรี (ครม.)  เพื่อเห็นชอบ และจะมีการลงนาม ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ของไทยกับกระทรวงอุตสาหกรรมของ รัฐเตลังคานาของอินเดียต่อไป โดยกำหนดวันไว้เบื้องต้นในช่วงเดือนม.ค. 2564 

 

"การหารือร่วมกันกับภาคเอกชนนอกจากการทำ Mini FTA ระหว่างไทยกับรรัฐเตลังคานาแล้ว จะมีการเตรียมการสำหรับรัฐอื่น ๆด้วย ดังนี้ 1. รัฐคุชราต 2.กรณาฏกะ 3. รัฐมหาราษฏระ 4. เคเรล่า และ 5.รัฐ 8 สาวน้อย หรือรัฐอัสสัมเป็นเป้าหมายที่จะเดินหน้าต่อไปที่จะทำ Mini FTA กับอินเดียและหลังสถานการณ์โควิด-19 จะนำภาคเอกชนเดินทางไปทำขายสินค้าในฐานะหัวหน้าเซลล์แมนประเทศอีกรอบหนึ่งเพื่อเปิดตลาดอินเดียให้ไทยมากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอินเดียเพิ่มเติม โดยอำนวยความสะดวกให้กับอินเดียได้ในการทำการค้ากับไทย " นายจุรินทร์ กล่าว 

ประเดิมมินิFTAไทย-อินเดีย  เอกชนแนะจับกลุ่ม “อัครมหาเศรษฐี”

 

 ทั้งนี้รายงานจากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การค้ารวมระหว่างไทยและอินเดียระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2558-2562) มูลค่าเฉลี่ยปีละ 10,136.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า มาโดยตลอดปี 2562 อินเดียเป็นคู่ค้าอันดับที่  11 ของไทย และเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ ขณะที่ไทยเป็น คู่ค้าอันดับ 4 ของอินเดียในภูมิภาคอาเซียน รองจากสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยการค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 12,147.68 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2561 มูลค่า  2.77% และมูลค่าการค้าสองฝ่ายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.52 ของ มูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า 2,532.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐม.ค.-ต.ค. 63 การค้ารวมมีมูลค่า 7,871.53 ล้านดอลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 มูลค่า  24.41%  และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า 909.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

            การส่งออกสินค้าของไทยไปอินเดีย ระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2558-2562) ไทยส่งออกไปอินเดียมูลค่าเฉลี่ยปีละ 6,379.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี2562 อินเดียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 10 ของไทยในตลาดโลกและเป็นอันดับที่1ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยไทยส่งออกไปอินเดียมูลค่า 7,340.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2561 มูลค่า  3.77% ม.ค.-ต.ค. 63 ไทยส่งออกไปอินเดียมูลค่า 4,390.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 มูลค่า  30.53%  สินค้าส่งออกหลักของไทยไปอินเดีย 5 อันดับแรก (ม.ค.-ต.ค. 63) ได้แก่ 1) เม็ดพลาสติก (-19.25%) 2) เคมีภัณฑ์ (-27.57%) 4) อัญมณีและเครื่องประดับ (-46.62%) 4) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล (-22.62%) และ 5) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (-13.87%)

 

สำหรับหน่วยงานที่ร่วมประชุมครั้งนี้กับกระทรวงพาณิชย์  ประกอบด้วย 1.หอการค้าอินเดีย-ไทย (India-Thai Chamber of Commerce) 2.สมาคมธุรกิจอินเดีย-ไทย (India-Thailand Business Association) และ3. สภาธุรกิจไทย-อินเดีย (Thailand-India Business Counci

l

          ด้าน  น.ส.ปริม จิตจรุงพร ประธานสภาธุรกิจไทย-อินเดีย กล่าวว่า  ปัญหาอุปสรรคของการทำการค้ากับอินเดียคือการที่ฝ่ายอินเดียปกป้องสินค้าภายในประเทศค่อนข้างมาก ทำให้การส่งออกสินค้าหลายชนิดของไทยประสบกับปัญหาการกีดกันทางการค้า เช่น การเรียกเก็บภาษีจากผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หรือ Anti - Dumping Duty : ADทั้งเม็ดพลาสติก สินค้าไม้ MDF และอื่น ๆ  รวมทั้งพิกัดศุลกากรที่ยังไม่ตรงกันระหว่างไทยกับอินเดีย ทำให้ไทยเสียโอกาสในการใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีในการส่งออกไปอินเดีย  ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้หยิบยกมาที่ประชุมคณะกรรมร่วมทางการค้า (เจทีซี) เมื่อปลายปี 2562 แต่ยังไม่มีข้อสรุป ขณะที่ศุลกากรอินเดียมีแบบฟอร์มที่กำหนดให้ผู้ส่งออกตอบคำถามหลายข้อที่เป็นความลับทางการค้าและขอข้อมูลหลายรอบซึ่งกระทรวงพาณิชย์ รับปากว่าจะไปหารือกับกรมศุลกากรเพื่อไม่ให้เป็นปัญหาอุปสรรค ต่อการส่งออกสินค้า  

ประเดิมมินิFTAไทย-อินเดีย  เอกชนแนะจับกลุ่ม “อัครมหาเศรษฐี”

            ขณะที่นายสาธิต เซกัล  นายกสมาคมนักธุรกิจอินเดีย-ไทย กล่าวว่า ประเทศไทยควรเร่งให้ความสำคัญกับการทำการค้าและลงทุนกับอินเดียพอๆ กับจีนเพราะประชากรอินเดียกว่าหมื่นล้านคน เป็นอัครมหาเศรษฐีกว่า 300 ล้านคน มากกว่า 5 เท่าของประชากรไทยทั้งประเทศดังนั้นรัฐบาลไทยควรหาสินค้าและบริการที่ตอบสนองกับคนกลุ่มนี้ให้มากขึ้น เพราะพื้นฐานของคนอินเดียจะชื่นชอบความเป็นไทยทั้งคนไทย สินค้าและบริการไทยอยู่แล้ว เห็นได้จากการมาจัดงานแต่งงานในประเทศไทยซึ่งโดยเฉลี่ยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 25 ล้านบาทต่องาน และยังเดินทางมาท่องเที่ยวจับจ่ายใช้สอยในประเทศไทยเป็นจำนวนมากเฉลี่ยหลายแสนบาทถึงหลักล้านต่อคน แต่ที่ผ่านมาแม้จะมีข้อตกลงเอฟทีเอร่วมกันแต่มูลค่าการค้าก็ยังไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตามหลังจาการหารือกันในครั้งนี้ก็หวังว่าทั้งสองประเทศจะมีมูลค่าการค้าที่เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของสินค้าและบริการ