วันนี้ พณ.เชิญ "PETA" เคลียร์ปม "ลิงเก็บมะพร้าว" กระทบแบนกะทิ-มะพร้าวไทย

08 ก.ค. 2563 | 07:55 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ก.ค. 2563 | 14:58 น.
2.0 k

วันนี้ "จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" เปิดกระทรวงพาณิชย์ เคลียร์ปมร้อน กับ PETA กรณี กล่าวหา "ลิงเก็บมะพร้าว" ลามไปห้างอังกฤษแบนกะทิ-ผลิตภัณฑ์มะพร้าวของไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันนี้(8 ก.ค.63) มีความคืบหน้าและความเคลื่อนไหวในการเคลียร์ปมร้อน กรณีห้างฯบางแห่งของอังกฤษ แบนกะทิไทย ที่มีผลการมาจากการรณรงค์ให้แบนสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานลิง หรือ ลิงเก็บมะพร้าว ของไทย

 

โดยวันนี้เวลา 13.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ มีกำหนดการเปิดห้องประชุมกระทรวงพาณิชย์ เชิญ ตัวแทน "พีตา : PETA People for the Ethical Treatment of Animals  หรือ องค์กรประชาชนเพื่อการปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีจริยธรรม เข้าหารือกรณีที่พีตาพบข้อมูลการใช้แรงงานและทารุณกรรมลิงในอุตสาหกรรมมะพร้าว โดยใช้แรงงานลิงเก็บมะพร้าว

 

จนทำให้ห้างสรรพสินค้าบางแห่งในอังกฤษแบน กะทิกล่องและผลิตภัณฑ์มะพร้าวจากไทย  โดยภายหลังการหารือ นายจุรินทร์ จะให้สัมภาษณ์ผลการหารือ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ถอดรหัส อังกฤษ "แบนกะทิ-ผลิตภัณฑ์มะพร้าวไทย"

"อังกฤษแบนกะทิไทย" ผวาพ่อค้าฉวยจังหวะนำเข้ามะพร้าวอินโดฯ เลี่ยง "ลิงเก็บมะพร้าว"

จากไข่ถึงลิง

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2563 นายจุรินทร์ ให้สัมภาษณ์กรณีดังกล่าวว่า สำหรับผลิตภัณฑ์มะพร้าวจากประเทศไทยผลผลิตในปี 62 ปีที่แล้วตกประมาณ 788,000 ตันและมีโรงงานแปรรูปผลผลิตจากมะพร้าว 15 โรงซึ่งทั้งหมดเป็นกะทิ 113,000 ตัน 70% บริโภคภายในประเทศ ที่เหลือก็ส่งออกมีความจำเป็นต้องนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเพิ่มเติมด้วยเพราะว่าไม่เช่นนั้นก็จะไม่พอการส่งออก เช่น นำเข้าจากอินโดนีเซีย เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตามสำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญก็มี 2 ชนิด1.กะทิ 2.มะพร้าวอ่อน แต่ประเด็นปัญหาที่อยู่ขณะนี้คือเรื่องของกะทิซึ่งกะทินั้นยอดการส่งออกเมื่อปีที่แล้วตกประมาณ 12,300 ล้านบาทโดยส่งออกไปยังสหภาพยุโรป 18% มูลค่า 2,250 ล้านบาทและในสหภาพยุโรปเป็นประเทศอังกฤษหรือสหราชอาณาจักร 8% มูลค่า 1,000 ล้านบาท

 

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ประเด็นปัญหาที่เป็นข่าวอยู่ขณะนี้ก็คือมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกิดขึ้นว่าประเทศไทยมีการใช้แรงงานลิงในการเก็บมะพร้าว เรื่องนี้ซึ่งได้เคยปรากฏเป็นประเด็นขึ้นมาแล้วก่อนหน้านี้สุดท้ายก็ชี้แจงทำความเข้าใจและช่วงนี้ก็เกิดประเด็นนี้ขึ้นมาอีกก็ได้เคยหารือกับผู้ประกอบการแปรรูปกะทิและผลผลิตอาหารสำเร็จรูปมาก่อนหน้านี้แล้วได้รับการชี้แจงในประเด็นนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง ว่าสำหรับในเรื่องของการใช้ลิงเก็บมะพร้าวนั้นส่วนใหญ่ประเด็นในเรื่องทางวัฒนธรรมวิถีชีวิตและการท่องเที่ยวมากกว่า แต่สำหรับในเรื่องของการใช้ลิงเก็บมะพร้าวเพื่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมเกือบจะเรียกได้ว่าไม่มีปรากฎแล้ว

"แต่ภาพของการใช้ลิงเก็บมะพร้าวที่ใช้ทางการท่องเที่ยว วิถีชีวิตอาจจะยังปรากฏในคลิปอยู่และทำให้เกิดความเข้าใจผิดและความเข้าใจคาดเคลื่อนตัวอย่างไรก็ตามวันพุธ (8กค) ที่จะถึงนี้ ผมได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้เชิญผู้ผลิตกะทิและผู้ผลิตแปรรูปผลผลิตจากมะพร้าวมาหารือกันหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อจะได้หาแนวทางร่วมกันในการที่จะชี้แจงทำความเข้าใจกับประเทศผู้นำเข้าที่ยังสงสัยอยู่รวมทั้งในองค์การพิทักษ์สัตว์ที่ต้องการข้อมูล ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะได้ข้อสรุปอีกครั้งหนึ่งว่ามาจากประชาสัมพันธ์ที่แจ้งทำความเข้าใจร่วมกันในรูปแบบไหนอย่างไรและขนาดเลี้ยวกันก็จะมีแผนที่จะเชิญทูตที่ประจำอยู่ในประเทศไทยในประเทศที่ยังมีข้อสงสัยไปดู" นายจุรินทร์ กล่าว

 

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ไปดูการผลิตและการเก็บมะพร้าวภาคอุตสาหกรรมของจริงจะได้เห็นภาพว่าเป็นอย่างไร จะได้ไม่เกิดความเข้าใจที่คาดเขื่อนต่อไปเพื่อต้องการที่จะคงตัวเลขการส่งออกผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวของไทยในตลาดต่างๆในโลกไว้ถ้าเพิ่มได้ก็จะเป็นเรื่องดี

 

“ผมเคยเยี่ยมซุปเปอร์มาร์เก็ตในแถบยุโรปบางประเทศพบว่าสินค้ากะทิจากประเทศไทยรวมทั้งผลิตภัณฑ์มะพร้าวก็เป็นที่นิยม น่าจะใช้แบรนด์จากต่างประเทศบางแบรนด์ก็ใช้เป็นมะพร้าวที่ผลิตประเทศไทยก็จะนำรายได้เข้าประเทศ”

 

สำหรับตลาดที่ได้รับผลกระทบขนาดนี้ในตลาดสหราชอาณาจักรปรากฏว่าในบรรดาตลาดเข้าที่ 100% นั้นเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตร้านอาหารและโรงแรมของชาวเอเชียประมาณ 70% ซึ่งยังไม่ได้รับผลกระทบเพราะในโซนเอเชียอาจจะมีความเข้าใจว่าเป็นอย่างไร แต่ที่มีความผลกระทบคือ 30% ที่เป็นของมีเจ้าของเป็นอีอยู่หรือยุโรปต้องทำความเข้าใจต่อไปซึ่งวันที่8 ก.ค. จะได้ข้อสรุปร่วมกันและแก้คำผิด