รถไฟทางคู่ "ขอนแก่น-หนองคาย" เชื่อมศูนย์กลางเศรษฐกิจอีสาน

13 ม.ค. 2562 | 08:00 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ม.ค. 2562 | 21:34 น.
3.6 k
รถไฟเส้นทางนี้ ล่าสุด ผ่านการพิจารณาเห็นชอบด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้เพียงรอการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาเรื่องความคุ้มค่าการลงทุนเท่านั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะเจ้าของโครงการ ก็พร้อมจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ดำเนินการในปี 2562 ต่อไป

สำหรับมาตรฐานและคุณลักษณะของรถไฟทางคู่เส้นทางนี้ มีขนาดความกว้างของราง 1 เมตร (Meter Gauge) มีจุดเริ่มต้นโครงการที่ กม.453+955 (ต่อจากรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น) และไปสิ้นสุดโครงการที่สถานีรถไฟหนองคาย (กม.620+500) ระยะทาง 167 กิโลเมตร


20543

เส้นทางสายนี้ถือเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ ดังนั้น จึงจัดให้มีสถานี 14 สถานี และ 4 ที่หยุดรถ 4 ชานชาลาบรรทุกสินค้า 1 ชานชาลาเพื่อบรรทุกทหาร โดยชานชาลาเพื่อบรรทุกสินค้า ได้แก่ สถานีโนนพะยอม (ร.ฟ.ท. ดำเนินการอยู่แล้ว) สถานีโนนสะอาด สถานีหนองตะไก้ และสถานีนาทา ส่วนชานชาลาบรรทุกทหารอยู่ที่สถานีหนองตะไก้

อาคารสถานี ประกอบด้วย อาคารสถานีที่สร้างใหม่ (สถานีขนาดเล็ก) มีลักษณะการใช้งานเป็นสถานีชั้น 2 จำนวน 5 สถานี และสถานีชั้น 3 จำนวน 1 สถานี (สถานีนาทา) มีพื้นที่ประมาณ 300 ตร.ม. ได้แก่ สถานีนํ้าพอง สถานีเขาสวนกวาง สถานีโนนสะอาด + CY สถานีกุมภวาปี สถานีหนองตะไก้ + CY + ชานชาลาบรรทุกทหาร สถานีนาทา + CY + Light Maintenance ส่วนอาคารสถานีที่ปรับปรุง (สถานีขนาดเล็กและสถานีขนาดใหญ่) นั้น มีลักษณะการใช้งานเป็นสถานีชั้น 3 จำนวน 6 สถานี พื้นที่ประมาณ 240-260 ตร.ม. ได้แก่ สถานีสำราญ สถานีโนนพะยอม (CY ร.ฟ.ท.ดำเนินการอยู่แล้ว) สถานีห้วยเกิ้ง สถานีห้วยสามพาด สถานีหนองขอนกว้าง และสถานีนาพู่ มีลักษณะการใช้งานเป็นสถานีชั้น 1 จำนวน 2 สถานี มีพื้นที่ประมาณ 1,350 ตร.ม.

ประโยชน์รถไฟทางคู่เส้นทางสายนี้ไม่ต้องรอสับหลีก ทำให้เดินรถได้ตรงตามตารางเวลา ทำความเร็วในการเดินรถได้สูงสุด 160 กม./ชม.

หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,434 ระหว่างวันที่ 10-12 มกราคม 2562

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว