เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์ | ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ (รังสิต-บางปะอิน)

13 พ.ค. 2561 | 13:16 น.
อัปเดตล่าสุด :13 พ.ค. 2561 | 20:16 น.
1.1 k
130561-1303

[caption id="attachment_280717" align="aligncenter" width="503"] ©YT/กรมทางหลวง ©YT/กรมทางหลวง[/caption]

โครงการก่อสร้างทางยกระดับส่วนต่อขยายอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ช่วงรังสิต-บางปะอิน กรมทางหลวง (ทล.) อยู่ระหว่างการเร่งผลักดันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรและขนส่งในโซนพื้นที่ด้านเหนือของกรุงเทพมหานครไปยังภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากถนนพหลโยธินจัดเป็นถนนสายหลักของประเทศที่ใช้ในการเดินทางและขนส่งสินค้าเข้า-ออกพื้นที่กรุงเทพฯ

เส้นทางดังกล่าวนี้ได้ถูกออกแบบให้เป็นถนนรูปแบบมอเตอร์เวย์ที่จะใช้เป็นถนนอีกหนึ่งเส้นทางที่มีจุดเชื่อมต่อ เพื่อรองรับการเดินทางไปยัง จ.พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่ภาคเหนือ พร้อมกับออกแบบให้เชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์เส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา อีกทั้งยังเชื่อมกับถนนพหลโยธิน ถนนกาญจนาภิเษก ให้การเดินทางสะดวก รวดเร็ว อีกด้วย


GP-3354_180513_0003

ในการออกแบบได้จัดให้เป็นทางยกระดับขนาด 6 เลน (ทิศทางละ 3 เลน) มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณจุดสิ้นสุดทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ในปัจจุบัน (ประมาณ กม. 3+942 ของถนนพหลโยธิน) และจุดสิ้นสุดโครงการประมาณ กม. 15+924 ของถนนพหลโยธิน บริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน ซึ่งเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 32 หรือถนนสายเอเชีย โดยกำหนดจุดขึ้น-ลง 7 จุด ได้แก่ บริเวณด่านโรงกษาปณ์, ด่านคลองหลวง, ด่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ด่านนวนคร, ด่านมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, ด่านประตูน้ำพระอินทร์ และด่านบางปะอิน

ทางยกระดับเส้นทางนี้มีระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร ตามผลการศึกษามีมูลค่าการลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 18.2% โดยช่วงบางปะอินจำเป็นต้องเวนคืนที่ดินรวมประมาณ 8-10 ไร่ เบื้องต้นนั้น เส้นทางนี้ตามผลการศึกษาจะสามารถรองรับปริมาณการจราจรได้ถึง 8.8 หมื่นคันต่อวัน และเพิ่มปริมาณขึ้นเป็นประมาณ 1.46 แสนคันต่อวัน ในปี 2582

 

[caption id="attachment_280718" align="aligncenter" width="503"] ©YT/กรมทางหลวง ©YT/กรมทางหลวง[/caption]

ดังนั้น จึงจัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโครงข่ายถนนสายหลักสู่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนการเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ลดระยะเวลาการเดินทางและลดต้นทุนการขนส่ง ส่งเสริมเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างภูมิภาค ยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในระดับอาเซียนอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย


……………….
คอลัมน์ : เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,354 วันที่ 5-7 เม.ย. 2561 หน้า 12

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เมกะโปรเจ็กต์คมนาคมอืด ลุ้นเปิดประมูลล็อต 2 ปีนี้ อีกกว่า 1 ล้านล้านบาท
ชิงเค้กเมกะโปรเจ็กต์ แบ่งเงินลงทุนชัดเจน รวมกว่า 2 แสนล้าน


e-book-1-503x62