อนุมัติท่าเรือบกเชื่อมนิคมอุดร เอกชนปลื้มพร้อมลงทุนวางรางรถไฟ

13 มี.ค. 2561 | 06:00 น.
502
นิคมอุดรฯ ปลื้ม สนข.เห็นชอบให้ใช้พื้นที่ทำเป็นท่าเรือบก บนพื้นที่ 650 ไร่ ใช้ประโยชน์ร่วมกันกับโครงการ คอนเทนเนอร์ยาร์ดของ ร.ฟ.ท.

นายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล ประธานกรรมการ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด เปิดเผยว่า ทางบริษัทได้รับหนังสือ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 โดยอ้างถึงหนังสือของ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด ที่ นอ.059/2560 ลว. 22 พฤศจิกายน 2560 ว่าทาง สนข. เห็นชอบ ตามที่ทางโครงการได้แจ้งเสนอโครงการท่าเรือบก(Inland Contianer Depot) ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เพื่อขอให้การพิจารณาและขอให้การสนับสนุนผลักดันข้อเสนอดังกล่าว โดยบรรจุในแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟ สนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยวและพัฒนาพื้นที่

[caption id="attachment_266965" align="aligncenter" width="503"] ภาพเมื่อตอนเปิดโครงการเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี ภาพเมื่อตอนเปิดโครงการเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี[/caption]

ทั้งนี้ สนข. พิจารณาข้อเสนอดังกล่าวแล้วเห็นว่าการที่ทางโครงการเสนอให้ใช้พื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีที่ติดทางรถไฟเป็นจุดกองเก็บสินค้านั้น เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการขนส่งสินค้าทางราง ดังนั้น สนข. จึงได้เสนอคณะกรรมการกำกับงานศึกษาแผนแม่บทฯ โดยได้บรรจุไว้ในแผนแม่บท การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับขนส่งสินค้า เป็นแผนระยะกลาง ปี 2565-2569 พร้อมกันนี้ทาง สนข.ได้เสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณามอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พิจารณาดำเนินการต่อไป

นายสุวิทย์ กล่าวว่า โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ดำเนินการตามมติของรัฐมนตรี ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ มีพื้นที่โครงการอยู่ติดกับเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ-หนองคาย ห่างจากสถานีหนองตะไก้ อ.เมืองอุดรธานี ประมาณ 1.8 กม. และโครงการมีแนวคิดพัฒนาพื้นที่ของโครงการส่วนหนึ่งประมาณ 500 ไร่ ไปพัฒนาเป็นโครงการ ท่าเรือบก Inland Contianer Depot:ICD แต่ก็มีปัญหา เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ก็มี โครงการ Contianer Yard:CY ในบริเวณพื้นที่ว่างของสถานีรถไฟหนองตะไก้ ซึ่งทางโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ได้เสนอขอรับการสนับสนุนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้วางรางระยะทางประมาณ 1.8 กม.เข้าไปขอบเขตพื้นที่ของโครงการ ส่วนในพื้นที่ของโครงการจะเป็นผู้ลงทุนวางรางรถไฟเอง ทั้งนี้เพื่อจะได้ทำการขนส่งสินค้าจากพื้นที่ต่างๆ ที่มาใช้ ICD ไปยังจุดหมาย

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-2 “ที่ผ่านมา ทางโครงการ ได้ดำเนินการพัฒนาโครงการมาโดยตลอด อาทิเช่น การขุดบ่อขนาดใหญ่จำนวน 3 บ่อ ในพื้นที่ 178 ไร่ เพื่อจัดหานํ้าเพื่อใช้ในโครงการให้เพียงพอ เพิ่มเติมจากแหล่งนํ้าสาธารณะหนองคาล การจัดวางท่อนํ้าประปาเข้าสู่พื้นที่โครงการ การจัดหาไฟฟ้าเพิ่มเติมจากเดิม โดยจัดสรรพื้นที่ให้การไฟฟ้าจัดก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในพื้นที่โครงการและพื้นที่ใกล้เคียง”

นายสุวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของโครงการ ICD นั้น ตามแผนงานเดิมจะใช้พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ก็เพิ่มเป็น 650 ไร่ ตามกำหนดของ สนข.และมีการดำเนินต่อเนื่องมาจากปี 2557 ซึ่ง สนข.ได้แจ้งความเห็นชอบตามแผนการเสนอจากโครงการแล้ว ทางโครงการก็จะเตรียมจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินงาน เช่น จัดสรรพื้นที่เป็นฟรีโซน : Free Zone จัดก่อสร้างสถานที่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในการบริการแก่การส่งออก-นำเข้า ทางพิธีการทางศุลกากร จัดสรรพื้นที่สำหรับการก่อสร้างคลังสินค้า อุปกรณ์บริการ การขนส่งตู้สินค้า

อนึ่ง โครงการเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี มีเป้าหมาย เป็นนิคมอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะและประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอ นิกส์ อุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมยางพาราขั้นปลาย อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมสนับสนุนการผลิตและศูนย์กระจายสินค้า

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,347 วันที่ 11 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว