เกษตรจ่อชงครม.สัญจรของบ 8.7 พันล.แก้น้ำท่วม-แล้ง-กัดเซาะชายฝั่ง

04 มี.ค. 2561 | 17:23 น.
อัปเดตล่าสุด :05 มี.ค. 2561 | 00:23 น.
เกษตรฯ เตรียมชงครม.สัญจร 5-6 มี.ค. ของบ 8.7 พันล้าน แก้น้ำท่วม แล้ง กัดเซาะชายฝั่ง

น.สพ.สรวิศ ธานีโต โฆษกและผู้ตรวจราชกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมเสนอแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ในช่วงที่นายกรัฐมนตรีประชุมยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้แทนเกษตรกร ในวันที่ 6 มีนาคม 2561

"ด้านการบริหารจัดการน้ำขอมติ ครม.ในส่วนงบสนับสนุนงบประมาณ (เพิ่มเติม) และงบประมาณใหม่เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และป้องการการกัดเซาะชายฝั่ง จะใช้งบประมาณ 8,400 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1.การแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง มี 2 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการบรรเทาอุทกภัยและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เพชรบุรีตอนล่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในวงเงิน 8,500 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี ซึ่งในระยะแรกได้เริ่มดำเนินการในคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา 3 ของเขื่อนเพชร เพื่อให้ระบายน้ำออกแม่น้ำเพชรบุรีได้ในเบื้องต้นในปริมาณ 100 ลบ.ม./วินาที และจำเป็นต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 1,100 ล้านบาท

โดยได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2560 (เพิ่มเติม) จากกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ดำเนินการแล้วเป็นเงิน 327 ล้านบาท ส่วนงบประมาณในปี 2561 กรมชลประทาน จะได้รับงบประมาณ (งบกลาง) เป็นเงิน 200 ล้านบาท และในการนี้จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณ (เพิ่มเติม) จากคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เพชรบุรีตอนล่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อีกเป็นเงินจำนวน 573 ล้านบาทสำหรับที่เหลืออีก 7,400 บาท จะเสนอเป็นโครงการขนาดใหญ่ต่อไป

saw

2.โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเพชรบุรี (ระยะที่3) ฝั่งซ้ายตั้งแต่สะพานวัดจันทราวาส อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ความยาว 250 เมตร เนื่องจากประชาชนบริเวณตำบลคลองกระแซง และชุมชนใกล้เคียงในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรีมีพื้นที่ติดแม่น้ำเพชรบุรี และช่วงน้ำหลากก่อให้เกิดน้ำท่วมชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัด ทำให้เกิดความเสียหายเป็นประจำ หากไม่ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมอาจเกิดการพังทลายของตลิ่งและน้ำท่วมชุมชน รวมทั้งต้องประสบปัญหาอุทกภัยอย่างรุนแรงเหมือนที่ผ่านมาก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ด้านเศรษฐกิจแบบประเมินค่ามิได้

"เพื่อเป็นการป้องกันน้ำท่วมจากแม่น้ำเพชรบุรี และเพื่อป้องกันความเสียหายให้แก่บ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นการเพิ่มพื้นที่สันทนาการของชุมชนใกล้เคียง จึงเสนอโครงการดังกล่าวเพื่อดำเนินกิจกรรม ก่อสร้างเขื่อนแบบตอกเสาเข็ม สอดแผ่น คสล.ด้านบนเสริมครีบผนัง คสล.หน้าเขื่อนเปิดด้วยหินทิ้ง ความยาว 250 เมตร จำนวน 25 ล้านบาท โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน"

น.สพ.สรวิศ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค อาทิ โครงการสนับสนุนการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทน ให้แก่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เนื่องจากจังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับการผ่อนผันให้ใช้พื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) บริเวณ หมู่ที่ 3 บ้านต้นลำแพน ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 2,310 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา เพื่อดำเนินโครงการแก้มลิงทุ่งหิน ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดงบประมาณ ปี 2561 จำนวน 67 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง และน้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่ ประชาชนทั้งในเขตจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดเพชรบุรีบางส่วน

สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของพื้นที่กลุ่มจังหวัด และจำเป็นต้องหางบประมาณปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนให้แก่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 20 เท่า วงเงินกว่า 563 ล้านบาท ( 2,310 ไร่ 56 ตารางวา) ค่าชดเชยไร่ละ 1.21 หมื่นบาท จำนวน 20 เท่า (2,310.89x12,190x20) คิดเป็นเงิน กว่า 563 ล้านบาท ซึ่งหากจะใช้งบประมาณในการพัฒนาจังหวัด จะทำให้จังหวัดสมุทรสงคราม ต้องขาดงบประมาณในการพัฒนาจังหวัดเป็นระยะเวลาหลายปีติดต่อกัน เนื่องจากในแต่ละปีงบประมาณได้รับจัดสรรเพียงประมาณ 190 ล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะขอรับการสนับสนุนจากมติคณะรัฐมนตรี นี้

dampe

นอกจากนี้ยังมีโครงการฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่เลนงอกใหม่ ในท้องที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อให้ป่าชายเลนเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด ก่อให้เกิดอาชีพต่อชุมชน และสร้างรายได้ต่อชุมชนแนวชายฝั่งทะเล ในตำบลบางตะบูน ตำบลบางตะบูนออก ตำบลบ้านแหลม ตำบลบางขุนไทร โดยทำการปักไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น ระยะทาง 20 กิโลเมตร คิดเป็นเงินกว่า 80 ล้านบาท ปลูกป่าชายเลน จำนวน 625 ไร่ เป็น 3.9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นกว่า 84 ล้านบาท และโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันตก พร้อมทางเดินทาง ยาว 1 เมตร ในพื้นที่หมู่ที่ 6,9 และ 10 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม ในวงเงิน 47 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี

ส่วนด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูง นอกเหนือจากแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ คือ ชะอำ หัวหินแล้ว ยังมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่โดดเด่น ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร เช่น บ้านท่าคา จังหวัดสมุทรสงคราม แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี บ้านท่าคร้อ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และหมู่บ้านเบญจรงค์ จังหวัดสมุทรสาคร เป็นต้น รวมถึงมีศักยภาพในการเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว (Long stay)

"ตามนโยบายของรัฐบาลได้กำหนดให้มีโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ขึ้น ซึ่งมีงบประมาณส่วนหนึ่งในการพัฒนาหมู่บ้านเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวโดยเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ OTOP ทั้งนี้หมู่บ้านเป้าหมายในกลุ่มจังหวัดฯ ได้จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณปี 2561 เพิ่มเติมมาแล้ว จึงใคร่ขอให้รัฐบาลให้สนับสนุนโครงการดังกล่าว"
บาร์ไลน์ฐาน

สำหรับด้านการค้า การลงทุน และการค้าชายแดน จะดันให้เป็นนครแห่งครัวโลก กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง / มีศักยภาพในการเป็นนครแห่งครัวโลกในด้านอาหารทะเล (Hub of Seafood) ซึ่งมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการจัดการส่งสินค้า การแปรรูป การตลาดมาอย่างต่อเนื่อง มีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1 แสนล้านบาท รวมทั้งเป็นตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

"ข้อเสนอที่จะขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล มี 3 ประการ ประกอบด้วย (1) ยกระดับพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม โดยให้กระทรวงศึกษาธิการ และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ ให้แก่ สถาบันอาชีวศึกษา ภาคกลาง 5 (สมุทรสงคราม) และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงงานจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเพิ่มทักษะฝีมือแรงงานรองรับกับอุตสาหกรรม และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Productivity) เพื่อแก้ไขปัญหาและลดระยะเวลาการผลิตสินค้า(2) ยกระดับศูนย์บริการใบรับรองสินค้าประมงส่งออก (OSS) ให้สามารถบริการได้เบ็ดเสร็จ โดยขอให้สำนักงาน ก.พ. จัดสรรอัตรากำลังให้กรมประมงเพื่อรองรับการให้บริการดังกล่าว"

อย่างไรก็ตามขณะนี้ภาคเอกชนอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางพัฒนา “ตลาดทะเลไทย” สู่ศูนย์แสดงสินค้าและบริการด้านอาหารแบบครบวงจร จึงเสนอมาเพื่อรับทราบแนวทาง หากมีผลการศึกษาเป็นประการใด จะได้เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับการสนับสนุนต่อไป 2) การยกระดับจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขรเป็นจุดผ่านแดนถาวรการยกระดับจุดผ่อนปรนด่านสิงขรเป็นจุดผ่านแดนถาวร ยังไม่ประสบความสำเร็จ จึงขอรัฐบาลพิจารณาผลักดันการยกระดับเป็นจุดผ่านแดนถาวร

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว