การลดช่องว่างระหว่างเจเนเรชั่นในธุรกิจครอบครัว

07 พ.ค. 2566 | 11:50 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.ค. 2566 | 18:40 น.

การลดช่องว่างระหว่างเจเนเรชั่นในธุรกิจครอบครัว คอลัมน์ Designing Your Family Business รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์ และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย [email protected]

พ่อแม่จำนวนมากในธุรกิจครอบครัวไม่ค่อยให้ความสนใจมากนักต่อการมีกับลูกในช่วงวัยเด็ก ด้วยข้ออ้างของงานที่ยุ่งเหยิงและธุรกิจซึ่งต้องการเวลาอย่างมาก ทำให้เมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่นรู้สึกว่างเปล่าไร้อารมณ์ความผูกพัน และไม่ใกล้ชิดพ่อแม่ ขณะที่คนรุ่นเก่าก็เห็นว่าเป็นการยากที่จะรับมือกับความต้องการ

ความคิดของลูกๆ รวมถึงรู้สึกว่าไม่ค่อยมีเรื่องพูดคุยกันมากนักนอกจากในเรื่องความต้องการทั่วๆ ไปของลูก นอกจากนี้การมีช่องว่างที่กว้างขึ้นของประสบการณ์ระหว่างคนแต่ละรุ่นยังนำไปสู่การลดความผูกพันระหว่างรุ่นอีกด้วย  จึงมีข้อแนะนำวิธีลดช่องว่างในธุรกิจครอบครัวที่น่าสนใจดังนี้

หาพื้นที่ในการเวลาร่วมกัน (Shared Spaces) : วิธีนี้ควรเป็นก้าวแรกในการทำความเข้าใจซึ่งกันและกันและสื่อสารกันมากขึ้น คนรุ่นเก่าอาจสร้างกฎที่สามารถพัฒนาเป็นประเพณีได้ในเวลาต่อมา เช่น รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน มีโทรทัศน์เครื่องเดียวในบ้าน รับประทานอาหารเช้าร่วมกันในวันอาทิตย์กับสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด และเฉลิมฉลองวันสำคัญร่วมกัน เป็นต้น ทั้งนี้การแบ่งปันพื้นที่ เวลา และประสบการณ์ซึ่งกันและกันจะทำให้เกิดความผูกพันและการสื่อสารที่ดีขึ้น

สร้างโอกาสในการแบ่งปันประสบการณ์ (Creating opportunities to share) : ไม่ว่าครอบครัวจะอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันหรือไม่ก็ตาม จำเป็นต้องสร้างโอกาสในการสื่อสารขึ้นมา โดยครอบครัวต้องสร้างกลไกที่เป็นทางการเพื่ออำนวยความสะดวกในการพูดคุยระหว่างสมาชิกเกี่ยวกับปัญหาครอบครัวและธุรกิจในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการตัดสิน

การลดช่องว่างระหว่างเจเนเรชั่นในธุรกิจครอบครัว

แต่เต็มไปด้วยมีความไว้วางใจ และการเปิดเผย ซึ่งอาจเริ่มต้นด้วยการประชุมตามกำหนดการสัก 2-3 ครั้งต่อปี จนไปถึงการที่ครอบครัวสามารถสร้างสภาครอบครัว (family council) ซึ่งสมาชิกทุกคนในครอบครัวจะเป็นสมาชิกสภาครอบครัวรวมถึงลูกๆที่อยู่ช่วงวัยรุ่น

ขณะที่บางครอบครัวก้าวหน้าไปอีกขั้นโดยจัดตั้งสภาของสมาชิกรุ่นใหม่ (young council) เพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างสมาชิกรุ่นใหม่ โดยจะมีวิดีโอคอลกันตามกำหนดเวลาทุกเดือน ซึ่งทุกคนจะสามารถติดต่อกันได้อย่างไม่เป็นทางการและแบ่งปันความท้าทาย การเรียนรู้จากการทำงานและชีวิตส่วนตัว เป็นต้น

สนับสนุนการสื่อสาร (Championing communication) : เมื่อสมาชิกในครอบครัวสื่อสารกันไม่ค่อยดีนัก มักกลัวที่จะพูดอะไรบางอย่างที่อาจทำให้คนอื่นเหินห่างออกไปอีก ดังนั้นคนในครอบครัวต้องเข้าใจว่าความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นมีบทบาทสำคัญอย่างไรในการสร้างมรดก ความกลมเกลียว และการเติบโตของธุรกิจ

สมาชิกครอบครัวควรมีความเห็นอกเห็นใจซึ่งเต็มใจและสามารถรวมทุกคนเข้าด้วยกันได้ จึงจะสามารถส่งเสริมการมีส่วนร่วมได้มากขึ้น ทั้งนี้หากจำเป็นก็อาจมีการจ้างที่ปรึกษาหรือโค้ชจากภายนอกเข้ามาช่วยด้วย โดยบางครั้งครอบครัวจะมีส่วนร่วมกับโค้ชเพื่อเรียนรู้และฝึกฝนการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เครื่องมือสื่อสารเข้าช่วย ซึ่งช่วงเวลาเหล่านี้ยังจะช่วยให้สมาชิกในครอบครัวสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างลึกซึ้ง

ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าการเชื่อมช่องว่างระหว่างคนแต่ละรุ่นหรือแม้กระทั่งภายในรุ่นเดียวกัน มีความสำคัญมากต่อการสานต่อธุรกิจครอบครัว ดังที่ John L. Ward กูรูด้านธุรกิจครอบครัวได้เขียนไว้ในหนังสือ Perpetuating the Family Business: 50 Lessons Learned From Long Lasting, Successful Families in Business เมื่อบริษัทแห่งหนึ่งถูกขายให้กับกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายในครอบครัว ซีอีโอของบริษัทถูกถามโดยนักข่าวคนหนึ่งว่าทำไมครอบครัวถึงล้มเหลวในการสานต่อธุรกิจไป

คำตอบคือ มี 3 เหตุผล ได้แก่ การสื่อสาร การสื่อสาร การสื่อสาร เป็นการตอกย้ำความสำคัญในการ ขาดการสื่อสาร ขาดการสื่อสาร ขาดการสื่อสาร ดังนั้น ครอบครัวเจ้าของธุรกิจจึงมองข้ามหรือเพิกเฉยต่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพไม่ได้ แต่จงสื่อสารกันให้มากที่สุดเพื่อลดทุกช่องว่างและความห่างของคนแต่ละวัยให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

ที่มา: Nupur Pavan Bang and Simran Senani. 05 JAN 2023.  Bridging Generational Divide in Family Businesses Through Communication.Available: https://www.outlookindia.com/business/bridging-generational-divide-in-family-businesses-through-communication-news-251014

ข้อมูลเพิ่มเติม: www.famz.co.th

หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,884 วันที่ 4 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566