นับเป็นเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดที่เคยขึ้นในรอบ 100 ปีของเมียนมา และสร้างแรงสั่นสะเทือนรับรู้ไปไกลถึงประเทศเพื่อนบ้านหลายแห่ง ที่ไม่ได้มีพรมแดนติดกัน รวมทั้งทำให้ประเทศไทยมีตึกถล่ม 1 แห่งในกรุงเทพฯ
แผ่นดินไหวในเมืองสะกาย (Sagaing) ทางตอนกลางของประเทศเมียนมา ตามมาด้วยรายงานความเสียหายจากเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ และยังรวมถึงกรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของประเทศที่อยู่ห่างออกไปกว่า 150 ไมล์ (241 กิโลเมตร) มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 144 รายและบาดเจ็บมากกว่า 730 ราย ตามที่ CNN รายงานเมื่อเวลา 23.00 น. (28 มีนาคม) ตามเวลาไทย
ผู้คนรวมตัวกันบนถนนหลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่บริเวณใจกลางเมียนมาร์ในเมืองมัณฑะเลย์เมียนมาร์วันที่ 28 มีนาคม 2025 REUTERS
สถานการณ์ที่ยากลำบาก รัฐบาลทหารของเมียนมาได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในหลายภูมิภาค พร้อมกับร้องขอความช่วยเหลือจากนานาชาติ ซึ่งถือเป็นการแสดงออกที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น
พล.อ. มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาร์ร้องขอความช่วยเหลือจากประชาคมโลกเป็นกรณีพิเศษ หลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่
ผมได้ลงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเพื่อประเมินสถานการณ์ด้วยตนเอง และผมอยากเรียกร้องให้ทุกคนร่วมมือกันและสนับสนุนภารกิจกู้ภัยที่กำลังดำเนินอยู่ ผมได้ประกาศภาวะฉุกเฉินและขอความช่วยเหลือจากนานาชาติ ผมขอเชิญชวนองค์กรและประเทศต่างๆ ที่ต้องการเข้ามาช่วยเหลือผู้คนในประเทศของเรา”
องค์การอนามัยโลกเตือนว่า ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวที่เมียนมาร์เมื่อวันศุกร์ และสร้างความเสียหายให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นความเสียหายมหาศาล
มาร์กาเร็ต แฮร์ริส แห่ง WHO กล่าวว่า องค์กรได้เปิดใช้งานศูนย์กลางโลจิสติกส์เพื่อค้นหาสิ่งของบรรเทาทุกข์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหว และคาดว่าจะมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
ผู้ขับขี่ขับรถผ่านอาคารที่ได้รับความเสียหายหลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่บริเวณใจกลางเมียนมาร์ในเมืองมัณฑะเลย์ประเทศเมียนมาร์วันที่ 28 มีนาคม 2025 REUTERS
สถานการณ์ยิ่งซับซ้อนขึ้น
เมื่อโครงสร้างพื้นฐานของเมียนมายังอ่อนแอจากความขัดแย้งทางการเมืองและข้อจำกัดด้านการสื่อสาร ทำให้การกระจายข้อมูลจากพื้นที่ประสบภัยเป็นไปอย่างล่าช้า ประชาชนจำนวนมากไม่มีไฟฟ้าใช้ อินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้น้อย และการรายงานข่าวจากสื่อต่างประเทศแทบไม่มี เพราะรัฐบาลทหารควบคุมการเข้าประเทศอย่างเข้มงวด
ผู้คนขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านอาคารที่ได้รับความเสียหายหลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่บริเวณตอนกลางของประเทศเมียนมาร์ในเมืองมัณฑะเลย์ประเทศเมียนมาร์เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2025 REUTERS
BBC รายงานว่า เมียนมาเผชิญการปกครองโดยกองทัพมาแทบตลอดหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1948 แม้จะเริ่มดีขึ้นในปี 2011 เมื่อมีความพยายามปฏิรูป และจัดการเลือกตั้งเสรีในปี 2015 ซึ่ง อองซาน ซูจี และพรรคของเธอได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น
แต่ในปี 2021 เมื่อกองทัพภายใต้การนำของ พล.อ. มิน อ่อง หล่าย ทำรัฐประหาร โดยอ้างว่าการเลือกตั้งมีการโกง
แฟ้มภาพ : พลเอกอาวุโส มิน ออง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของ เมียนมาร์ผู้ทำการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นประธานในขบวนพาเหรดของกองทัพในวันกองทัพที่เนปิดอว์ เมียนมาร์วันที่ 27 มีนาคม 2021 REUTERS
อองซาน ซูจีและเจ้าหน้าที่รัฐบาลหลายคนถูกควบคุมตัว จุดชนวนให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ทั่วประเทศ แต่กองทัพตอบโต้ด้วยความรุนแรง ทั้งแก๊สน้ำตาและกระสุนจริง ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ตามรายงานขององค์กรสิทธิมนุษยชน
จากการอารยะขัดขืนของประชาชน ค่อย ๆ กลายเป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธของกลุ่มติดอาวุธเรียกร้องประชาธิปไตยและกลุ่มชาติพันธุ์ จนบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบ
ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา การต่อสู้ระหว่างกองทัพกับกองกำลังต่อต้านทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กองทัพเมียนมาสูญเสียกำลังพลและอำนาจควบคุมในหลายพื้นที่ ขณะเดียวกัน ความไม่พอใจต่อผู้นำทหารก็เพิ่มสูงขึ้นในหมู่ทหารเอง เพราะมีทหารจำนวนมากเริ่มไม่ซื่อตรง
การสู้รบทำให้ประชาชนจำนวนมหาศาลต้องใช้ชีวิตอย่างไร้ความปลอดภัย ขาดการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ อาหาร และที่อยู่อาศัย
สหประชาชาติรายงานว่ามีผู้พลัดถิ่นแล้วกว่า 3.5 ล้านคน และคาดว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้นต่อไป หากความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป
ผู้คนรวมตัวกันบนถนนหลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่บริเวณใจกลางเมียนมาร์ในเมืองมัณฑะเลย์เมียนมาร์วันที่ 28 มีนาคม 2025 REUTERS
ขณะเดียวกัน ภาวะขาดแคลนอาหารได้เพิ่มสูงขึ้นถึงระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและยังเสริมว่าภาวะเงินเฟ้อที่รวดเร็วได้ทำให้หลาย ๆ คนไม่อาจซื้ออาหารได้
เมื่อไม่กี่วันก่อน สหประชาชาติยังประกาศลดงบช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเมียนมากว่า 1 ล้านคน จากปัญหาการขาดแคลนเงินทุนระดับโลก
แผ่นดินไหวครั้งนี้ไม่เพียงส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานและชีวิตผู้คนในเมืองสะกายซึ่งเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มกบฏ เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ที่นี่เคยเป็นสถานที่เกิดการสู้รบอย่างหนักระหว่างกลุ่มกบฏและกองทัพ โดยมีรายงานในท้องถิ่นระบุว่ามีการโจมตีทางอากาศ ส่งผลให้ผู้คนหลายพันคนต้องอพยพหนี แต่ยังสร้างผลกระทบต่อเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนกว่า 1.5 ล้านคน และเป็นอีกหนึ่งจุดปะทะสำคัญระหว่างกองทัพกับกลุ่มต่อต้าน
ข้อมูลจากในประเทศยังคงถูกส่งออกมาอย่างจำกัด แต่มีรายงานว่าโรงพยาบาลในกรุงเนปิดอว์ ถูกแปรสภาพเป็นศูนย์รับผู้บาดเจ็บขนาดใหญ่ ขณะที่ภาพถ่ายจากภาคพื้นดินเผยให้เห็นถนนแตกร้าว อาคารพังถล่ม และผู้บาดเจ็บจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาโดยที่แม้แต่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลเองก็ได้รับความเสียหาย