thansettakij
ญี่ปุ่นเตรียมรับมือ ภูเขาไฟฟูจิปะทุ พร้อมแผนฉุกเฉิน 4 ระยะ

ญี่ปุ่นเตรียมรับมือ ภูเขาไฟฟูจิปะทุ พร้อมแผนฉุกเฉิน 4 ระยะ

26 มี.ค. 2568 | 10:29 น.
อัปเดตล่าสุด :26 มี.ค. 2568 | 10:30 น.
4.5 k

รัฐบาลญี่ปุ่นเผยแนวปฏิบัติสำหรับชาวโตเกียว หากภูเขาไฟฟูจิปะทุ เเบ่งแผนฉุกเฉินออกเป็น 4 ระยะ แนะอยู่บ้าน เลี่ยงความตื่นตระหนก สวมหน้ากาก-แว่นตา เตรียมเสบียงให้พอ

26 มีนาคม 2568  รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศแนวทางปฏิบัติฉุกเฉินฉบับใหม่ สำหรับประชาชนในกรุงโตเกียวและพื้นที่ใกล้เคียง หากเกิดเหตุการณ์ ภูเขาไฟฟูจิปะทุ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภัยพิบัติที่อาจสร้างผลกระทบรุนแรงต่อเมืองหลวงของประเทศ

แนวทางที่เพิ่งเผยแพร่นี้ ได้รับการพัฒนาจากคณะผู้เชี่ยวชาญซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นแต่งตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดย เน้นให้ประชาชน “อยู่ในบ้าน” เป็นหลัก เพื่อป้องกันความโกลาหล หากเกิดการปะทุจริง และมีเถ้าถ่านตกลงมาปกคลุมกรุงโตเกียว

 

จำลองภาพปะทุเทียบเหตุการณ์เมื่อ 300 ปีก่อน

สื่อท้องถิ่นของญี่ปุ่นเผยภาพแอนิเมชันจำลองการปะทุของ ภูเขาไฟฟูจิ เทียบกับเหตุการณ์จริงเมื่อปี พ.ศ. 2250 (ค.ศ. 1707) ซึ่งกินเวลานาน 2 สัปดาห์ ไม่มีลาวาไหล แต่มีเถ้าถ่านกว่า 800 ล้านลูกบาศก์เมตร พวยพุ่งอย่างต่อเนื่อง

แนวทาง 4 ระยะ แบ่งตามปริมาณเถ้าถ่าน

รัฐบาลกำหนดแผนปฏิบัติการไว้ 4 ระยะ โดยพิจารณาตามระดับความรุนแรงของเถ้าถ่านที่ตกลงมา

ระยะที่ 1 ขี้เถ้าตก  3 ซม.  อยู่บ้าน งดกิจกรรมนอกบ้าน

ระยะที่ 2–3 ขี้เถ้าเพิ่มขึ้น 3–29 ซม.  เตรียมตัวและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ระยะที่ 4 ขี้เถ้าตก  30 ซม. บริการสาธารณะ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และสัญญาณโทรศัพท์มือถือ อาจหยุดชะงัก ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ประชาชนเตรียมเสบียงฉุกเฉินให้มากกว่าปกติ โดยทั่วไป ชาวโตเกียวจะตุนของใช้ไว้ 1 สัปดาห์สำหรับกรณีแผ่นดินไหวใหญ่

 

ภูเขาไฟฟูจิปะทุครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2250 หรือกว่า 300 ปีที่แล้ว กินเวลาถึง 2 สัปดาห์ และนับตั้งแต่นั้นมาก็ยังคงสงบนิ่ง แต่รัฐบาลเห็นความจำเป็นในการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการปะทุในระดับเดียวกันอาจทำให้เถ้าภูเขาไฟปกคลุมหนา 10 เซนติเมตรขึ้นไป ในพื้นที่กรุงโตเกียว จังหวัดคานากาวะ รวมถึงพื้นที่อื่นๆอีกด้วย

อ้างอิงข้อมูล