อินโดนีเซียกำลังเดินเกมใหญ่ระดับชาติ ภายใต้การนำของ ประธานาธิบดีปราโบโว ซูเบียนโต ทั้งในด้านนโยบายประชานิยมที่แจกอาหารฟรีให้ประชาชนมากกว่าหนึ่งในสี่ของประเทศ และการเปิดตัวกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติใหม่ที่มีชื่อว่า "ดานันตารา" (Danantara Indonesia) ที่มีเป้าหมายจะเป็นกลไกทางเศรษฐกิจใหม่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประธานาธิบดีปราโบโว ซูเบียนโตแห่ง อินโดนีเซีย
แต่เบื้องหลังนโยบายเหล่านี้ กำลังสร้างแรงกระเพื่อมในตลาดการเงินและหมู่นักลงทุนที่จับตาอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด ทั้งในแง่ของศักยภาพ ความเสี่ยง และความเป็นไปได้ที่จะเดินตามรอยกองทุนอย่างเทมาเส็ก หรือ ซ้ำรอย 1MDB
โครงการแจกอาหารฟรีให้ประชาชนมากกว่า 25% ของประเทศ โดยใช้งบประมาณกว่า 71 ล้านล้านรูเปียห์ (ประมาณ 4.29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) กลายเป็นนโยบายที่ถูกจับตาทันทีหลังปราโบโวเข้ารับตำแหน่ง
ตลาดการเงินแสดงความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนของโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะความเป็นไปได้ที่รัฐบาลอาจต้องก่อหนี้เพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้เป็นงบประมาณ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของอินโดนีเซียในด้านความรอบคอบทางการคลัง (fiscal prudence) ที่สร้างขึ้นอย่างยากลำบากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
รูเปียห์อ่อนค่า ทำตลาดผันผวน
ค่าเงินรูเปียห์อ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินปี 1998 โดยสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานเมื่อวันที่ 25 มี.ค. ว่า ค่าเงินรูเปียห์ อินโดนีเซีย อ่อนค่าลงอย่างหนักถึง 0.5% ดำดิ่งลงไปแตะ 16,642 รูเปียห์/ดอลลาร์ นักวิเคราะห์ชี้ว่าเกิดจากแรงกดดันร่วมกันของหลายปัจจัย
เจ้าหน้าที่ธนาคารกำลังนับ ธนบัตรเงินรูเปียห์ ของอินโดนีเซียที่ร้านแลกเงินในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียวันที่ 14 ตุลาคม 2022 REUTERS
ข้อมูลจากตลาดระบุว่า นักลงทุนต่างชาติได้ถอนเงินออกจากตลาดหุ้นอินโดนีเซียไปแล้วกว่า 2 พันล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ต้นปี 2025
ชื่อเต็มว่า “Daya Anagata Nusantara Indonesia” เป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ริเริ่มโดยปราโบโว ตั้งขึ้นเพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจให้แตะระดับ 8% ภายในปี 2029
ชื่อ “Danantara” มาจาก 3 คำในภาษาอินโดนีเซีย
กองทุนนี้เป็น กองทุนลำดับที่ 2 ของอินโดนีเซียต่อจาก Indonesia Investment Authority (INA) แต่มีโครงสร้างคล้าย Temasek ของสิงคโปร์ คือจะเข้าไปถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจโดยตรง และมีอำนาจบริหารสินทรัพย์ในระดับนโยบาย
เป้าหมายของ Danantara คือการบริหารสินทรัพย์กว่า 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 30 ล้านล้านบาท) ในช่วงเริ่มต้นมีงบประมาณตั้งต้น 2 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเน้นลงทุนใน 4 ด้านหลัก
แม้ Danantara จะเปิดตัวด้วยภาพของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแห่งอนาคต แต่ก็ถูกตั้งคำถามอย่างหนักจากนักวิเคราะห์และนักลงทุน โดยเฉพาะ 3 เรื่องหลัก
1. เสี่ยงการแทรกแซงทางการเมือง
เพราะกองทุนจะบริหารโดยรัฐโดยตรง นักลงทุนกังวลว่า การตัดสินใจอาจไม่ได้อิงบนหลักเศรษฐกิจเชิงวิชาการ แต่ถูกแทรกโดยเจตนาทางการเมือง
2. ปัญหาการคลัง
รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศตัดงบประมาณกระทรวงและหน่วยงานรัฐรวม 300 ล้านล้านรูเปียห์ เพื่อนำมาสนับสนุน Danantara สิ่งนี้กระตุ้นกระแสสังคมว่า “อาจสร้างภาระมากกว่าผลลัพธ์” และกระทบการทำงานของรัฐส่วนอื่น ๆ
3. เงาของ 1MDB
แม้จะไม่มีหลักฐานใดโยงไปถึงการทุจริต แต่ด้วยขนาดกองทุนที่ใหญ่ บริหารโดยภาครัฐ และไม่มีกรอบธรรมาภิบาลที่ชัดเจน นักลงทุนบางส่วนเริ่มเปรียบเทียบ Danantara กับ 1MDB ของมาเลเซีย ที่เคยเกิดอื้อฉาวระดับโลก
ดึง “ดรีมทีมระดับโลก” สร้างความเชื่อมั่น
เพื่อลดแรงเสียดทาน ปราโบโวและทีมบริหาร Danantara จึงตัดสินใจ ดึงที่ปรึกษาระดับโลก เข้ามาสร้างความเชื่อมั่น
รายชื่อที่ถูกประกาศเมื่อ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้แก่
รวมทั้งหมด 22 คน ที่จะให้คำแนะนำเชิงยุทธศาสตร์แก่ประธานาธิบดีอินโดนีเซียโดยตรงไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงอีก 2 ราย คือ เหลียงเซง วี ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษา Dragonfly เเละ เฟเบรียนี เอ็ดดี้ CEO บริษัทเหมืองแร่ Vale Indonesia
ที่น่าสนใจคือ การเชิญ อดีตประธานาธิบดีทั้ง 2 คนของอินโดนีเซีย คือ ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน โจโก วิโดโด มาเป็นกรรมการขับเคลื่อนกองทุน ซึ่งถือเป็นการผนึกกำลังเชิงสัญลักษณ์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอินโดนีเซีย
เสน่ห์อินโดฯ สะดุด นักลงทุนผวานโยบายประชานิยม “ปราโบโว”
จากประเทศดาวรุ่งที่ร้อนแรงที่สุดในสายตานักลงทุนเมื่อปีที่แล้ว อินโดนีเซียกำลังสูญเสียความน่าดึงดูดอย่างรวดเร็ว
เมื่อความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเริ่มก่อตัว ภายใต้ผู้นำคนใหม่ ประธานาธิบดีปราโบโว ซูเบียนโต
สิ่งที่ทำให้นักลงทุนทั่วโลกเริ่มลังเล ไม่ใช่เพียงแค่ทิศทางเศรษฐกิจ แต่เป็น การเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งใหญ่ ที่เกิดขึ้นรวดเร็วและแรงจนน่าเป็นห่วง
นโยบายประชานิยม เสี่ยงเกินลิมิต
หนึ่งในนโยบายเร่งด่วนที่ปราโบโวเดินหน้าอย่างจริงจัง คือการ อัดฉีดงบประมาณสไตล์ประชานิยม ไม่ว่าจะเป็นการแจกอาหารฟรีให้ประชาชน ไปจนถึงการใช้เงินเพื่อกระตุ้นสวัสดิการในหลายมิติ
แต่นักเศรษฐศาสตร์และนักลงทุนกลับกังวลว่า นโยบายเหล่านี้จะ ดันการขาดดุลงบประมาณให้เข้าใกล้ขีดจำกัด 3% ของจีดีพี ซึ่งเป็นเพดานที่กฎหมายการคลังของอินโดนีเซียกำหนดไว้
ทหารคืนเวทีการเมือง
ความกังวลไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องเศรษฐกิจ รัฐสภาอินโดนีเซียเพิ่งผ่านกฎหมายอนุญาตให้กองทัพเข้ามารับตำแหน่งในฝ่ายบริหารพลเรือนได้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นการย้อนกลับนโยบายแยกบทบาททหารออกจากภาครัฐที่ดำเนินมาตลอดนับตั้งแต่ปี 1998 หลังการล่มสลายของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต ผู้นำเผด็จการที่ครองอำนาจนานถึง 32 ปี และอดีต “พ่อตาของปราโบโว”