เลือกตั้ง 2566 บัตรดี-บัตรเสีย มีลักษณะอย่างไรบ้าง

13 พ.ค. 2566 | 08:30 น.
517

เลือกตั้ง 2566 วันที่ 14 พ.ค.66 เปิดข้อมูลวิธีสังเกตการกรณี บัตรเลือกตั้ง "บัตรดี-บัตรเสีย" ต้องมีลักษณะอย่างไรบ้าง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป (เลือกตั้ง ส.ส.) เลือกตั้ง 2566 ในวันอาทิตย์ ที่ 14 พฤษภาคม 2566 โดย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยสำนักบริหารการทะเบียน ได้เปิดให้ประชาชนเข้า ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. รวมถึงการ แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักบริหารการทะเบียน www.bora.dopa.go.th ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ก่อนที่จะไปเลือกตั้ง ฐานเศรษฐกิจ รวบรวมข้อควรรู้สำหรับ "บัตรดี-บัตรเสีย" มีลักษณะอย่างไร โดยในการนับคะแนน จะวินิจฉัยบัตรเลือกตั้งออกเป็น 2 ลักษณะ คือบัตรดี และบัตรเสีย

บัตรดีต้องเป็นอย่างไร ? ต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้

  • ต้องมีเครื่องหมายในการลงคะแนน
  • เครื่องหมายต้องเป็นเครื่องหมายกากบาทเท่านั้น
  • เครื่องหมายกากบาทต้องอยู่ในช่องทำเครื่องหมายและต้องมีเครื่องหมายเดียวเท่านั้นและมีลักษณะบัตรที่ดี ดังนี้
  • เป็นบัตรที่นับเป็นคะแนนของ “ผู้สมัคร” หรือ “พรรคการเมือง”ผ่านการทําเครื่องหมายลงคะแนนเลือกตั้งในช่อง “หมายเลขของผู้สมัคร” หรือ “หมายเลขของบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง”
  • เป็นบัตรที่นับคะแนนผ่านการทําเครื่องหมายลงคะแนนเลือกตั้งในช่อง “ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด” หรือ “ไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด”

บัตรเสียต้องเป็นอย่างไร?

  • บัตรเลือกตั้งที่มีการลงคะแนนไม่เป็นไปตามลักษณะบัตรดี และไม่ให้นับเป็นคะแนนเลือกตั้ง
  • บัตรปลอม
  • บัตรที่มีการทําเครื่องหมายเพื่อเป็นที่สังเกตหรือเขียนข้อความใด ๆ ลงในบัตรเลือกตั้งนอกจากเครื่องหมายในการลงคะแนน (เว้นแต่ เป็นการกระทําโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงานผู้ดําเนินการเลือกตั้ง)
  • บัตรที่ไม่ได้ทําเครื่องหมายลงคะแนน
  • บัตรที่ทําเครื่องหมายลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร หรือบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเกินหนึ่งหมายเลข
  • บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือ บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด (เว้นแต่ เป็นการทําเครื่องหมายในช่อง “ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด” หรือ“ไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด”)
  • บัตรที่ทําเครื่องหมายอื่นนอกจากเครื่องหมายกากบาท
  • บัตรที่ทําเครื่องหมายลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครแล้ว ทําเครื่องหมายในช่องที่ไม่มีผู้สมัคร
  • บัตรที่ทําเครื่องหมายในช่องไม่มีผู้สมัครหรือผู้สมัคร ที่ถูกถอนชื่อออกจากประกาศรายชื่อผู้สมัคร
  • บัตรที่ทําเครื่องหมายลงคะแนนให้กับผู้สมัครในช่องทําเครื่องหมายเกินกว่าหนึ่งเครื่องหมาย
  • บัตรที่ทําเครื่องหมายนอกช่องทําเครื่องหมาย
  • บัตรที่มิใช่บัตรซึ่งกรรมการประจําหน่วยเลือกตั้งมอบให้
  • บัตรเสียตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • บัตรเลือกตั้งที่มิใช่ของเขตเลือกตั้งที่ดําเนินการนับคะแนน