“มาดามเดียร์” ชู Open Government ให้ประชาชนเข้าถึง-ตรวจสอบภาครัฐได้

02 พ.ค. 2566 | 13:49 น.
อัปเดตล่าสุด :02 พ.ค. 2566 | 14:08 น.

“มาดามเดียร์” ชู Open Government ให้ประชาชนเข้าถึง-ตรวจสอบภาครัฐได้ การประมูลโครงข่ายสัญญาณต้องเน้นประโยชน์ประชาชนมากกว่าเงิน สร้าง Digital Democratization ค้าน พรบ.จริยธรรมสื่อ ย้ำรัฐต้องปล่อยให้สื่อดูแลกันเอง

วันนี้ (2 พ.ค.66) น.ส.วทันยา บุนนาค ประธานคณะทำงานนวัตกรรมการเมือง กทม. พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ร่วมเวที “สิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในมุมมองพรรคการเมืองไทย” เนื่องในวันเสรีภาพสื่อ

                         “มาดามเดียร์” ชู Open Government ให้ประชาชนเข้าถึง-ตรวจสอบภาครัฐได้

น.ส.วทันยา กล่าวว่า รัฐต้องเคารพเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกภายใต้กฎหมายและรัฐธรรมนูญ รัฐต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้ต้องให้สื่อตรวจสอบ กำกับ และดูแลกันเองอย่างเข้มแข็ง แต่ก็ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้อื่น ภาคประชาชนเองก็ต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างอิสระเสรี และรัฐเองต้องเป็น Open Government ทำให้เกิดความเข้มแข็งของภาคประชาชน ในการเข้าถึงและตรวจสอบภาครัฐด้วย

น.ส.วทันยา แสดงจุดยืนว่า ไม่เห็นด้วยที่เอา พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาใช้เป็นข้ออ้างในการฟ้องหมิ่นประมาท ปิดปากสื่อ สื่อพลเมือง และไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน แต่ต้องปล่อยให้สื่อกำกับดูแลกันเอง 

                    “มาดามเดียร์” ชู Open Government ให้ประชาชนเข้าถึง-ตรวจสอบภาครัฐได้

น.ส.วทันยา กล่าวว่า วันนี้เรื่องของทุนเข้ามากำหนดทิศทางสื่อด้วย เราต้องหาทางว่า จะทำอย่างไรให้สื่อทำงานได้ตามอุดมการณ์ที่ตัวเองยึดถือได้ 

 

ส่วนประเด็นเรื่องการประมูลทีวีดิจิทัล น.ส.วทันยา กล่าวว่า หลังจากนี้เมื่อภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยน เราอาจจะต้องปรับมุมมองเรื่องการสัมปทานใหม่ ยกเลิกการประมูลสัมปทานโดยแข่งกันที่เงิน แต่ต้องแข่งกันว่าใครจะสามารถส่งเสริมสิทธิขั้นพื้นฐานว่า เจ้าไหนจะทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด เช่นเดียวกับ Digital Democratization ของประเทศอินเดีย 

                             “มาดามเดียร์” ชู Open Government ให้ประชาชนเข้าถึง-ตรวจสอบภาครัฐได้

สุดท้าย น.ส.วทันยา กล่าวว่า กสทช. ต้องเปลี่ยนวิธีคิด แต่ก่อนที่จะเปลี่ยนวิธีคิดต้องเปลี่ยนคน และเปลี่ยนการสรรหา จากการสรรหาคนที่มียศมีตำแหน่งมาทำงาน แต่เอาคนที่มีความรู้ความสามารถด้านสื่อจริงๆ เข้ามาทำงาน