เนชั่นวิเคราะห์ ศึกเลือกตั้ง 66 เจาะลึกรายจังหวัดภาคกลาง-ตะวันตก ครั้งที่ 1

21 เม.ย. 2566 | 17:30 น.
อัปเดตล่าสุด :21 เม.ย. 2566 | 17:50 น.
3.0 k

เนชั่นวิเคราะห์ ศึกเลือกตั้ง 66 เจาะลึกข้อมูลรายจังหวัดพื้นที่ภาคกลางเเละภาคตะวันตก ครั้งที่ 1 ใครนำเขตไหนบ้าง เช็คเลย

ศึกเลือกตั้ง 66 งดเข้ามาทุกที บรรดาพรรคการเมืองเเละผู้สมัครต่างพากันหาเสียงกันอย่างดุเดือด หากจะเจาะลึกลงไปศึกเลือกตั้งครั้งนี้ เฉพาะข้อมูลรายจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางเเละภาคตะวันตก ครั้งที่ 1โดยเนชั่นวิเคราะห์ ไปดูกันว่าเเต่ละจังหวัดในพื้นที่ดังกล่าวพรรคไหน ใครนำบ้าง 

1.จังหวัดกาญจนบุรี มี 5 เขต

เขต 1 นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ หรือกอล์ฟ พรรคเพื่อไทย เจ้าของธุรกิจการผลิตอาหารเสริม นักการเมืองสายตรง อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร ได้รับการทาบทางจาก มดดำ คชาภา ตันเจริญ พิธีกรชื่อดัง ให้เข้าสู่ถนนทางการเมือง ตัดสินใจเป็นผู้สมัคร ส.ส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย เขต 1 ต้องต่อสู้กับ พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ พรรคภูมิใจไทย และยังมี นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี 5 ปีซ้อน ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 ค่ายพลังประชารัฐ 

ประเมินรอบแรกให้อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี นายจีระเกียรติ จากพรรคพลังประชารัฐนำ โดยมีนายอัครนันท์ จากเพื่อไทยตามมาไม่ห่าง แม้จะรับแรงสนับสนุนจากนายกหนุ่ย นายสุรพงษ์  ปิยโชติ นายกฯอบจ.กาญจนบุรี แต่ฐานคะแนนส่วนตัวยังสู้ นายจีระเกียรติ ซึ่งมีพลเอกณัฐ  อินทรเจริญ อดีตผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 ซึ่งพลเอกประวิตรส่งลงมาคุมพื้นที่ไม่ได้

 

เขต 2 นายสมเกียรติ วอนเพียร หรือกำนันฉอย แชมป์เก่า ย้ายมาจากพรรคพลังประชารัฐซบพรรคภูมิใจไทย แม้ฐานคะแนนจะแข็งแกร่ง แต่กระแสพรรคเพื่อไทยที่แรงกว่า ทำให้ถูกนายชูศักดิ์ แม้นทิน หรือ สจ.เจี๊ยบ ผู้สมัคร ส.ส.หน้าใหม่แห่งพรรคเพื่อไทย ตามมาติดๆแบบหายใจรดต้นคอ และอันดับ 3 ชูเกียรติ จีนาภักดิ์ แห่งค่ายพลังประชารัฐ

ประเมินรอบแรก ให้คะแนนค่าความนิยมรวมถึงกระแสของพรรคเพื่อไทยที่กำลังโดดเด่นอยู่ในขณะนี้ ทำให้นายชูศักดิ์ แม้นทิม มีคะแนนนำ นายสมเกียรติ จากพลังประชารัฐค่อนข้างชัด

เขต 3 นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน หรือ ส.ส.กุ๊ก แชมป์เก่าแห่งพรรคภูมิใจไทย ยังขึ้นนำเป็นอันดับ 1 แต่นำห่าง น.ส.พลอย ธนิกุล หรือน้องพลอย พรรคเพื่อไทย ทายาทของแคล้ว ธนิกุล อดีตเจ้าพ่อนครบาล เพียงเล็กน้อย ส่วน พล.ต.ต.กมลสันติ กลั่นบุศย์ อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี พรรคพลังประชารัฐนั้น ตามมาห่างๆอยู่ที่อันดับ 3

เขตนี้ นายยศวัฒน์ จากภูมิใจไทยยังนำนางสาวพลอย จากเพื่อไทย ที่ขยับตามมาแบบหายใจรดต้นคอเพียงเล็กน้อย

เขต 4 นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ ผู้สมัคร ส.ส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย มาแรงจริงๆ เพราะขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทส.)สร้างผลงาน หาแหล่งน้ำเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซากให้กับประชาชนจนสำเร็จ ตามมาด้วยอันดับ 2 นางลำยอง ยิ้มใหญ่หลวง อดีต สจ.6 สมัย แห่งค่ายพลังประชารัฐ และอันดับ 3 แชมป์เก่า นายธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ หรือผู้ใหญ่แหลม ลูกชายคนเล็กของกำนันเซี๊ยะ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคภูมิใจไทย

เขตนี้ นายศักดิ์ดา จากเพื่อไทยนำห่าง

เขต 5 นายอัฏฐพล โพธิพิพิธ แชมป์เก่าสมัยอยู่พรรคพลังประชารัฐ ที่หันมาซบพรรคภูมิใจไทย จะรักษาแชมป์เอาไว้ค่อนข้างยาก เพราะกระแสของพรรคเพื่อไทย โดยเขตนี้ส่ง นายพนม โพธิ์แก้ว หรือ ส.จ.ไก่ อดีต สจ.อำเภอไทรโยค ได้แรงหนุนจากนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ นายก อบจ.กาญจนบุรี  นอกจากนายอัฏฐพล จะไม่สามารถรักษาแชมป์เอาไว้ได้แล้ว ผลคะแนนอาจะล่วงหล่นตกไปอยู่อันดับที่ 3 โดยมีนายประเทศ บุญยงค์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลทองผาภูมิ ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐ สอดแทรกแซงเข้ามาอยู่อันดับที่ 2

เขต 5 ส.จ.ไก่ นายพนมจากเพื่อไทยครองความได้เปรียบชิงนำไปก่อน โดยมีนายประเทศจากพลังประชารัฐตามมาห่างๆ

ชัยนาท มี  2 เขต

เขต 1 คู่ที่น่าจับตามอง คือ นายอนุชา นาคาศัย  เจ้าถิ่นจากพรรครวมไทยสร้างชาติ มีฐานเสียงหนาแน่นอยู่แล้วจากกลุ่ม สจ. เทศบาล อบต.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่ม FC ชัยนาทฮอร์บิล และ อสม. กับนายสมชาย สิทธิบรวงศ์ ผู้ท้าชิง จากพรรคเพื่อไทย อดีต ส.อบจ เขต อ.เมือง 3 สมัย ปี 2549-2562 และเป็นอดีตผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 จ.ชัยนาท พรรคไทยรักษาชาติ ในสนามเลือกตั้งปี 2562 ลงสู้ศึกเลือกตั้งในครั้งนี้โดยหวัง ชื่อพรรคไทยรักไทย เป็นตัวเรียกคะแนน และกระแสขอพรรคเพื่อไทยเป็นตัวช่วย

เขต 1 นายอนุชา จากพรรครวมไทยสร้างชาตินำขาด

เขต 2 คู่ที่น่าจับตาคือนาย มณเทียร  สงฆ์ประชา เจ้าถิ่นจากพรรคภูมิใจไทย ที่ย้ายพรรคมาจากพรรคพลังประชารัฐ ส.ส.หลายสมัยชัยนาท มีฐานเสียง จาก กลุ่ม สจ. กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  อสม.ในพื้นที่  กับ นายวิฑรู ลี้ธีระนานนท์  พรรคไทยรักไทย โดยใช้ฐานธุรกิจของครอบครัว  ชาวไร่อ้อย และเอากระแสขอพรรคเพื่อไทยเป็นตัวช่วย

เขตนี้ยังเป็นนายมณเฑียร จากพรรคภภูมิใจไทยที่มีคะแนนนำห่างค่อนข้างชัด

นครนายก มี 2 เขต

เขต 1 อำเภอเมืองนครนายกและปากพลี มีผู้สมัคร ประกอบด้วย นายปิยวัฒน์ กิตติธเนศวร พรรคภูมิใจไทย ลูกชายเสี่ยอ๋า  นายวุฒิชัย นางสาวนิดา ขนายงาม พรรคพลังประชารัฐ พล.ต.ต.สุรพล บุญมา พรรคเพื่อไทยหรือ ผู้การแดง อดีตรองผู้บังคับการตำรวจภูธรนครนายก พล.ต.ต.พลพิพัฒน์ สมบูรณ์สุข พรรคเสรีรวมไทย พลโท วีรากร ประกอบ พรรคก้าวไกล นางสาวมรกต อิสระเสนารักษ์ พรรคประชาธิปัตย์ “ออม” ลูกสาวนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ค่ายประชาธิปัตย์ ที่ครั้งนี้ลงสมัคร

ประเมินรอบแรก น่าจะสู้กันเดือดระหว่าง พล.ต.ต.สุรพล มีฐานเสียงมาจากนามสกุลบุญมา ซึ่งเป็นครอบครัวนักการเมือง เคยเป็นอดีต สจ.2 สมัย ได้รับการสนับสนุนจากนายสัญญา บุญ-หลง เสี่ยจ้อน นายกอบจ.สระบุรี และก่อนหน้านี้เป็นอดีตนายกอบจ.นครนายก ซึ่งเป็นคนคอยสนับสนุนหลักให้กับผู้การแดง และ นายปิยวัฒน์ กิตติธเนศวร อ๋อง เคดิต ลูกชาย นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร (เสี่ยอ๋า)  มีธุรกิจรับเหมาทำถนนของครอบครัว ลงเลือกตั้งครั้งแรก ในนามพรรคภูมิใจไทย โดยฐานเสียงได้คะแนนจากคุณพ่อคือ เสี่ยอ๋า ที่ย้ายไปลงสมัครในเขต 2 แทน

ภาพรวมนั้น สนามเรื่องตั้งของนครนายก ปีนี้ค่อนข้างดุเดือดและถูกจับตาคือ ผู้การแดงและเสี่ยอ๋อง  คนพื้นที่มอง ว่าเป็นฝ่ายแดงกับน้ำเงิน มีการสู้กันแบบหมัดต่อหมัด บ้านใหญ่ทั้ง 2บ้าน คือบ้านบุญมา และ บ้านกิตติธเนศวร

สนามเลือกตั้งเขต 1  ยกแรกให้ นายปิยวัฒน์จากภูมิใจไทย มีคะแนนนำพลตำรวจตรีสุรพลอยู่ในระยะห่างพอสมควร

 

เขต 2 เขตนี้แข่งกันระหว่างอากับหลาน คือ นายวุฒิชัย  กิตติธเนศวร จากภูมิใจไทย ผู้เป็นอา และนายเกรียงไกร กิตติธเนศวร หลานชาย จากเพื่อไทย แต่เมื่อวิเคราะห์จากระแสพรรคเพื่อไทยที่แรงกว่า ทำให้นายเกรียงไกร ผู้เป็นหลานน่าจะมีคะแนนนำเหนือกว่า นายวุฒิชัยอยู่เล็กน้อย

เขตนี้ยกแรกให้ นายเกรียงไกร กิตติธเนศวรจากเพื่อไทยมีคะแนนนำ

เนชั่นวิเคราะห์ ศึกเลือกตั้ง 66 เจาะลึกรายจังหวัดภาคกลาง-ตะวันตก ครั้งที่ 1

นครปฐม มี 6 เขต 

เขต 1 เขตนี้คาดว่านาย ณัทกร (ปั้น) แก้วพิจิตร รวมไทยสร้างชาติ ได้กระแสโซเชี่ยลโดดเด่นและลงพื้นที่บ่อยฐานเสียงพื้นที่เดิมจากเสธแก้ว แก้วพิจิตร และนายศุภโชค (สจ.ฟิล์ม )ศรีสุขจร ชาติไทยพัฒนา นายสมชาย (สจ.หลายสมัย) มณีรัตน์ เพื่อไทย มีฐานเสียงท้องถิ่นมากและกระแสเพื่อไทยมาแรงทั้งคนสมัครและพรรคเพื่อไทย

ยกแรกให้ นายสมชายจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนนำ

เขต 2 เขตนี้คาดว่า พันโทสินธพ (เสธแก้ว) แก้วพิจิตร รวมไทยสร้างชาติ เป็นตัวยืน โดยมีนายรัฐกร เจนกิจณรงค์ พปชร.กับ น.ส.ธนัญญา พันธุ์การรุ่ง เพื่อไทยตีคู่มา

การประเมินรอบแรก พันโทสินธพ จากรวมไทยสร้างชาติยังนำ

เขต 3 เขตนี้คาดว่านายพาณุวัฒณ์ (เสี่ยโหน่ง)สะสมทรัพย์ ชาติไทยพัฒนา อดีต สส.นครปฐม และนายทรงพล (สจ.ซ้ง) ชูศิลป์กุล อดีต สจ.นครปฐม มีฐานเสียงการเมืองท้องถิ่นมากในพื้นที่ และบวกกับกระแสพรรคเพื่อไทยทำให้พื้นที่ร้อนแรง

ประเมินยกแรก ให้ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย นายทรงพล (สจ.ซ้ง)นำนายพาณุวัฒน์ จากพรรคชาติไทยพัฒนา แต่ยังเป็นการนำที่ต้องลุ้นกันจนโค้งสุดท้าย

เขต 4 เขตนี้ช่วงต้น คาดว่านายวินัย (สจ.น้อย) วิจิตรโสภณ เพื่อไทย แม้กระแสพรรคเพื่อไทยและกระแสคนคะแนนในพื้นที่จะดี  แต่ด้วยศักดิ์ศรีของบ้านใหญ่นรปฐม เชื่อว่า นายก่อเกียรติจากชาติไทยพัฒนา ยังคงมีภาษีเหนือกว่า ส่วนนายวินัยต้องรอกระแสพรรคในช่วหลายเกม

ยกแรก นายก่อเกียรติ ชาติไทยพัฒนา นำ

เขต5 เขตนี้กระแสพรรคเพื่อไทยยังมาแรงไม่หยุดยกแรกแม้พรรคเพื่อไทย นายมานพ คำหวาน กระแสพรรคและกระแสคนจะมาแรง แต่คอการเมืองยังให้นายอนุชา สะสมทรัพย์ ชาติไทยพัฒนา อดีต ส.ส.นครปฐม นำอยู่เล็กน้อย

เขตนี้ นายอนุชา จากชาติไทยพัฒนา นำ

เขต 6 เขตนี้ฐานคะแนนนิยมทั้งคนทั้งพรรคเพื่อไทยแน่นมาก และชาวบ้านอยากเปลี่ยน นาทีนี้แม้ต้องยกให้นายธีรพงศ์ (สจ.นก) เย็นใจ เพื่อไทย มาแรง แต่ด้วยศักดิ์ศรี บ้านใหญ่ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ ชาติไทยพัฒนา ยังเหนือกว่าเล็กน้อย

ยกแรกนายเผดิมชัยยังนำแบบไม่มาก

จังหวัดนนทบุรี มี  8 เขต

เขตเลือกตั้งที่ 1 ในเขตนี้ตัวเต็งคือ นายจิรพงษ์ ทรงวัชาภรณ์ จากพรรคเพื่อไทย

เขตเลือกตั้งที่ 2  เขตนี้ยกให้ นายนิยม ประสงค์ชัยกุล จากพรรคเพื่อไทย

เขตเลือกตั้งที่ 3 ผู้ที่มีคะแนนนำคือ น.ส.ปณรัศม์ วันชาญเวช จาก พรรคเพื่อไทย

เขตเลือกตั้งที่ 4 เขตนี้ยกให้ นายมนตรี ตั้งเจริญถาวร จากพรรคเพื่อไทย

เขตเลือกตั้งที่ 5 เขตนี้ยกให้ นายนพดล แก้วสุพัฒน์ จาก พรรคเพื่อไทย

เขตเลือกตั้งที่ 6 ยกให้ นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ จากพรรคเพื่อไทย

เขตเลือกตั้งที่ 7 เขตนี้ยกให้พรรคพลังประชารัฐ มีคะแนนนำหลังจากพรรเพื่อไทยเปลี่ยนตัวผู้สมัคร เพราะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น การส่ง ภูดิศ มาแทน แม้จะทำให้มีคะแนนตาม ทศพล เพ็งส้ม เด็ก ลุงป้อม แต่ด้วยกระแสพรรคในพื้นที่ นายภูดิศก็น่าจะยังนำอยู่เล็กน้อย

เขตเลือกตั้งที่ 8 นาทีนี้ยกให้ นายภณณัฏฐ์ ศรีอินทร์สุทธิ์ จากพรรคเพื่อไทย

ปทุมธานี มี7 เขต

ทั้ง 7 เขต ในจังหวัดปทุมธานีที่พรรคการเมืองเหล่านี้ต้องการจะให้ผู้สมัครของพรรคตนปักธงให้ได้ แต่ทุกพรรคต้องกลับมาโฟกัสไปที่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์(บิ๊กแจ๊ส) ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี ทีมคนรักปทุมธานี ที่เอาชนะ นายชาญ พวงเพ็ชร์ อดีตนายก อบจ.ปทุมธานี ทีมปทุมรักไทย หลายสมัย ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพรรคภูมิใจไทยมาอย่างยาวนาน

เขต 1 เก้าอี้ส.ส. น่าจะสั่นคลอน

  • พรรคเพื่อไทย นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล (ส.ส.ปัจจุบัน)
  • พรรคพลังประชารัฐ นายเสวก ประเสริฐสุข
  • พรรคภูมิใจไทย นายนพพร ขาวขำ ดาวรุงพุ่งแรง
  • พรรคก้าวไกล นายเจษฎา ถาวรธรรมฤทธิ์

เขตนี้ยังเป็นของพรรคเพื่อไทย

เขต 2 เก้าอี้ตัวนี้หินมาก

  • แชมเปี้ยนคือ พรรคเพื่อไทย นายศุภชัย นพขำ (ส.ส.ปัจจุบัน)
  • พรรคพลังประชารัฐ นายนภดล ลัดดาแย้ม
  • พรรคภูมิใจไทย พล.ต.ต.วัฒนา วงศ์จันทร์
  • พรรคก้าวไกล นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ

เขต 2 ก็ยังต้องยกให้แชมป์เก่า คือ พรรคเพื่อไทย นายศุภชัย นพขำ ส.ส.ปัจจุบัน

เขต 3 แม้ฐานคะแนนจะยังเป็นของพรรคเพื่อไทย ที่กระแสทั้งคนและพรรค ทำให้นายยุทธศักดิ์ ชูประเสริฐ จากเพื่อไทยน่าจะได้เปรียบ แต่คนที่มาแรงและต้องจับตาในช่วงต้น คือ นางสาวชลธิชา  แจ้งเร็วจากพรรคก้าวไกล เพราะเขตนี้เป็นพื้นที่เมืองมหาวิทยาลัย ซึ่งฐานคะแนนหลัก คือ กลุ่มนักศึกษาและกลุ่มคนรุ่นใหม่  ทำให้นางสาวชลธิชา จากก้าวไกลมีโอกาสเอาชนะเจ้าของพื้นที่จากพรรคเพื่อไทยได้ นอกจากนั้นก้าวไกลยังมีฐานแรงงาน และคนทำงานรุ่นใหม่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนครอีกจำนวนหนึ่ง

ยกแรกให้นางสาวชลธิชา จากก้าวไกลมีโอกาสล้มยักษ์

เขต 4 ผู้สมัครทุกคนมีสิทธิ์ลุ้น

  • พรรคเพื่อไทย นายสุทิน นพขำ (อดีต ส.ส. เพื่อไทย ที่ห่างหายไปกว่า10 ปี)
  • พรรคพลังประชารัฐ นายปรีชา ชื่อชนกพิบูล
  • พรรคภูมิใจไทย น.ส.ณัฐธิดา เกียรติพัฒนาชัย
  • พรรคก้าวไกล นายเชตวัน เตือประโคน
  • พรรคเสรีรวมไทย นายศักดิ์สง่า ชนะภัย

*** เขต 4 มีลุ้นสองพรรค คือ เพื่อไทย กับ ภูมิใจไทย

ยกแรก น.ส.ณัฐธิดา เกียรติพัฒนาชัย จากภูมิใจไทยมีคะแนนเหนือกว่าเล็กน้อย

เขต 5 ส.ส.ปัจจุบันชนกันใครกันแน่ที่จะสมหวังมี

  • พรรคเพื่อไทย นายชัยยันต์ ผลสุวรรณ (ส.ส.ปัจจุบัน)
  • พรรคพลังประชารัฐ นายวิรัช พยุงวงษ์
  •  พรรคภูมิใจไทย นายพิษณุ พลธี (ส.ส.ปัจจุบัน) แชมป์เก่าขวัญใจแม่ยกเป็นต่อในสนามนี้
  • พรรคก้าวไกล นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์

เขต 5 นาทีนี้ นายชัยยันต์จากพรรคเพื่อไทย ที่กระแสพรรคมาแรงเป็นต่อ นายพิษณุ จากภูมิใจไทยเล็กน้อย

เขต 6

  • พรรคพลังประชารัฐ ส.ส.เกียรติศักดิ์ ส่องแสง (อดีต ส.ส.) เป็นต่ออยู่ไม่มาก
  • พรรคเพื่อไทย นายมนัสนันท์ หลีนวรัตน์ ลูกชายนายกเทศมนตรีแทศบาลธัญญะ
  • พรรคภูมิใจไทย นายเอกชัย ศรีสุขชยะกุล
  • พรรคก้าวไกล นายพิชัย ปิยะกาโส

ยกคะแนนนิยมให้ ผู้สมัครจาก พรรคเพื่อไทย

เขต 7 ชี้ชะตาว่าเพื่อไทยจะแลนด์สล์ได้หรือไม่ เนื่องจาก ส.ส.พรพิมล ธรรมสาร ย้ายไปซบภูมิใจไทย

  • พรรคเพื่อไทย จึงส่งนายยงยุทธ มั่นบุปผชาติ เข้าชิงแชมป์
  • พรรคพลังประชารัฐ น.ส.กฤษณา วงศ์คำ
  • พรรคภูมิใจไทย น.ส.พรพิมล ธรรมสาร(ส.ส.ปัจจุบัน)เป็นต่ออยู่ เพราะเป็นแชมป์เก่าแถมลงพื้นที่มาโดยตลอด

เขตนี้ พรพิมล จากพรรคภูมิใจไทย ยังมาแรง เพราะเป็นแชมป์เก่าและลงพื้นที่ต่อเนื่อง

ประจวบคีรีขันธ์ มี 3 เขต

เขต 1 

การเลือกตั้งในปี 2566  มนตรี ปาน้อยนนท์ ส.ส.ต๊ง อดีต ส.ส. 5 สมัย ประกาศรักษาแชมป์อีกครั้ง จะไม่ยอมแพ้คาสนาม เพื่อยกระดับไปเป็นรัฐมนตรีในโควต้าพรรคประชาธิปัตย์  มีคะแนนจัดตั้งระดับเกรด เอ.ฝังตัวในพื้นที่มานาน  มีหัวคะแนนประเภทติดรีโมทที่ทำงานร่วมกันนานกว่า 20 ปี  แต่การเลือกตั้งครั้งหน้า แม้จะมีแม่ยกชื่นชอบความหล่อ แต่ต้องประเมินคะแนนนิยมที่มีต่อพรรคต้นสังกัด

 มีคู่แข่งในกลุ่มผู้สมัครพลังหนุ่ม ประกอบด้วย สังคม แดงโชติ หรือ ลูกหิน พรรคภูมิใจไทยที่มีฐานเสียงหนาแน่นในเขต อ.กุยบุรี  นอกจากนั้นยังมีดาราตลกชื่อดัง คิง ก่อนบ่าย ณภัทร ชุ่มจิตตรี ชาว ต.อ่าวน้อย  อำเภอเมืองประจวบฯลงสมัครในนามพรรคพลังประชารัฐ

ส่วน วิชิต ปลั่งศรีสกุล ปัจจุบันอายุ 71 ปี อดีตผู้สมัคร ส.ส.เขต  1 พรรคเพื่อไทยที่มีคะแนนเป็นลำดับ 2 ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ครั้งนี้เปิดทางให้บุตรชาย "ทนายเข่ง" วัชรพล ปลั่งศรีสกุล   ลงสมัครในนามพรรคเดิม

เลือกตั้งครั้งนี้  มนตรี ต้องใช้ทุกเหลี่ยม เพื่อฝ่าด่านในการเลือกตั้งสมัยที่ 6 เพราะโอกาสเป็นรัฐมนตรีมีสูง แต่วันนี้พรรคคู่แข่งในเขต 1 ทั้งซีกรัฐบาลและฝ่ายค้าน ที่เคยแย่งคะแนนยังไม่มีใครเปิดหน้าชกเต็มร้อย บางพรรคยังอยู่ในสภาพนอนเกาพุง รอท่อน้ำเลี้ยงจากต้นสังกัด หรือ รอพรรคมาทำโพลเคาะค่าใช้จ่ายเพิ่มตามกระแสความนิยม   แถมโชคดีในเขต 1 ยังไม่มีผู้สมัครประเภทดาวฤกษ์ เปิดตัวหิ้วกระเป๋าเจมส์บอนลงไปทะลายห้าง ตัดคะแนนจัดตั้งของ มนตรี ที่ อ.สามร้อยยอด

โค้งแรกในสนามเลือกตั้ง เขต 1 ส.ส.ต๊ง มนตรี จากประชาธิปัตย์  จึงมีราคาต่อรองห่างไกลสุดกู่

เขต 2 

เมื่อเดือนมีนาคม 2562 การเลือกตั้ง ส.ส.ในสนามเลือกตั้งเขต  2 อ.หัวหิน และ อ.ปราณบุรี  กลายเป็นสนามล้มช้างเมื่อ เฉลิมชัย  ศรีอ่อน หรือ เสี่ยต่อ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ แพ้  ส.ส.บัง พรเทพ  วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ ผู้สมัครพรรคเพื่อไทย คู่แข่งที่เคยต่อสู้ในการเมืองสนามใหญ่มาหลายครั้ง

การเลือกตั้งครั้งหน้า เสี่ยต่อ เจ้าของเก้าอี้รัฐมนตรีเกษตร จะไม่ลงเขตแต่ไปลงสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ เนื่องจากพรรคประกาศชื่อหลานชาย จักพันธ์ หรือเซ้ม  ปิยพรไพบูลย์ อดีต ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 25 ของพรรคประชาธิปัตย์  ที่โด่งดังจากโกวเซ้มฟาร์ม ลงสมัคร ส.ส.เขตสู้กับเสี่ยบัง  เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าใครคือของจริงในสนามนี้ 

เมื่อ 2  ขั้วมหาเศรษฐี อ.ปราณบุรี เจ้าของกิจการโรงงานผลไม้กระป๋อง โคจรมาเจอกันในศึกล้างตา อาการพร้อมเปย์เต็มเหนี่ยว ความพร้อมในการควักกระสุนดินดำต้องพร้อมสู้เต็มที่  การขับเคลื่อนใต้ดิน บนดินคึกคักเป็นอย่างยิ่ง

เป็นที่รู้กันในวงการหัวคะแนน  ขณะที่การเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ส.ส.บัง ชนะ เสี่ยต่อ เฉลิมชัย 106 คะแนน เนื่องจากมีผู้สมัครจากพลังประชารัฐ แอบฟาดคะแนนนิยมจากฐานการเมืองเดียวกัน แถมมีผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่ ขอมาถึงคะแนนจากคนรุ่นใหม่ไปอีก

แต่การเลือกตั้งเลือกตั้งครั้งหน้าผู้สมัครพรรคอื่นจะเป็นเพียงมวยก่อนเวลา แม้ว่า สจ.เป้า พิษณุ กล้าขาย จากพรรคพลังประชารัฐ จัดสโลแกนขอพลังชาวหัวหินเลือก ส.ส.ลูกบ้านเกิด   

เชื่อว่า เสี่ยเซ้ม และทีมงาน ต้องจัดองคาพยพให้ลงตัว เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาเหมือนในอดีตทั้งการพบปะประชาชนโดยเฉพาะใน อ.หัวหิน  หัวคะแนนที่มีประสิทธิภาพ ฐานคะแนนเดิมของ ส.อบจ.ทั้ง 2 อำเภอจะต้องมีผลงานตามเป้าหมาย   ขณะที่ เสี่ยบัง ต้องวางแผนหาเสียงด้วยการรักษาฐานคะแนนเดิม และเพิ่มเติมด้วยกระแสนิยมของพรรคเพื่อไทยที่มีความนิยมจากผลโพล

การยกทัพใหญ่ประชาธิปัตย์ ลงหาเสียงในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งนำทัพโดยนายชวน หลีกภัย และนายเฉลิมศักดิ์  ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค พร้อมประกาศแสนยานุภาพในการสนับสนุนนายจักพันธ์ ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์แบบเต็มที่ ส่งสัญญาณแพ้ไม่ได้ เพื่อรักาหน้าเลขาธิการพรรค

ทำให้เขตนี้ยกให้เสี่ยเซ้ม นายจักพันธ์ จากประชาธิปัตย์ นำเสียบังนายพรเทพไปหลายช่วงตัว

เขต 3 

การเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคมปี 2562 ประมวล พงศ์ถาวราเดช จากพรรคประชาธิปัตย์ชนะคู่แข่ง ครองเก้าอี้ยาวนานรวม  4 สมัย แม้ว่าการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน ประมวล จะต้องเผชิญกับปัญหาจากคนกันเองส่งสัญญาณแอบแบ่งคะแนนให้ผู้สมัครบางรายจากพรรคอื่น

แต่ด้วยความเก๋าจึงผ่านได้ไม่ยาก   คราวนี้ ประมวล ทำการบ้านมาอย่างดี หลังจากมีบทเรียน แก้ปัญหาให้ประชาชนต่อเนื่อง ไม่มีนักเลงเดินตามหลัง มีผลงานทั้งการแก้ปัญหาโควิด 19 โครงสร้างพื้นฐาน แก้ปัญหาแหล่งน้ำ  จึงทำให้มีความนิยมอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่คู่แข่งที่น่าสนใจ ประกอบด้วย วนิชย์ ปักกิ่งเมือง หรือนิกกี้ อดีตผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ  ที่มีฐานเสียงใน ต.ทับสะแก อ.ทับสะแก  การเลือกตั้งครั้งที่แล้วแพ้ ประมวล เพียง 3,500 คะแนน คราวนี้กลับมาใหม่ โดยเสนอตัวเป็นลูกพรรคลุงตู่ลงสมัครในนามพรรครวมไทยสร้างชาติ

สมพงศ์ ทั่งศรี อดีต สจ.บางสะพานน้อย เลือกตั้งปี 2562 ลงสมัครในนามพรรคภูมิใจไทยได้คะแนนลำดับ 3  แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ ก่อนจะขึ้นป้ายลงสนามในนามพรรคพลังประชารัฐ  เคยประกาศตัวจะลงในนามพรรคเพื่อไทยและพรรคไทยสร้างไทย 

นอกจากนั้นในเขต 3 ยังมีสีสันในสนามเลือกตั้ง หลังจากที่ผ่านมาไม่มีผู้สมัครส.ส.ที่เป็นสุภาพสตรีมานานหลายสิบปี ล่าสุด กำนันมาเรีย เผ่าประทาน อดีตกำนัน  ต.ทับสะแก บุตรสาวของ สวาป เผ่าประทาน อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย พร้อมลุยหาเสียงหลังจากสมัคร ส.ส.เขต  

ส่วนผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย  ในเขต 3 มี จิรวัฒน์  กำบัง  อดีตผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคเมื่อสิบกว่าปีก่อนมาลงสมัครอีกครั้ง  ซึ่งประเมินว่าคะแนน ส.ส.เขตของพรรคเพื่อไทยจะชนะผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังประชารัฐ  พรรคภูมิใจไทย หรือ พรรคก้าวไกลหรือไม่  เนื่องจาก จิรวัฒน์  กำบัง ทิ้งพื้นที่มานาน แต่คาดว่าการเลือกตั้งด้วยบัตร 2 ใบ จะมีผู้ลงคะแนนจำนวนมากเลือกพรรคเพื่อไทย

ประเมินเขต 3 ประมวล เจ้าของเก้าอี้เดิม ยังมาแรงด้วยการเกาะพื้นที่ต่อเนื่อง  แม้กระแสความนิยมของพรรคจะลดลง  และหากจะมีความเปลี่ยนแปลง ต้องรอดูอภินิหารของผู้สมัครบางรายที่หวังคะแนนนิยม โดยไม่เกรงกลัวการทำหน้าที่ของ กกต. คราวนี้จะใช้แผนเดิมเหมือนการเลือกตั้งเมื่อปี2562  หรือ จะมีทีเด็ดที่แปลกใหม่ในโค้งสุดท้าย  แต่ถึงที่สุดการตัดสินใจลงคะแนนเลือกผู้แทนจะอยู่ที่ดุลพินิจของประชาชน

เขต 3 การประเมินครั้งแรก นายประมวลจากประชาธิปัตย์ ก็ยังนำห่างพอสมควร

พระนครศรีอยุธยา มี 4 เขต

เขต 1

ประกอบด้วย อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางบาล มีนาย เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร อดีต ส.ส.พระนครศรีอยุธยา รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เป็นแชมป์เก่าหลายสมัยติดต่อกัน ฐานเสียงแน่น มีชื่อเสียงในจังหวัด ใกล้ชิดกับผู้นำท้องถิ่น นักการเมืองท้องถิ่นได้เปรียบผู้สมัครจากพรรคอื่น

ด้านพรรคเพื่อไทย ส่งนาย อัณณพ อารีย์วงศ์สกุล นักธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ระดับประเทศ ลงชิงพื้นที่เขต 1 สานามเลือกตั้งเขต 1 ของเมืองกรุงเก่า ถือเป็นฐานที่มั่นสำคัญที่หลายพรรคการเมืองมุ่งมั่นจะช่วงชิ่งพื้นทีที่หัวเมือง แต่เหนื่อยหนักเมื่อต้องเจอเจ้าของแชมป์หลายสมัยอย่างนายเกื้อกูล

เขตนี้ นายเกื้อกูล พรรคภูมิใจไทย นำห่างตั้งแต่ช่วงต้น

เขต 2

นาย นพ ชีวานันท์ อดีต ส.ส.พระนรศรีอยุธยา พรรคเพื่อไทย เจ้าของพื้นที่ ได้ย้ายมาอยู่กับพรรคภูมิใจไทยด้วยเคยเป็น ส.ส.และลงพื้นที่มาตลอด และเป็นลูกชายอดีต ส.ส. นายพ้อง ชีวานันท์ พรรคเพื่อไทย (เสียชีวิต) เรียกว่าฐานเสียงแน่นมากตั้งสมัยพ่อ นายสุรเชษฐ์ ชัยโกศล อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย จากเขตเลือกตั้งที่ 1 สลับพื้นที่ มาลงสนามเลือกตั้ง เขต 2 ที่ไม่มีฐานเสียงอยู่เดิมเลย หวังดึงฐานคะแนนเสียงความนิยมของพรรคเพื่อไทย เพราะ ส.ส. พื้นที่คนเดิมย้ายพรรค

เขต 2 ยังเป็นนพ จากภูมิใจไทยที่นำห่างในฐานะเจ้าของพื้นที่

เขต3

พื้นทีมีการปรับเปลี่ยนแปลงจากเดิม พรรคภูมิจไทย ส่ง น.ส. พิมพฤดา ตันจรารักษ์ อดีต ส.อบจ.พระนครศรีอยุธยา เขต อ.วังน้อย หลานสาวของ ซ้อสมทรง พันธ์เจริญวรกุล นายก อบจ.พระนครศรีอยุธยา และพิมพฤดา ยังเป็นลูกสาว ของนางสมศรี ตันจรารักษ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองลำตาเสา อ.วังน้อยอีกด้วย

ส่วนพรรคเพื่อไทย ส่งนาย องอาจ วชิรพงศ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐ เดิมเคยลงสมัครในพื้นที่เขตอื่นมาก่อน ต้องมาสร้าง มาลงพื้นที่หาเสียงฐานคะแนนใหม่ งานนี้ต้องเหนื่อยหน่อย ที่มาลงสู้กับหลานรักของซ้อสมทรง บ้านใหญ่ของอยุธยา ซึ่งคุ้มฐานเสียงทั้งจังหวัดอยู่แล้ว

เขต 3 ก็ยังเป็นนางสาวพิพฤดา จากภูมิใจไทย ที่เหนือกว่านายองอาจจากเพื่อไทยหลายช่วงตัว

เขต 4

มีการปรับเพิ่มที่เล็กน้อย นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล ส.ส.พระนครศรีอยุธยา พรรคภูมิใจไทย ลูกชาย ของซ้อสมทรง ที่เคยลงเลือกตั้งชนกับ วิทยา บุรณศิริ (เสียชีวิต) อดีต รมต.สาธารณสุข หัวเรือใหญ่ของพรรคเพื่อไทย สุรศักดิ์ ล้มแชมป์เก่ามาอย่างถล่มทลายมาแล้ว

พรรคเพื่อไทย ส่งนายอาทิตย์ ภาคอินทรีย์ อดีต ส.อบจ.พระนครศรีอยุธยา เขต อ.บางปะอิน เป็นคนใกล้ชิดนายวิทยา บุรณศิริ งานนี้ สจ.อาทิตย์ ต้องลงพื้นที่สร้างฐานเสียงเพิ่มจากพื้นที่เดิมที่เป็น ส.อบจ. เขต อ.บางปะอิน เรียกว่างานนี้ต้องทำงานหนักที่จะล้มแชมป์อย่าง ส.ส.สุรศักดิ์ แชมป์เก่า

เขตนี้ก็เช่นกัน เมื่อนายสุรศักดิ์ ภูมิใจไทยเหนือกว่า นายอาทิตย์ เพื่อไทยแบบไม่ต้องลุ้น

เขต 5

เป็นเขตเลือกตั้งที่น่าจับตามองที่สุด เป็นการวัดผลการชิงพื้นที่ ส.ส.เขตนี้ระหว่าง พรรคภูมิใจไทย ส่งคนหนุ่มไฟแรง อย่าง นายประดิษฐ์ สังขจาย หรือสจ.หนุ่ม ที่ชาวบ้านเรียกกันติดปาก เป็นอดีตส.อบจ.พระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องเมื่อสมัยยังเป็นสจ. ก่อนที่จะลาออกเพื่อมาลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. เพราะได้แรงหนุนจากบ้านใหญ่ จากซ้อสมทรง ต้องมาแข่งขันกับ นาย จิรทัศ ไกรเดชา ส.ส.พระนครศรีอยุธยา พรรคเพื่อไทย มีฐานเสียงแน่น เพราะเป็น แชมป์เก่า และลงพื้นที่และช่วยเหลือชาวบ้าน ชาวนา มาตลอด

เขต 5 นายจิรทัศ จากเพื่อไทยยังแข็งแกร่งกว่า เมื่อบวกกับกระแสพรรคในรอบนี้ น่าจะต้านทานกระแสพลังหนุ่มที่มีซ้อสมทรงหนุนหลังอย่าง นายประดิษฐ์จากภูมิใจไทยได้  สรุป เขต 5 นายจิรทัศ เพื่อไทยนำ   

เพชรบุรี มี 3 เขต

สถานการณ์การเมืองในจังหวัดเพชรบุรี ผู้สมัครส.ส.แต่ละพรรคได้ออกหาเสียงกันนานแล้ว หลายคนขึ้นป้ายประกาศตัวลงสมัครมีทั้งพรรคเล็กและพรรคใหญ่ ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอบ้านแหลม ยกเว้นตำบลบ้านแหลม ตำบลบางตะบูน ตำบลบางตะบูนออก ของอำเภอบ้านแหลม เป็นเขตที่มีการแข่งขันดุเดือด

เพราะเป็นเขตที่ "เสี่ยจ้อน”นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศตัวลงสมัครซึ่งจะชนกับ "ส.ส.ป๊อป" ด๊อกเตอร์ยุทธพล อังกินันทน์ บุตรชาย "นายเปี๊ยก" หรือยุทธ อังกินันทน์ อดีต ส.ส.เพชรบุรี ที่สวมเสื้อพรรคชาติไทยพัฒนาลงสมัคร

และ “มาดามกระแต”นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ เป็นภรรยาของ “นายกปราย” นายชัยยะ อังกินันทน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี ลูกสะใภ้ของนายแป๋ง หรือปิยะ อังกินันทน์ อดีต ส.ส.เพชรบุรี และเป็นบุตรสาวของนายนายอันธีร์ อักษรนันทน์ อตีต ส.ส.เพชรบุรี ซึ่งลงสมัครในนามพรรครวมไทยสร้างชาติ ( รทสช.)

หลายคนมั่นใจว่าเก้าอี้ ส.ส.เขต 1 เพชรบุรี สมัยหน้าจะตกเป็นของคนใดคนหนึ่งใน 3 คนนี้ ที่สำคัญทั้ง 3 คนเป็นเครือญาติกัน เนื่องจากนางเพื่อม ย่าของนายอลงกรณ์เป็นพี่สาวของนายผาด อังกินันทน์ ผู้เป็นบิดาของปิยะ-ยุทธ อังกินันทน์ นายอลงกรณ์ มีศักดิ์เป็นพี่ของนายยุทธพล อังกินันทน์ บุตรชายนายยุทธ อังกินันทน์ และนายชัยยะ หรือปราย อังกินันทน์ นายก อบจ.เพชรบุรี บุตรของนายปิยะ อังกินันนท์ และเป็นสามีของนางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์

เขต 1 จังหวัดเพชรบุรี นอกจากนายอลงกรณ์ / นายยุทธพล /นางธิวัลรัตน์ ยังมี "ทนายกฤษณ์”นายกฤษณ์ แก้วอยู่ อดีต ส.ส.เพชรบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ ประกาศตัวลงสมัครในนามพรรคภูมิใจไทย “ทนายมังกร” นายมังกร เจริญผล ประกาศตัวลงสมัครในนามพรรคก้าวไกล และนายกิตติ ทรัพย์วิสุทธิ์ ลงในนามพรรคเพื่อไทย

และถึงแม้ว่าคนเมืองเพชรจะฟันธงว่า ส.ส.เขต 1 เพชรบุรี จะเป็นศึกเครือญาติ และยกแรกจะดูเหมือนว่า “เสี่ยจ้อน” นายอลงกรณ์ พลบุตร จะเบียดกับ “มาดามกระแต” นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ดูเหมือน “เสี่ยจ้อน” นายอลงกรณ์ พลบุตร จะมีภาษีเหนือกว่า แต่ก็ประมาท “ทนายกฤษณ์” นายกฤษณ์ แก้วอยู่ อดีต ส.ส.เพชรบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ แชมป์เก่าไม่ได้ เพราะในสมัยหน้าทนายกฤษณ์ ลงสมัครในนามพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคที่มีทุนหนา

หาก “เสี่ยจ้อน” นายอลงกรณ์ และ “มาดามกระแต” นางธิวัลรัตน์ // “ทนายกฤษณ์”นายกฤษณ์ อาจแซงโค้งเข้าป้ายได้

ยกแรกให้นายอลงกรณ์ จากประชาธิปัตย์นำอยู่แบบฉิวเฉียด

 เขต2 

เขตนี้มี “ส.ส.สาธิต”นายสาธิต อุ๋ยตระกูล อดีต ส.ส.เพชรบุรีเขต 2 พรรคพลังประชารัฐ แชมป์เก่า ซึ่งครั้งนี้ลงสมัครในนามพรรครวมไทยสร้างชาติ “ส.ส.กัมพล” ด๊อกเตอร์กัมพล สุภาแพ่ง อดีต ส.ส.เพชรบุรี เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ พลอากาศโทด๊อกเตอร์ชนนนาถ เทพลิบ พรรคพลังประชารัฐ “สท.ไก่”นายกฤษ์ อยู่ดี พรรคภูมิใจไทย “ทนายขาว”นายหัสพันธ์ เสมเถื่อน พรรคก้าวไกล นายชัยนาม ว่องไว พรรคเพื่อไทย

เขตนี้เป็นการเบียดกันระหว่างนาย“สาธิต อุ๋ยตระกูล” พรรครวมไทยสร้างชาติกับนายกำพล สุภาแพ่ง พรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ประมาท“สท.ไก่”นายกฤษ์ อยู่ดี พรรคภูมิใจไทย ไม่ได้ เพราะอาจเบียดเข้าป้ายในโค้งสุดท้าย

แต่การประเมินครั้งแรก เขตนี้ นายสาธิตจากรวมไทยสร้างชาติ ยังเหนือกว่าเล็กน้อย

เขต3

เป็นการชนกันระหว่าง “ส.ส.เปี๊ยก” นายสุชาติ อุตสาหะ อดีต ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เจ้าของแชมป์เดิม แต่คราวนี้ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย “ส.ส.เล็ก”นายอภิชาติ สุภาแพ่ง อดีต ส.ส.เพชรบุรี เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งคราวนี้ยังคงลงในนามพรรคประชาธิปัตย์

“นายกต้อย”จ.อ.อ.อภิชาติ แก้วโกศล อดีตนายกเทศมนตรีตำบลบ้านลาด ลงสมัครในนามพรรครวมไทยสร้างชาติ“กำนันเต๊าะ”นายภาณุมาศ อังกินันทน์ ซึ่งลงในนามพรรคเพื่อไทย “รองจ๊ะ”นายทัตณัชพงษ์ เติมวรรธนภัทร์ อดีตรองนายกเทศมนตรีตำบลบ้านแหลม และอดีตสมาชิกสภาจังหวัดเพชรบุรี เขตบ้านแหลม ซึ่งลงสมัครในนามพรรคพลังประชารัฐ “ทนายแมน” นายวรนารถ เพชรอำ นันทกิจ พรรคก้าวไกล

เขตนี้เป็นการเบียดกันระหว่าง”ส.ส.เปี๊ยก”นายสุชาติ อุตสาหะ พรรคภูมิใจไทย “ส.ส.เล็ก”นายอภิชาติ สุภาแพ่ง พรรคประชาธิปัตย์ “นายกต้อย”จ.อ.อ.อภิชาติ แก้วโกศล พรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งทั้ง 3 คนสูสีกันต้องดูยกสุดท้ายใครจะเบียดโค้งเข้าป้าย

เขตนี้ ยกแรกยังให้ส.ส.เปี๊ยก นายสุชาติจากภูมิใจไทย ออกนำไปก่อน

ราชบุรี มี 5 เขต

เขต 1

จะมีนางสาวกุลวลี  นพอมรบดี  จากพรรคพลังประชารัฐ  เป็นส.ส.อยู่ และในการเลือกตั้งครั้งนี้ ย้ายมาอยู่พรรครวมไทยสร้างชาติ เตะนางเพียงเพ็ญ ศักดิ์สมบูรณ์  ซึ่งเป็นน้าสะใภ้  ที่ลงพื้นที่ในนามพรรครวมไทยสร้างชาติมานาน กระเด็นออกจากวงการ โดยอ้างผู้ใหญ่เป็นผู้จิ้มว่าให้ลงพรรคนี้ และนายนพดล ภู่แย้ม เจ้าของธุรกิจส่งออกวุ้นมะพร้าว 100 ล้าน ที่มาลงสมัครชิงเก้าอี้ ส.ส.ในนามพรรคเพื่อไทย

 นอกจากนี้ยังมี พ.อ.ไพรวัน เอี่ยมคณา  ลงชิมรางในนามของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งมีนายนภินทร  ศรีสรรพางค์  ผู้ช่วยรัฐมนตรี อดีตส.ว.เป็นผู้ส่งเข้าประกวด  เขตนี้น่าจะเป็นไปตามคาด คือ นางสาวกุลวลี  นพอมรบดี จากรวมไทยสร้างชาติ น่าจะชิงเก้าอี้ได้เพราะฐานเดิมนั้นดีอยู่แล้ว แม้หลายคนจะไม่นิยมพรรคนี้  แต่ก็น่าจะเลือกตัวบุคคลมากกว่า

 เขต 2

เขตของนางบุญยิ่ง  นิติกาญจนา  จากพรรคพลังประชารัฐ เป็นส.ส.อยู่  และยังคงหนักแน่นเกาะติดพรรคเดิมอยู่ แต่ขณะนี้กำลังถูกนางสาวปารีณา ไกรคุปต์  อดีตส.ส.พรรคพลังประชารัฐ  ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองไล่จิก ในเรื่องของการครอบครองพื้นที่ป่าในทำการธุรกิจฟาร์มหมู  ซึ่งในเขตนี้ก็คาดว่าเก้าอี้น่าจะยังเป็นของนางบุญยิ่ง  เนื่องจากมีผลงานในช่วงที่เป็น ส.ส. เป็นที่ประจักษ์และคู่แข่งก็ไม่น่ากลัว

ประกอบกับสามีของนางบุญยิ่ง  คือนายวิวัฒน์  นิติกาญจนา ก็ยังมีตำแหน่งเป็นนายกอบจ.ราชบุรี  สามารถคุมผู้นำชุมชนอยู่  เก้าอี้ ส.ส.สมัยนี้คงจะไม่มีใครมาชิงได้

เขตนี้เจ๊บุญยิ่ง จากพลังประชารัฐไม่มีคู่แข่ง

เขต 3 

เดิมตำแหน่ง ส.ส.เป็นของนางสาวปารีณา  ไกรคุปต์  จากพรรคพลังประชารัฐ  แต่ถูกศาลตัดสิทธิ์ทางการเมือง  เพราะเรื่องการครอบครองพื้นที่ป่าในการทำธุรกิจฟาร์มไก่  ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งซ่อม  และก็ได้นายชัยทิพย์  กมลพันธุ์ทิพย์  หรือ สจ.เส็ง จากพรรคประชาธิปัตย์  มานั่งเก้าอี้ ส.ส. ในเขต 3 แทน ซึ่งในเขตนี้นางสาวปารีณา ได้ส่งพี่ชาย ลงประกวด คือนายสีหเดช  ไกรคุปต์  อดีตนายกอบต.บางตโตนด  อ.โพธาราม  ลงชิงเก้าอี้ ในนามพรรคภูมิใจไทย

โดยสองคนพี่น้องได้ช่วยกันเคาะประตูบ้าน คุกเข่าขอคะแนนเสียงจากชาวบ้าน งานนี้ได้ใจชาวบ้านไปเยอะ เพราะมีฐานคะแนนเสียงของปารีณา  เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

นอกจากนี้นายจตุพร กมลพันธุ์ทิพย์ รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี  ซึ่งเป็นหลานชายของนายชัยทิพย์  กมลพันธุ์ทิพย์ จะมาลงสมัครชิงเก้าอี้ ส.ส. ในเขตนี้ แทน นายชัยทิพย์ กมลพันธุ์ทิพย์ ที่จะไปลงสู้ศึกในเขต 5 แทน ในนามพรรคพลังประชารัฐ

และยังมีสาวน้อยวัย 25 ปี  นางสาว ชญานันท์ จินดาเจี่ย ลูกสาวสุดหวงของนายสุวิทย์  จินดาเจี่ย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  หนองกลางนา อ.เมือง จ.ราชบุรี ส่งลงชิมรางเพื่อปูพื้นฐานการเมืองในเขตนี้ ถือว่าเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ทั้งหมด แต่ดูแล้วฐานเสียงเดิมของนางสาวปารีณา ยังมีอยู่มาก คาดว่าเขตนี้นายสีหเดช  ไกรคุปต์  พี่ชายนางสาวปารีณา น่าจะได้เก้าอี้ไป

ยกแรกเขตนี้ นายสีหเดช พี่ชายนางสาวปารีณา จากพรรคภูมิใจไทยน่าจะได้เปรียบ

เขต 4 

มีนายอัครเดช  วงษ์พิทักษ์โรจน์ เป็นส.ส. จากพรรคประชาธิปัตย์ แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้อาจจะมีการย้ายพรรคไปอยู่รวมไทยสร้างชาติ แข่งกับนางสาว ชวรลัทธิ์  ชิณธรรมมิตร  อดีต ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ แต่มาสมัยนี้ย้ายมาซบเพื่อไทย หวังชิงเก้าอี้ ส.ส. เพราะคะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยในเขตนี้ค่อนข้างดี แล้วยังมีเลือดใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ นายธนากร เลี้ยงฤทัย (รองกร) อดีตรองนายกเทศมนตรีเมืองบ้านโป่ง มาตัดคะแนนอีก

แต่คาดว่าเก้าอี้น่าจะเป็นของ นางสาว ชวรลัทธิ์  ชิณธรรมมิตร เนื่องจากในช่วงที่ไม่ได้เป็น ส.ส. แต่เดินพบชาวบ้านมาตลอดแล้วยังมีสามี เป็นนายกเทศมนตรีตำบลท่าผา อ.บ้านโป่ง  นายทรงยศ อรัญญกานนท์ ซึ่งถูกขนานนามว่า นายกใจบุญ  เชื่อว่าเขตนี้ชาวบ้านอาจจะยกคะแนนให้ แม้ว่าอาจจะไม่แลนสไลด์ แต่ก็น่าจะได้เก้าอี้ไปครอง

เขตนี้ นางสาวชวรลัทธิ์ จากเพื่อไทยจะเหนือกว่าคู่แข่งคนอื่น

เขต 5

เป็นเขตสุดท้าย  ที่มีนายบุญลือ ประเสริฐโสภา เป็นส.ส.พรรคภูมิใจไทย ที่ครอบครองพื้นที่มายาวนาน โดยสลับกันนั่งเก้าอี้ ส.ส.ระหว่าง พี่ชาย คือนายบุญดำรง  ประเสริฐโสภา   ซึ่งในการสู้ศึกเลือกตั้งครั้งนี้นายบุญลือ นั้นลงก็สมัครในนามพรรคภูมิใจไทย โดยมีนายชัยทิพย์ กมลพันธุ์ทิพย์  ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เขต 3 กระโดดข้ามมาลงในเขตนี้ในนามพรรคพลังประชารัฐ

ในเขตนี้คอการเมืองต้องจับตา  เพราะงานนี้ ช้าง ชน ช้าง ใครจะอยู่ใครจะไปก็แต่ในเขตนี้มีนายสรอรรถ  กลิ่นประทุม กุนซือใหญ่ที่ดูแลพื้นที่นี้มานานก็ประกาศจะรักษาพื้นที่ไว้ได้  ก็คาดว่าเก้าอี้น่าจะเป็นของนายบุญลือ แต่ก็คงต้องเหนื่อยแน่  เขตนี้คอการเมืองห้ามกระพริบตา

เขต 5 ยังเป็นนายบุญลือ จากพรรคภูมิใจไทยที่นำออกไปก่อนแบบไม่ห่างมาก

ลพบุรี มี 5 เขต

เขต 1 เป็นในพื้นที่ของอำเภอเมืองลพบุรี เฉพาะ เทศบาลเมืองลพบุรี ,เทศบาลเมืองเขาสามยอด , เทศบาลตำบลถนนใหญ่ ,เทศบาลตำบลกกโก, เทศบาลตำบลป่าตาล , ตำบลทะเลชุบศร, ตำบลท่าแค ,ตำบลโคกกะเทียม, ตำบลพรหมาสตร์ ,ตำบลโพธิ์เก้าต้น,ตำบลบางขันหมาก, ตำบลโคกลำพาน ผู้ที่ลงรับสมัครเลือกตั้งที่มีการเปิดตัวและพรรค การเมืองที่สังกัดแล้วก็มีหลายคน ทั้งอดีต ส.ส.ปัจจุบันคือ

นายพิชัย เกียรติวินัยสกุล อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ย้ายมาสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ ต้องสู้กับ นายปิติ เลิศวิริยะประภา เลขานุการนายกเทศมนตรีเมืองเขาสามยอดลงสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ ส่งโดย อาจารย์ผ่องศรี ธารภูมิ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ลพบุรี และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้สนับสนุน

ด้าน นายสิทธิชัย หล่อประสงค์สุขอดีตรองนายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี และ ส.จ.ลพบุรี ลงในนามพรรคเพื่อไทยที่มีบ้านใหญ่ให้การสนับสนุนแนวโน้มเลือกตั้งครั้งนี้ นายสิทธิชัย ได้เปรียบผู้สมัครจากพรรคอื่น จากกระแสเพื่อไทยที่มาแรง ยิ่งถ้าได้กระสุนมากด้วยต้องเรียกว่าแบเบอร์ แน่นอน

ซึ่งสนามเลือกตั้งที่ 1 แชมป์เก่า นายประทวน สุทธิอำนวยเดช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชารัฐ ได้ย้ายพรรคและย้ายเขตไปลงเขต 2 แทน เพื่อหลีกทางให้ พ.อ.สุชาติ คัดสูงเนิน อดีตทหารรบพิเศษ ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชารัฐ และนายเอกราช แก้วเสมา พรรคก้าวไกล

สำหรับพื้นที่เขตเลือกตั้งที่1 น่าจะเป็นการวัดกันของอดีตสส.อย่างนายพิชัย เกียรติวินัยสกุล ซึ่งเป็นอดีตสส.พรรคเพื่อไทย แต่ครั้งนี้เปลี่ยนสีเสื้อมาใส่พรรคร่วมไทยสร้างชาติ จะแข่งกับเสี่ยหน่อง นายสิทธิชัย หล่อประสงค์สุข แห่งพรรคเพื่อไทย โดยสนามนี้ประเมินเบื้องต้นเสี่ยหน่องดูมีภาษีดีกว่านายพิชัย เพราะเสี่ยหน่องได้แรงหนุนจากนายกเล็กเมืองลพบุรี

เขต 1 ยกแรกนายสิทธิชัยจากเพื่อไทยออกนำไปก่อนด้วยกระแสพรรคผสมกระแสตัวบุคคล

เขต 2 นายประทวน สุทธิอำนวยเดช สังกัดพรรคพลังประชารัฐ และย้ายมาใส่เสื้อภูมิใจไทย ที่ย้ายจากเขต 1 มาลงเขต 2 แทน ต้องชนกับ นายณฐพงศ์ นรสิงห์ พรรคพลังประชารัฐ นายสาธิต ทวี พรรคก้าวไกล

เขตนี้ไม่ดุเดือด เขตนี้ประทวน สุทธิอำนวยเดช ลอยลำไม่ต้องออกแรงมาก เพราะประชาชนเห็นหน้ากันบ่อย

ดังนั้นทันทีที่เปิดหน้าว่าที่ผู้สมัครสนามเลือกตั้งเขตที่ 2 สนามนี้ นายประทวนจากพรรคภูมิใจไทยน่าจะปักธงสบาย และนำตั้งแต่โค้งแรกจนเข้าป้าย

เขต 3 

น่าจับตามอง จะมีการแข่งขันอย่างดุเดือด ไม่มีใครยอมแพ้ใครอย่างแน่นอน แชมป์เก่าเป็นการแข่งขันกันระหว่าง ส.ส.ปัจจุบันและอดีต ส.ส.เก่าที่แต่ละคนก็เคยได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเข้าไปนั่งในสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว โดยที่จับตามองคือ น.ส.มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ส.ส.ปัจจุบัน สังกัดพรรคภูมิใจไทยมาตลอด

สำหรับในการเลือกตั้งในครั้งนี้ถ้าผ่านเข้าไปได้อีกครั้งและพาสมาชิกในเขตเลือกตั้งอื่น ๆ อีก 3 เขตชนะการเลือกตั้งตำแหน่งรัฐมนตรี อยู่ในมือแน่นอน ส่วนคู่แข่งที่ปะทะกันมาและในครั้งนี้ประกาศสู้เต็มที่คือนายสุชาติ ลายน้ำเงินอดีต ส.ส.ลพบุรี โดยยังคงลงสมัครในเสื้อตัวเดิมสังกัดพรรคเพื่อไทยที่ลงพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าอาจจะได้รับกระแสแลนด์สไลด์ เพราะคู่นี้พลัดกันแพ้-ชนะ มาตลอดไม่มีใครยอมแพ้ใคร

แต่สุดท้ายนอกจากวัดกันที่กระแสแล้ว ต้องดูด้วยว่าใครกระสุนเยอะกว่ากัน ด้าน นายนัฐพล เกียรติวินัยสกุล อดีต ส.ส. พรรคไทยรักไทย หวนคืนสนามการเมืองอีกครั้งในนามพรรครวมไทยสร้างชาติ สนามจังหวัดลพบุรี และ มีพรรคแทรกซึมเล็กน้อยก็คืน นายมนัส ไหวพริบ พรรคก้าวไกล นายไสว วงษ์ศรี พรรคพลังประชารัฐ

ขณะที่เขตเลือกตั้งที่ 3 เป็นอีกเขตที่พรรคภูมิใจไทยน่าจะปักธงได้ เนื่องจากส.ส.เก่าอย่างนางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิชย์ ทำงานในพื้นที่มาตลอดและฐานเสียงเข้มแข็งน่าจะชนะคู่จากพรรคเพื่อไทยอย่าง ดร.สุชาติ แห่งค่ายเพื่อไทยได้อีกครั้ง

เขตนี้ นางสาวมัลลิกา ยังเหนือกว่าดร.สุชาติจากเพื่อไทย

เขต 4 

ไม่มีใครยอมแพ้ใคร แข่งกันดุเดือดอย่างแน่นอน คาดว่าเหตุนี้เงินสะพัด

นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงามส.ส.ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย ยังคงอยู่พรรคเดิมป้องกันแชมป์ โดยมีนางปวีณา นิลแย้มภรรยา นอภ.ท่าหลวง อดีต ส.จ.ลพบุรี และมีบ้านใหญ่ให้การสนับสนุน โดยก่อนหน้านี้เคยสมัครเป็นสมาชิกสร้างอนาคตไทยแล้วถูกแกนนำทอดทิ้ง จึงวิ่งมาซบอกพรรครวมไทยสร้างชาติที่อาจจะเป็นตัวแปรสำคัญในสนามเลือกตั้งแห่งนี้

ส่วนคนที่เป็นทายาทของอดีตนักการเมืองที่เคยเป็นวิปฝ่ายค้านมาแล้วคือ นายอำนวย คลังผา ซึ่งในครั้งนี้ได้ส่งนายนรินทร์ คลังผานายก อบต.วังเพลิง ลงสมัครในนามพรรคภูมิใจไทย ที่หันมาเล่นการเมืองระดับชาติ และมีนายมนัส ไหวพริบอดีต ผอ.กกต. จ.ลพบุรี ลงสมัครในนามพรรคก้าวไกล

เขตนี้แข่งกันดุเดือดอย่างแน่นอนเพราะ แชมป์เก่าแพ้ไม่ได้ นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม แชมป์เก่าต้องสู้กับลูกชาย นายอำนวย คลังผาซึ่งในครั้งนี้ได้ส่งนายนรินทร์ คลังผานายก อบต.วังเพลิง ลงสมัครในนามพรรคภูมิใจไทย สนามนี้คาดว่าเงินสะพัดอย่างแน่นอนเพราะต่างคนต่างไม่ยอมแพ้ใคร

เขตนี้ในเบื้องต้นวัดจากกระแสแล้ว นายอุบลศักดิ์ จากเพื่อไทยยังเหนือกว่าเล็กน้อย

เขต 5 อำเภอชัยบาดาล, อำเภอท่าหลวง,อำเภอลำสนธิ

นายเกียรติ เหลืองขจรวิทย์ ส.ส.ปัจจุบันสังกัดภูมิใจไทย ยังคงสวมเสื้อตัวเดิม โดยมีคู่แข่งที่เป็นคนหนุ่มมาแรงทายาท ส.ส.หลายสมัยคือนายวรวงศ์ วรปัญญาหลานชายของนายนิยม วรปัญญา อดีตดาวสภาลงสมัครรับใช้ประชาชนในนามพรรคเพื่อไทย และนายสนั่น พรหมสุขอดีต ส.จ.ลพบุรี ลงสมัครในนามพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งคาดว่าในการเลือกตั้งสนามใหญ่ครั้งนี้จะมีการแข่งกันสูงกว่าในทุกครั้งที่ผ่านมา รวมทั้งจังหวัดลพบุรีจะเป็นอีกจังหวัดที่มีการแข่งขันกันสูงและมีหลากหลายพรรค การเมืองที่เข้าไปในสภาอย่างแน่นอน

ส่วนเขตเลือกตั้งที่5เป็นเขตที่ขับเคี่ยวกันหนักระหว่างส.ส.เกียรติ แห่งภูมิใจไทยที่ต้องมาชนกับนายวรวงศ์ วรปัญญา หลานชายส.ส.นิยม วรปัญญา แต่ความขยันลงพื้นที่ ติดดินของนายเกียรติน่าจะเบียดเอาชนะความสดไปได้

ยกแรกนายเกียรติจากภูมิใจไทยที่ขยันกว่า ยังนำนายวรวงศ์แบบเบียดติดกันไม่ห่าง

ต้องรอดูกันจนถึงยกสุดท้ายว่ากระสุนนัดสุดท้ายใครจะเข้าเป้ามากกว่ากัน แต่เบื้องต้นเซียนการเมืองลพบุรีฟันธงยกแรกว่าพรรคภูมิใจไทยน่าจะปักธงในลพบุรีได้อย่างน้อย 4 จาก 5 เขต ส่วนอีกเขตเป็นของพรรคเพื่อไทย

สมุทรปราการ มี  8 เขต

การเลือกตั้ง ปี2566 ครั้งนี้ ช่วงแรก "ค่ายอัศวเหม" ภายใต้นำทีมของ "นายกเอ๋" นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ที่มีคนข้างกาย "ตู่" นันทิดา แก้วบัวสาย” นั่งเก้าอี้ "นายก อบจ.สมุทรปราการ" ยังคงมาแรงในเกือบทุกเขต

แต่หลังการเสียชีวิตกระทันหันของนายชนม์สวัสดิ์ ทำให้ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่าจะกระทบต่อฐานคะแนนของตระกูล “อัศวเหม”

การเสียชีวิตของนายชนม์สวัสดิ์ ทำให้คู่แข่งสำคัญของทีมบ้านใหญ่อัศวเหม ในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างพรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกลอาจช่วงชิงความได้เปรียบกลับมาได้อีกครั้ง รวมถึงพรรครวมไทยสร้างชาติ ของ "ลุงตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มีเสธฯอ้น พลเอกกนิษฐ์  ชาญปรีชญา เตรียมทหารรุ่น 19 เข้ามากุมบังเหียนเลือกตั้งครั้งนี้ร่วมกับตระกูลเทียนสุวรรณ   ที่แม้จะส่งผู้สมัครหน้าใหม่ แต่มีดีกรีไม่ธรรมดามีความเกี่ยวพันกับนักการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

เขต 1 อ.เมืองสมุทรปราการ (เฉพาะต.บางโปรง ต.บางด้วน ต.บางเมือง ต.ท้ายบ้าน และต.ปากน้ํา) นายอัครวัฒน์ อัศวเหม  แชมป์เก่าจากพรรคพลังประชารัฐ  ยังคงสายแข็งมาเต็ง 1 เหมือนเดิม  เนื่องจากพื้นที่นี้ เป็นฐานเสียงหลักของบ้านใหญ่ มีแฟนคลับเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครสมุทรปราการ ที่กลุ่มบ้านใหญ่ปากน้ำได้รับการเลือกตั้งนั่งตำแหน่งบริหารท้องถิ่นมายาวนาน

ซึ่งนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม อดีตก็เคยนั่งตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครสมุทรปราการมาก่อน ทำให้ยากที่ใครจะยึดพื้นที่นี้ได้ง่ายๆ   ส่วนคู่แข่งที่สำคัญมีกระแสเป็นอันดับ 2 คือ นายธนชาติ ยังประภากร อดีต สท.บางปู  ลูกชายของ  นายจรูญ ยังประภากร อดีต สว.สมุทรปราการ และเจ้าของฟาร์มจระเข้เเละสวนสัตว์สมุทรปราการ

การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นายธนชาติ ได้ลงในนามพรรคภูมิใจไทย มารอบนี้ลงในนามพรรครวมไทยสร้างชาติ ส่วนพรรคก้าวไกลส่งผู้สมัครคนเดิม น.ส.พนิดา  มงคลสวัสดิ์  ซึ่งกระแสในพื้นที่ก็มองข้ามไม่ได้เช่นกัน

 แต่ที่มาแรงน่าจะเป็นนางสาวแพรวพรรณ  พุกพิบูลย์ จากพรรคเพื่อไทยที่มีภาพลักษณ์เป็นคนรุ่นใหม่ และตระกูลพุกวิบูลย์เคยทำการเมืองในพื้นที่มานาน เมื่อบวกกับกระแสพรรคเพื่อไทย และปัจจัยสำคัฯคือการเสียชีวิตของนายชนม์สวัสดิ์ ทำให้นางสาวแพรวพรรณน่าจะมีโอกาสล้มช้างตระกูลอัศวเหมได้

เขตนี้ยกแรก ให้นางสาวแพรวพรรณ นำก่อน ด้วยคะแนนกระแสพรรคและภาพลักษณ์การเป็นคนรุ่นใหม่

เขต 2 อ.เมืองสมุทรปราการ (เฉพาะต.บางปู ต.บางปูใหม่ ต.แพรกษา และต.ท้ายบ้านใหม่)

ไม่แตกต่างจากเขตเลือกตั้งที่1  ดร. ยงยุทธ สุวรรณบุตร แชมป์เก่าจากพรรคพลังประชารัฐค่ายบ้านใหญ่เต็ง1 เนื่องจากดร. ยงยุทธ เป็นอดีตนายกเทศบาลแพรกษามายาวนาน ซึ่งในปัจจุบันภริยาคือ นางอรัญญา สุวรรณบุตร  นั่นนายกเทศมนตรีตำบลแพรกษาต่อหลัง ดร. ยงยุทธ ลาออกไปลง สส.

ส่วนคู่แข่งจากพรรคเพื่อไทย คือนายภิญโญ กิจเลิศไพโรจน์ ลูกชายของนายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เจ้าของศูนย์การค้าอิมพีเรียล เวิลด์ สำโรง ซึ่งถือว่าเป็นคู่แข่งที่สำคัญ มีกระแสตอบรับเป็นดับ 2  เนื่องจากเป็นพื้นที่รอบนิคมอุสาหกรรมบางปู หวังได้คะแนนจากคนทำงานโรงงานที่ชื่นชอบนายทักษิณ ชินวัตร ส่วนพรรคก้าวไกล ส่ง นส. รัชนก สุขประเสริฐ  หวังคะแนนคนรุ่นใหม่เหมือนเดิม   

โค้งแรก ดร.ยงยุทธ จากพลังประชารัฐแม้จะมาแรง แต่ผลกระทบจากการสูญเสียนายชนม์สวัสดิ์ น่าจะกระทบดร.ยงยุทธโดยตรง

ยกแรกให้นายภิญโญ จากเพื่อไทยนำไปก่อน  

เขต 3 อ.เมืองสมุทรปราการ (เฉพาะ ต.เทพารักษ์ ต.สําโรงเหนือ และ ต.บางเมืองใหม่)

แชมป์เก่า น.ส.พริม พูลเจริญ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ค่ายบ้านใหญ่  เต็ง 1 มีฐานเสียงจากผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่  คู่แข่งสำคัญที่มีกระแสตามติดมาแบบหายใจรดต้นคอและพร้อมแซงขึ้นเต็ง1 ได้ตลอดเวลา  คือ นายพิชัย  แจ้งจรรยาวงศ์ ว่าที่ผู้สมัครส.ส.เขต 3 สมุทรปราการ จากพรรคก้าวไกล ที่เร่งทำคะแนนลงพื้นที่อย่างหนัก มี นายรังสิมัน โรม  โฆษกพรรคก้าวไกล  มาช่วยลงพื้นที่ตลอด

ในพื้นที่นี้ ทีมงานพรรคก้าวไกลยังเคยเอาชนะในการเลือกตั้งเทศบาลด่านสำโรงมาแล้วถึง 2 ครั้งรวด ระกอบกับมีกุนซือในพื้นที่อย่างดร.ประสิทธิ์ เจตน์ทรงธรรม นักธุรกิจผู้กว้างขวางมาเป็นหัวหน้าสาขาพรรคสมุทรปราการเขต 3 ด้วยแล้วเรียกว่า พรรคพลังประชารัฐ หายใจไม่ทั่วท้องกันเลยทีเดียว

ในเขตนี้ พรรคเพื่อไทย ส่ง นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย หรือ“ส.ส.โจ”อดีต ส.ส พรรคเพื่อไทยหลายสมัยมาทวงเก้าอี้ ส.ส.คืน มีกระแสในพื้นที่ดีขึ้นเป็นลำดับ

เขตนี้ยกแรก ยังเป็นนายประเสริฐ จากเพื่อไทยที่อาศัยกระแสพรรคออกนำคู่แข่งคนอื่นๆไปก่อน แต่ไม่มากนัก

เขต 4 อ. บางพลี(เฉพาะ ต.บางพลีใหญ่ และ ต.บางแก้ว)

เขตนี้เรียกว่าแข่งขันกันดุเดือดที่สุดของ จ.สมุทรปราการ เพราะเป็นเหมือนศึก ศักดิ์ศรี ไม่มีพรรคไหนยอมกัน เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้วเป็นเขตเลือกตั้งเดียว ใน จ.สมุทรปราการ ที่พรรคพลังประชารัฐ กลุ่มบ้านใหญ่ปากน้ำไม่สามารถได้เก้าอี้ ส.ส. พ่ายให้กับพรรคอนาคตใหม่ ที่เปลี่ยนเป็นพรรคก้าวไกลในปัจจุบันไปอย่างหวุดหวิด  "ส.ส.วุฒิ" นายวุฒินันท์ บุญชู จาก พรรคก้าวไกล เมื่อได้ปักธงในสมุทรปราการแล้ว ก็ไม่ยอมที่จะเสียเก้าอี้ให้ใครไปง่ายๆ

 ตลอดการเป็น ส.ส. "นายวุฒินันท์" ลงพื้นที่ละเอียดยิบทุกชุมชน  สร้างกระแสนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีแกนนำพรรค จากปีกแรงงานเข้ามาช่วยลงพื้นที่ทำคะแนนตลอด แม้ว่าพื้นที่ฐานเสียงสำคัญในพื้นที่ ต.บางโฉลง ต.ราชาเทวะ จะถูกแยกออไป แต่เต็ง 1 เขตนี้จึงยังเป็นของ ส.ส.วุฒินันท์

 ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ ที่มีกระแสตามมาติดๆ กลุ่มบ้านใหญ่ปากน้ำในตอนแรก  เปิดตัว “สจ.แสน “ดร.แสน  บานแย้ม  ที่ปรึกษา รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  อดีต ส.อบจ.สมุทรปราการ ปักป้ายแนะนำตัวทั่วพื้นที่ ล่าสุดมีกระแสว่าเขตนี้อาจมีการเปลี่ยนตัวผู้สมัครเป็น นายวรพร อัศวเหม  หวังล้างตาทวงคืนศักดิ์ศรีความเป็นบ้านใหญ่ปากน้ำ  แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย  เพราะค่ายลุงตู่ พรรครวมไทยสร้างชาติ  เปิดตัว “รองโจ” พ.ต.อ.กรวัฒน์  หันประดิษฐ์  ที่ลาออกจาก รองผู้การชลบุรี เพื่อมาลงสมัคร สส. เขต4

แม้ว่า “รองโจ” จะไม่เคยลงเล่นการเมือง แต่ด้วยความที่เคยเป็น ผกก.สภ.บางพลี  ฝังตัวอยู่ในพื้นที่บางพลีนานสร้างฐานการเมืองโดยการเป็นประธานนิติบุคคลในกลุ่มของบ้านเอื้ออาทรคลองขุด ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่นาน ดร.วีร์สุดา รุ่งเรือง ภริยาของ รองโจ ก็เอาชนะ ทีมบ้านใหญ่ปากน้ำในการเลือกตั้ง นายก อบต.บางพลีใหญ่ มาแล้ว เรียกว่าทั้ง 3 พรรคที่กล่าวมามีสิทธิ์พลิกขึ้นเป็นเต็ง 1

การประเมินรอบแรก ยังให้นายวุฒินันท์จากก้าวไกล ได้เปรียบจากความขยันลงพื้นที่ และนโยบายที่โดนใจกลุ่มแรงงานในพื้นที่

เขต5 อ.บางพลี (เฉพาะ ต.บางปลา ต.บางโฉลง ต.ราชาเทวะ และ ต.หนองปรือ) อ.เมืองสมุทรปราการ (เฉพาะ ต.แพรกษาใหม่) อ.บางเสาธง (เฉพาะต.ศีรษะจรเข้น้อย)

เขตนี้ถือเป็นใหม่ที่แยกพื้นที่บางส่วนจากเขตเดิม 3 เขตมารวมกัน พรรคพลังประชารัฐ ส่ง นายจาตุรนต์ นกขมิ้น ลูกชายของนายทรงชัย นกขมิ้น นายกอบตราชาเทวะ ลงเนื่องจากมีฐานเสียงที่ได้เปรียบในพื้นที่ ต.ราชาเทวะ  แต่ก็ต้องเจอคู่แข่งที่สำคัญที่มีความได้เปรียบเสียเปรียบไม่ต่างกันอย่าง นส.นิตยา มีศรี จากพรรคก้าวไกล  ที่ได้แรงหนุนจากคนรุ่นใหม่ และคนทำงานโรงงาน โดยเฉพาะพื้นที่นี้เป็นที่ตั้งของกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท

ซึ่งมีนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ แม่ของนาย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เป็นเจ้าของ และการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว กลุ่มคนโรงงานจากพื้นที่นี้ทำให้พรรคก้าวไกลปักธงชนะการเลือกตั้งในส.ส.สมุทรปราการมาแล้ว เรียกว่าทั้ง 2 คนนี้มีฐานคะแนนที่สูสีกันมาก  ส่วนพรรคเพื่อไทยส่ง นายนิธิพล บุญเพ็ชร ลงชิงชัย ในเขตนี้ 

เขต 5 ผู้สมัครจากก้าวไกล นางสาวนิตยา นำมาก่อนในยกแรก

เขต 6 อ.พระประแดง (ยกเว้น ต.บางจาก)

นายฐาปกรณ์ กุญเจริญ แชมป์เก่าจากพรรคพลังประชารัฐค่ายบ้านใหญ่ปากน้ำ หลานของ  "สนิท กุลเจริญอดีต" ส.ส. หลายสมัย  ยังคง เต็ง 1 แต่ก็วางใจไม่ได้ พรรคเพื่อไทยส่งนางนฤมล ธารดำรงค์. น้องสาว ดร.ประชา ประสพดี  ลงประกบมีกระตอบรับในพื้นที่ดีมากเช่นกัน

ส่วนพรรคก้าวไกลส่งนายวีระภัทร คันธะ ก็มีการลงพื้นที่กระแสตอบรับตามมาติดๆเช่นกัน ในขณะที่น.ส.เรวดี รัศมีทัต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จากพรรคภูมิใจไทย ที่เคยเป็นตัวเต็งในเขตนี้ขยับขึ้นไปลงในระบบปารตี้ลิสต์ ตอกย้ำกระแสข่าวที่ว่าพรรคภูมิใจไทยจะไม่ส่งผู้สมัครทุกเขตในปากน้ำ เพื่อหลีกทางให้พรรคพลังประชารัฐ

เขตนี้รอบแรกยังต้องยกให้นายฐาปกรณ์ จากพลังประชารัฐ

เขต 7 อ.พระสมุทรเจดีย์ อ.พระประแดง (เฉพาะ ต.บางจาก)

 ภายหลัง น.ส.ไพลิน เทียนสุวรรณ  แชมป์เก่าจาก คนเดียวที่ไม่สังกัดบ้านใหญ่ปากน้ำแยกตัว ตามลุงตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยตอนแรก น.ส.ไพลิน จะลงปาร์ตี้ลิสต์แต่สุดท้ายเปลี่ยนใจลง ส.ส.เขตเหมือนเดิม ขณะที่บ้านใหญ่ปากน้ำพลังประชารัฐส่งนายต่อศักดิ์ อัศวเหม ลงในเขต7 ส่งผลให้ทั้ง 2 คนตัดคะแนนกันอง เนื่องจากทั้ง 2 คนมีฐานเสียงเดียวกัน ต่างกับผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย คือ ดร.ประชา ประสพดี อดีต ส.ส.สมุทรปราการหลายสมัย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มีคะแนนเต็ง1 เขตนี้ขึ้นมาในทันที

เนื่องจากที่ผ่านมา ดร.ประชา ลงพื้นที่พบปะประชาชนตลอดแม้ไม่ได้เป็น ส.ส.ก็ตาม ฐานคะแนน ดร.ประชา ก็ยังเหนียวแน่นเช่นเดิม

เขตนี้นางสาวไพลินจากรวมไทยสร้างชาติที่ผนึกกำลังกับเสธฯอ้น พลเอกกนิษฐ์ นำ ดร.ประชา จากเพื่อไทยแบบสูสี

เขต8 อ.บางบ่ออ.บางเสาธง (เฉพาะ ต.บางเสาธง และต.ศีรษะจรเข้ใหญ่)

นายกรุงศรีวิไล สุทินเผือก แชมป์เก่าจากพรรคพลังประชารัฐค่ายบ้านใหญ่ปากน้ำ  ด้วยความที่เป็นดารา มีแฟนคลับทุกรุ่น  อีกทั้งยังเป็นคนพื้นที่ ต.บางพลีน้อย มีเครือญาติจำนวนมาก ประกอบกับมีแรงหนุนจากบ้านใหญ่ แม้ว่ากระแสในตัว สส.กรุง จะแผ่วลงบ้างในช่วงหลังแต่ ก็ยัง เต็ง 1 ในเขตนี้อยู่

ส่วนพรรคเพื่อไทย ส่งนางสลิลทิพย์ ชัยสดม อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย หลายสมัยลงประกบ  แม้ว่ากระแสแลนด์สไลด์ของอุ๊งอิ๊ง จะไม่ได้แรงมากในพื้นที่นี้ แต่ความชื่นชอบในตัว นางสลิลทิพย์ ก็ถือว่าดีมาก เพราะเป็นคนยิ้มง่าย เสมอต้นเสมอปลาย แม้ในช่วงที่ไม่ได้เป็น สส. เรียกว่าตามติดส.ส.กรุง พร้อมแซงขึ้นเต็ง1 ตลอดเวลาเช่นกัน

พรรคก้าวไกลรับนายตรัยวรรธน์  อิ่มใจ  กลับบ้านหลังเดิม ลงชิงพื้นที่เดิมอีกครั้ง หลังเคยออกจากพรรคไป เพราะพรรคไม่ส่งลงในการเลือกตั้งซ่อม สส. ที่ผ่านมา กลับมารอบนี้มีกระแสตอบรับจากกลุ่มวัยรุ่นดีเช่นกัน  

ยกแรกเขตนี้ให้นายกรุงศรีวิไล จากพลังประชารัฐได้เปรียบ และออกนำไปก่อน

 นี่เป็นเพียงการวิเคราะห์รอบแรกหลังการรับสมัคร กว่าจะถึงวันหย่อนบัตรเลือกตั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงคะแนนนิยมของผู้สมัคร และและตัวนโยบายพรรคอาจส่งผลต่อตัวผู้สมัครและพรรคจนเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้

สมุทรสงคราม มี 1 เขต

 

เขต 1 สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ผู้สมัครส่วนใหญ่ยังเป็นคนหน้าเดิมและที่เป็นตัวเก็งก็เช่น “เจ๊โอ๋” น.ส.รังสิมา รอดรัศมี อดีต ส.ส.สมุทรสงคราม เบอร์ 4 ที่ครองแชมป์มาแล้ว 5 สมัย ย้ายจากพรรคประชาธิปัตย์ไปอยู่พรรครวมไทยสร้างชาติ กับ“ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ต้องยกให้เป็นตัวเก็งก็เพราะ “เจ๊โอ๋ รังสิมา” ถ้าไม่มีฐานเสียงที่เป็นแฟนพันธุ์แท้หรือกลยุทธ์ที่แยบยลแล้วก็คงไม่ได้แชมป์ถึง 5 สมัยติดต่อกัน

ที่น่าเป็นห่วงก็แต่รวมไทยสร้างชาตินั้นเป็นพรรคใหม่ คาดเดาไม่ได้ว่าจะได้คะแนนพรรคมาช่วยมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น “เจ๊โอ๋ รังสิมา” จึงต้องพึ่งพาคะแนนตัวเองให้มากที่สุด เพราะเลือกตั้งเมื่อปี 2562 แม้เจ๊โอ๋จะชนะ แต่ก็หืดขึ้นคอจากที่เคยทิ้งห่างคู่แข่งหมื่นสองหมื่นคะแนนก็เหลือเพียงแค่ 26,718 คะแนน และชนะอันดับ 2 เพียงแค่ 4 พันกว่าคะแนนเท่านั้น

ที่ประมาทไม่ได้ก็คือนายนพพล ธนิกุล เบอร์ 2 จากพรรคพลังประชารัฐ ของบิ๊กป้อม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี “นพพล” แม้จะเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ แต่ก็เตรียมตัวมานานและขึ้นมาทาบรัศมี เจ๊โอ๋ รังสิมา ทันทีที่เริ่มเปิดตัว เพราะนอกจาก “นพพล”จะเป็นลูกชายของ ร.ต.นุกูล ธนิกุล อดีต ส.ส.สมุทรสงคราม 4 สมัย และอดีต สว.สมุทรสงคราม 1 สมัย มีมารดา คือ น.ส.กาญจน์สุดา หรือสุกานดา ปานะสุทธะ เป็นนายก อบจ.สมุทรสงคราม เลือกตั้งปี 2562 พรรคพลังประชารัฐ ยังได้ถึง 21,868 เป็นลำดับที่ 2 แพ้ เจ๊โอ๋ รังสิมาไปแบบมีลุ้นทุกกระดาน

อีกหนึ่งตัวเก็งคือ นายอานุภาพ “กล้า” ลิขิตอำนวยชัย เบอร์ 7 จากพรรคก้าวไกล เคยได้ถึง 17,268 คะแนนเป็นอันดับ 3 แบบคะแนนไม่ห่างกันมากนักมาแล้วขวัญใจภาคประมง “กล้า” ยังเคยลงสมัครนายก อบจ.สมุทรสงครามเมื่อปี 63 ได้ 13,232 คะแนน นอกจากนี้ “กล้า” ยังมีบิดาคือนายอำนวย ลิขิตอำนวยชัย ที่เคยเป็นนายก อบจ.สมุทรสงครามมาแล้ว 2 สมัย

 หายใจรดต้นคอตัวเก็งก็คือ น.ส.ณิชาภา “รัก” โกวิทานนท์ เบอร์ 8 จากพรรคเพื่อไทย “รัก” ไม่ใช่คนหน้าใหม่ทางการเมือง เพราะเคยเป็นรองนายก อบต.สวนหลวง (ปัจจุบันเทศบาล) เคยเป็น สจ.เขต 3 อัมพวา และเคยลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สมุทรสงครามมาแล้วเมื่อปี 62 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ครั้งนี้จะได้คะแนนพรรคเพื่อไทย และจากภาคประมง

ส่วน ประชาธิปัตย์ส่ง นายธนธัส “เอส” ขุนนุช เบอร์ 6  / ดิเรกฤทธิ์ “เสี่ยหมู” เล็กสกุล เบอร์ 9 จากพรรคเสรีรวมไทย ของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวช นายนิทรารัตน์ “ทนายโต” แพทย์วงศ์ เบอร์ 1 จากพรรคไทยสร้างไทย ของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์  / นายณรงค์ ญานศิริ “เสี่ยช่อน” เบอร์ 5 จากพรรคภูมิใจไทย / นายพิพัฒน์ สวนสวัสดิ์ เบอร์ 3 จากพรรคไทยภักดี ของ น.พ.วรงค์  เดชกิจวิกรม

เขตนี้ ให้นางรังสิมา จากรวมไทยสร้างชาติเหนือกว่าคู่แข่งคนอื่น

สมุทรสาคร มี 3 เขต

เขต 1 มีผู้มาลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด 9 คน โดยผู้ที่เคยมีประสบการณ์ทางด้านการเมืองท้องถิ่นมาแล้วก็คือ นายวัฒนา  แตงมณี  พรรคพลังประชารัฐ อดีตนายก อบต.พันท้ายนรสิงห์,นายสมเกียรติ  ปิ่นเจริญ พรรครวมไทยสร้างชาติ อดีต ส.อบจ.สมุทรสาคร,นายอุดม กันม่วง พรรคเพื่อไทย อดีตประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านฯ,นายชวพล วัฒนพรมงคล พรรคประชาธิปัตย์ อดีต รองนายก ทน.สมุทรสาคร ,นายบรรพต  อินคชสาร พรรคเสรีรวมไทย  อดีตกรรมการสมาคมการประมงสมุทรสาคร และ นายณัฐพงษ์ สุมโนธรรม พรรคก้าวไกล

สายเลือดคนรุ่นใหม่ ส่วนที่คาดว่าน่าจะชิงดำกันแบบห้ามกระพริบตาถ้าไม่มีม้ามืดวิ่งแซงเข้าเส้นชัยอย่างการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาก็คงหนีไม่พ้น นายวัฒนา  แตงมณี  พรรคพลังประชารัฐ  อดีตนายก อบต.พันท้ายนรสิงห์ กับ นายชวพล  วัฒนพรมงคล พรรคประชาธิปัตย์ อดีต รองนายก ทน.สมุทรสาคร นั่นเอง

ยกแรกต้องยกให้นายวัฒนา จากพลังประชารัฐ ฮีโร่โควิดของคนในพื้นที่ออกนำไปก่อน

เขต 2 น.ส.ปัญฑารีย์  มั่งมี พรรคพลังประชารัฐ ลูกสาวกำนัน สวยใสได้พ่อเป็นกองหนุนเต็มกำลัง,นายพลภวัฒน์ ชำนาญวาด พรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตนายก ทต.สวนหลวง,นายบุญมี นิลถนอม พรรคเพื่อไทยอดีต ส.อบจ.สมุทรสาคร ลูกชายสายเลือดของนักการเมืองระดับประเทศที่ขอเดินตามรอยพ่ออย่างอดีต ส.ส.บุญชู (หลอ) นิลถนอม,นายธนวัฒน์ ทองโต พรรคประชาธิปัตย์  หรือ ทนายช้าง อดีต ส.อบจ.สมุทรสาคร ผู้มากด้วยประสบการณ์ทั้งการเมืองท้องถิ่นและความรู้ด้านกฎหมาย,นายรติพงษ์ ภู่มาลี พรรคภูมิใจไทย ดารานักแสดงสายเลือดคนกระทุ่มแบน  และ นายศิริโรจน์ ธนิกกุล พรรคก้าวไกล ขอวัดใจคนรุ่นใหม่อีกครั้ง

ส่วนที่ถูกจับตาว่าน่าจะเป็นคู่ศึกสำคัญในศึกเลือกตั้งครั้งนี้คงหนีไม่พ้น นายบุญมี นิลถนอม พรรคเพื่อไทย กับ นายธนวัฒน์ ทองโต พรรคประชาธิปัตย์

แต่การประเมินช่วงแรก นายบุญมีจากเพื่อไทยน่าจะเหนือว่านิดๆ

เขต 3 เป็นเขตที่มีแต่ผู้สมัครเก๋าเกมมากที่สุด เพราะหลายคนเคยลงชิงชัยกันมาแล้ว และ 2 ใน 9 ก็เคยเป็นถึงอดีต ส.ส.มาแล้ว คือ น.ส.จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ พรรคพลังประชารัฐ อดีต ส.ส.เขต 3 สมัยที่ผ่านมา ซึ่งลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง กับ นายนิติรัฐ สุนทรวร พรรคประชาธิปัตย์ อดีต ส.ส.เขต 3 ปี 2554 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

แต่อีกคนที่จะมองข้ามผ่านไม่ได้คือ นายปัญญา ชวนบุญ พรรคภูมิใจไทย เพราะการเลือกตั้งปี 62 ที่ผ่านมานั้น ก็เคยลงแข่งมาแล้วแม้จะพ่ายให้กับ น.ส.จอมขวัญ ไปแบบฉิวเฉียดเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม นางสาวจอมขวัญ น่าจะยังเหนือกว่าทั้งนายปัญญา จากภูมิใจไทยและนายนิติรัฐจากประชาธิปัตย์

สิงห์บุรี มี 1 เขต         

สนามเลือกตั้งสิงห์บุรี แม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆ ในพื้นที่ภาคกลาง มีเพียงหนึ่งเขตเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 ที่นั่งเท่านั้น แต่การแข่งขันมีความเข้มข้น

การเลือกตั้งเมื่อปี 2562 "โชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์" จากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) น้องชาย “เสี่ยโอ๋” ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะรองหัวหน้าพรรค พปชร. เอาชนะ “สุรสาล ผาสุข” จากพรรคเพื่อไทย (พท.) ไปด้วยคะแนน 48,970 ต่อ 39,085 คะแนน โดยมี “ธีรเศรษฐ พัฒน์วราพงษ์” จากอดีตพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ตามมาอันดับ 3 ที่ 19,672 คะแนน

สำหรับการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคมนี้ พรรคพลังประชารัฐ ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรค ส่ง “โชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์” แชมป์เก่าเจ้าของพื้นที่ลงรักษาเก้าอี้ ส.ส. โดยมี “ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์” ลงสู้ศึกเลือกตั้งช่วยน้องอย่างเต็มที่ทุกรูปแบบ

ขณะที่ผู้ท้าชิง เริ่มจากพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) ของ “เจ๊หน่อย” คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ได้ส่ง “สุรสาล ผาสุข” อดีตผู้สมัครพรรคเพื่อไทย เมื่อครั้งที่แล้วสอบตก แต่ยังลงพื้นที่ต่อเนื่อง

ในส่วนของพรรคก้าวไกล (ก.ก.)ส่ง “ธีรเศรษฐ พัฒน์วราพงษ์” หรือเอ็ดดี้ คนรุ่นใหม่ไฟแรงที่การเลือกตั้งปี 2562 ได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 3 โดยคะแนนส่วนใหญ่ได้จากคนรุ่นใหม่ลงสู้ศึกอีกครั้ง

พรรคภูมิใจไทย (ภท.) วางตัว“พชรพล วงษ์ใหญ่” อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน ที่ลาออกจากสนามท้องถิ่น มาสวมเสื้อเป็นผู้สมัคร ส.ส.พรรค ภท.หวังฐานเสียงของกลุ่มคนเสื้อแดงร่วมหนุนอีกทาง

พรรคเพื่อไทย (พท.) คู่แข่งคนสำคัญที่ขณะนี้มาพร้อมกับกระแสพรรค หวังจะแลนด์สไลด์ทั้งแผ่นดิน ล่าสุดส่ง  “นิชดา ปั้นเกตุตันติรักษ์” หรือเจ๊บุ๋ม ภรรยา “พายัพ ปั้นเกตุ” ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย

การเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะแข่งขันกันระหว่างพรรคใหญ่ 2 พรรค คือ พรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย  ระหว่าง “โชติวุฒิ” จากพรรคพลังประชารัฐ กับ “สุรสาล” ที่ย้ายจากพรรค เพื่อไทยไปสวมเสื้อสู้ศึกเลือกตั้งในนามพรรคไทยสร้างไทย ของ “เจ๊หน่อย” โดยเสียงของ "โชติวุฒิ" ในพื้นที่ถือว่าขยันลงพื้นที่ ทั้งงานราษฎร์ งานหลวง  

ขณะเดียวกันกระแสพรรคใหญ่ต้องยอมรับว่านาทีนี้ พรรคเพื่อไทย ที่มี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย พร้อมแกนนำพรรคยกทัพพบปะกับชาวบ้านทั่วทุกภาคภายใน ยุทธศาสตร์แลนด์สไลด์ เป้าหมายเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล

สุดท้ายคงต้องจับตาดูว่าคนสิงห์บุรีจะเลือกใครเป็นส.ส. 1 เดียวของจังหวัด  แต่ยกแรกนายโชติวุฒิ จากพลังประชารัฐน่าจะนำอยู่ไม่มาก

สุพรรณบุรี มี 5 เขต

สนามเลือกจังหวัดสุพรรณบุรีคึกคัก พรรคชาติไทยพัฒนา โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ผ่านมาระยะเวลาเกือบ 50 ปี ไม่เคยมีพรรคไหนเอาชนะพรรคชาติไทยพัฒนาได้เลย มีเพียงพรรคเพื่อไทย เมื่อปี 2554 ที่ส่งนายสหรัฐ กุลศรี ลงสมัครในเขต 5 จนได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก

สำหรับในการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2566 จังหวัดสุพรรณบุรี ส.ส.แบ่งเป็น  5 เขต

เขต 1 นายสรชัด สุจิตต์ ว่าที่ผู้สมัคร พรรคชาติไทยพัฒนา // ดร.กุลธิดา เหมาเพชร พรรคเพื่อไทย  // นายสมมาตร วิสุทธิวงษ์ พรรคประชาธิปัตย์

เขตนี้นายสรชัด ชาติไทยพัฒนา ไม่น่ามีคู่แข่ง

เขต 2

นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ว่าที่ผู้สมัคร พรรคชาติไทยพัฒนา อดีต ส.ส.พรรคชาติไทยและพรรคชาติไทยพัฒนา หลายสมัย บุตรชายนายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ อดีตประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรองนายกรัฐมนตรี มุ่งมั่นทำงานจนเป็นที่ยอมรับของประชาชน จนได้รับการเลือกตั้งให้เป็น ส.ส.สุพรรณบุรี เขต 1 มาทุกสมัย ในการเลือกตั้งสมัยนี้ มีคู่แข่งจากพรรคเพื่อไทย พล.ต.เทียมศักดิ์ สุขานุยุทธ และ พรรคประชาธิปัตย์ นายเมฆินทร์ เอี่ยมสอาด

เขตนี้ นายณัฐวุฒิ ไม่มีคู่แข่ง

เขต 3 นายนพดล มาตรศรี ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา เคยเป็น ส.ส.เขต มา 2 สมัย เป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 สมัย เมื่อครั้งที่ผ่านมา เลือกตั้งสมัยนี้ ลงสนามเลือกตั้งสู้ศึกกับ ว่าที่ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ นายกิจจา วงศ์ประเสริฐ อดีต สจ.สุพรรณบุรีหลายสมัย เป็นเขตเลือกตั้งที่น่าติดตาม งานนี้นายนพดล จากพรรคชาติไทยพัฒนา คงต้องออกแรงเหนื่อยกันหน่อย

เขตนี้นายนพดล จากพรรคชาติไทยพัฒนา นำมาแบบห่างๆ แต่มีนายกิจจา จากประชาธิปัตย์มามาด้วย

เขต 4 นายเสมอกัน เที่ยงธรรม ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา บุตรชายนายจองชัย เที่ยงธรรม อดีต รมช.แรงงานและสวัสดิการสังคม เลือกตั้งสมัยนี้นายเสมอกัน พบกับคู่แข่ง ว่าที่ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย นายสหรัฐ กุลศรี ที่เคยเจาะสนามเลือกตั้งพื้นที่เขต 4 จนได้รับการเลือกตั้ง ส.ส.มาแล้ว 1 สมัย  จนเป็นข่าวโด่งดังว่านายสหรัฐ จากพรรคเพื่อไทย สามารถเจาะสนามเลือกตั้งของพรรคชาติไทยพัฒนามาได้ ส่วนว่าที่ผู้สมัคร จากพรรคประชาธิปัตย์  นางสาวพิรุณวัลย์ บ้านพลูหลวง

เขตนี้นายเสมอกัน ชาติไทยพัฒนา ยังมาแรง แต่ต้องเหลียวมามองนายสหรัฐที่เคยสร้างประวัติศาสตร์เอาชนะชาติไทยพัฒนาในสุพรรณมาแล้ว

เขต 5 นายประภัตร โพธสุธน ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา เลขาธิการพรรคชาติไทยพัฒนา อดีต ส.ส.หลายสมัย และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง เลือกตั้งสมัยนี้มีว่าที่ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ นายภานรินทร์ อินสกุล ลูกชายนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงสู้ศึกการเลือกตั้งสมัยนี้ ส่วนว่าที่ผู้สมัครพรรครวมไทยสร้างชาติ นายประภาส บุญไชย เป็นคนในพื้นที่ อดีต ผอ.โรงเรียนหลายแห่ง

เขตนี้เป็นศึกสายเลือดกระทรวงเกษตร เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรอย่างนายประภัตร ต้องสู้กับนายภานรินทร์ ลูกชายปลัดกระทรวง

แต่ยังไงนายประภัตรก็ยังมีฐานคะแนนเหนือกว่ามาก ในโค้งแรกยังนำโด่งแบบไม่เห็นฝุ่น 

สระบุรี 

เขต 1

ประกอบด้วย นายปรพล อดิเรกสาร บุตรชาย “ปองพล อดิเรกสาร”ครั้งนี้ลงสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อสู้กับนางสาวกัลยา รุ่งวิจิตรชัย ลูกสาวเจ้าของโรงสีไฟสระบุรี เจ้าของพื้นที่ เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ ขณะที่พรรคเพื่อไทยส่ง นางสาวขานิษฐาณันท์ เทียมประเสริฐ อดีตส.สพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางกระแสข่าวแลนด์สไลด์

นาทีนี้สำหรับเขต 1 ต้องยกให้ นางสาวขานิษฐาณันท์ จากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนนำ

เขต 2

นายสมบัติ อำนาคะ เจ้าของพื้นที่ส.ส.เดิมในนามพรรคพลังประชารัฐ แต่การเลือกตั้งครั้งนี้เปลี่ยนไปซบพรรครวมไทยสร้างชาติ มาเจอกับอดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย นายอรรถพล วงษ์ประยูร ลูกชายคนเล็กบ้านใหญ่ตระกูลวงศ์ประยูร ลงในนามพรรคเพื่อไทย ได้เปิดตัวครั้งแรกคนเพื่อไทยเชียร์แน่นสนาม ขณะที่ นายสมพงษ์ ภูพานเพชร อดีตประธานสหกรณ์โคนมลงแข่งในนามพรรคประชาธิปัตย์ ในเขต 2 สระบุรี ขวัญใจกลุ่มวัยรุ่นจากพรรคก้าวไกล นายทรงวุฒิ สารจันทึก มีอดีตนักร้องดัง อย่าง นายรังษี เสรีชัยใจมุ่ง ลงในนามพรรคภูมิใจ

เขตนี้ยกให้เพื่อไทย นายอรรถพล  ที่แข่งเดือดกับ นายสมบัติ  เจ้าของพื้นที่ส.ส.เดิม สังกัดรวมไทยสร้างชาติ

เขต3

ดร.วัชรพงษ์ ครูวิจิตรสุวรรณ พรรคภูมิใจไทย เขต 3 ต้องนั่งทำใจไม่ติด เจอคู่แข่งมีแต่สาวสวยๆอย่างเช่นพรรคเพื่อไทย ส่งนางสาวสิริพัชระ (น้องหมี่จัง)จึงธีรพาณิช ตามด้วยพรรคประชาธิปัตย์นางสาวเบญจวรรณ ใสแก้ว น้องแนน(ลูกสาวเสี่ยดำสระบุรี) สาวคนสวยพรรคพลังประชารัฐ (น้องผึ้ง) ดร.คนสวย ดร.เกณิกา อุ่นจิตร์ ทีมโฆษกคนรุ่นใหม่ ชู ลุงป้อม ลงสู้สนามเขต 3 สระบุรีที่วัยรุ่นชอบเซียร์ จากพรรคก้าวไกล (น้องนุ่น) ลูกสาวโรงงาน นางสาวนันทิตา สงพราหมณ์ ที่ถือคติประชาชนต้องมาก่อน

ยกแรกให้ผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทย ดร.วัชรพงษ์  ครูวิจิตรสุวรรณ นำผู้สมัครจากเพื่อไทย นางสาวสิริพัชระ จึงธีรพาณิช อยู่ไม่ห่างมากนัก

เขต4

เหมาทั้ง 5 อำเภอได้แก่อำเภอเสาไห้ อำเภอพระพุทธบาทอำเภอบ้านหมอ อำเภอหนองโดนและอำเภอดอนพุด นายองอาจ วงษ์ประยูร ลูกชายคนโตของตระกูลบ้านใหญ่ วงศ์ประยูร ลงเขต 4 คราวนี้ไม่ได้ลงในนามพรรคเพื่อไทย แต่หันหัวเรือซบอกพรรคพลังประชารัฐของลุงป้อม ส่วนคู่แข่งในนามพรรคเพื่อไทย (ชื่อสว. ใหญ่ ) ดร.บุญส่ง เกิดหลำ ประธานสโมสรสระบุรียูไนเต็ด ขออาสาช่วยเหลือพี่น้องประชาชน เขต 4 สระบุรี ในนามพรรคเพื่อไทย หลังเปิดตัวที่สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรีที่ผ่านมา

ส่วนคนนี้ลงพื้นที่พบชาวบ้านมาโดยตลอดเป็นหนุ่มหล่ออีกคนหนึ่งนายนันทวัชร กีสง่า ทนายสุดหล่อชื่อเล่นทนายเอ็ม อาสาสู้ศึกในนามพรรคประชาธิปัตย์ เพิ่งเปิดตัวในนามพรรครวมไทยสร้างชาติ ของลุงตู่ส่งนายชนัตถ์ (เอฟ) นันทปัญญา ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จ.สระบุรี เขต4 พรรครวมไทยสร้างชาติ ส่วนพรรคก้าวไกลส่ง“แป๊ะ บางสนาม” นายพิธาน ทรงกัมพล สโลแกน #เข้าถึงเข้าใจ อยู่ใกล้ประชาชน# ส่วนพรรคภูมิใจไทยส่งนางสาวพวงเพชร สว่างแก้ว ลงแข่งในเขต4 ส่วนเขตนี้สู้กันสนุกแน่ๆลุ้นในวันที่ 14 พ.คนี้

เขตนี้ยกให้นายองอาจ วงษ์ประยูร ผู้สมัครจากพลังประชารัฐ นำดร.บุญส่ง จากเพื่อไทยชนิดไล่บี้กันดุเดือด

อ่างทอง มี 2 เขต

แม้ในอดีตจะเป็นจังหวัดเล็กๆ มีผู้แทนได้เพียง 1 คน แต่หลังจากการประกาศเขตเลือกตั้งใหม่ทำให้ จังหวัดอ่างทอง มีผู้แทนได้ 2 คน หลายพรรคการเมืองมุ่งหวังจะล้ม “บ้านใหญ่” ซึ่งมีอดีต ส.ส.จากพรรคภูมิใจไทย ภราดร ปริศนานันทกุลและกรวีร์ ปริศนานันทกุล สองพี่น้องบุตรชายของ “เฮียตือ” สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ผู้คร่ำหวอดในวงการเมืองของไทยและเป็น พ่อบ้านใหญ่ ในนามของ “กลุ่มสำนึกรักบ้านเกิด” ที่มากด้วยบารมีทั้งการเมืองระดับชาติ และระดับท้องถิ่น

รวมถึงการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นช่วงที่จังหวัดอ่างทองประสบปัญหาอุทกภัยในหลายปีติดต่อกัน หรือในช่วงเวลาที่ว่างจากการทำหน้าที่ผู้แทนราษฎร ทั้งสองพี่น้องลงพื้นที่ไม่ขาด ทำให้ตัวเต็งทั้งเขตเลือกตั้งที่ 1 และ 2 คงเป็นใครไม่ได้นอกจากสองพี่น้องแห่งตระกูล “ปริศนานันทกุล”

และด้วยแรงเสริมจากการเมืองระดับท้องถิ่นของกลุ่มสำนึกรักบ้านเกิดที่เข้มแข็งรวมถึงกลุ่มแม่บ้านซึ่งเทใจให้กับทั้งสองคนนี้ การที่ใครจะมาแข่งคงต้องทำการบ้านอย่างหนัก

แต่ก็ประมาทไม่ได้ เมื่อพรรคเพื่อไทย หยิบชิ้นปลามัน ส่ง นายชูศักดิ์ ศรีราชา อดีต สจ.อ่างทองและ สว.เลือกตั้ง เคยอยู่ในทีมงาน สำนึกรักบ้านเกิด ของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ควงคู่ลูกชาย ชวกร ศรีราชา ที่พกดีกรีปริญาญาโท บริหารธุรกิจ ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความตั้งใจจะพัฒนาอ่างทอง ลงชิงชัยในเขตเลือกตั้งที่ 1และ 2

หากมองชื่อชั้นในการเลือกตั้งระดับชาติแล้วก็ยังเป็นรองอยู่บ้าง แต่กระแสการแลนด์สไลด์ของพรรคเพื่อไทย ที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนี้ ประกอบกับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเปลี่ยนอ่างทอง รวมถึงการลงพื้นที่อย่างหนักหน่วงด้วยการเดินเคาะประตูบ้านทุกหลัง ทำให้ ณ เวลานี้อะไรก็เกิดขึ้นได้

คงเป็นการบ้านที่ต้องเอาไปขบคิดกันหากจะประมาทก็อาจจะตกม้าตายได้ เพราะชื่อของ ชูศักดิ์ ในอ่างทองก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน ไม่เช่นนั้นป้ายหาเสียงของพรรคเพื่อไทยคงไม่ถูกทำลายทั้งกรีดทั้งเผาไปกว่า 30 ป้ายจนต้องขึ้นโรงพักแจ้งความกันไปเมื่อหลายวันก่อน

ไม่ต่างจากป้ายหาเสียงของพรรคพลังประชารัฐ ที่ส่งนายโชคชัย ทองศักดิ์ อดีตที่ปรึกษานายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองอ่างทอง ลงแข่งสนามนี้เป็นครั้งที่ 2 ในเขตเลือกตั้งที่ 1 หลังอกหักเข้ามาเป็นลำดับ 3 แม้เสียงตอบรับดี แต่เสียงต่อต้านก็เยอะทำให้ครั้งนี้อาจจะอกหักซ้ำ แต่ทางผู้สมัครก็เดินหน้าไม่หยุดเดินสายพบปะชาวบ้านนำนโยบายสานต่อบัตรประชารัฐ 700 บาทส่งถึงชาวบ้านเพื่อเป็นทางเลือก แต่ก็ถูกทำลายป้ายหาเสียงด้วยการนำเทปปิดตา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคไปหลายป้าย

รวมถึงป้ายของพรรครวมไทยสร้างชาติของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ถูกคนไม่พอใจทำลายป้ายแบบเจาะจงตัว งานนี้คงต้องเดือดร้อนตำรวจตามล่าหาตัวคนทำมาดำเนินคดีในส่วนของพรรคอื่นๆไม่ว่าจะเป็นก้าวไกล ที่เตรียมส่ง นายสาโรจน์ ฉ่ำจิตร อดีต สท.เทศบาลตำบลโพสะ

รวมถึง นายโยธิน เปาอินทร์ ที่อกหักจากการไม่ได้รับการพิจารณาให้ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย แม้จะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มคนเสื้อแดงอ่างทอง จนถึงกับมีการเผาพริกเผาเกลือเผาเสื้อเพื่อไทย ประกาศไม่ร่วมสังฆกรรมกันมาแล้ว

แต่สุดท้ายสนามนี้หากไม่มีอะไรผิดพลาดหรือไม่ถูกกระแสแลนด์สไลด์คงไม่รอด ที่สองพี่น้องบ้านใหญ่ ตระกูลปริศนานันทกุลจะเข้าวิน แต่ระวังเอาไว้หากประมาทอะไรก็เกิดขึ้นได้ เพราะ ประชาชนจะกาเลือกใคร อยู่ที่เข้าไปนั่งในใจของเขาได้เปล่า 

อุทัยธานี มี 2 เขต

บรรยากาศการเตรียมหาเสียงเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี เริ่มคึกคักขึ้นเป็นลำดับ โดย ส.ส.เจ้าถิ่นเดิม อย่างเช่น  นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และอดีต ส.ส.อุทัยธานี  เขตเลือกตั้งที่ 2 และ นายเจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ อดีต ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขตเลือกตั้งที่1 ลูกชายของ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.กระทรวงเกษตรฯ ทั้งคู่ยังคงลงสมัคร  รับเลือกตั้งในพื้นที่การเมืองเดิม

การเลือกตั้งในจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีระดับขุมพลังเครือข่ายที่มีในพื้นที่ กอปรกับ การลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ทั้งสองยังคงเป็นเต็งหนึ่งในสนามเลือกตั้งในครั้งนี้ อยู่เช่นเดิม  สำหรับตัวแทนแต่ละพรรคแต่ละเขตประกอบด้วย

ทั้ง 2 เขต จึงน่าจะเป็นของพรรคภูมิใจไทย