เปิดคำสั่งศาลปกครองชี้เสียหายร้ายแรง หาก “นิพนธ์" สมัคร ส.ส.ไม่ได้

09 เม.ย. 2566 | 09:31 น.
อัปเดตล่าสุด :09 เม.ย. 2566 | 09:37 น.
2.6 k

เปิดคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ศาลปกครองกลางชี้เสียหายร้ายแรง หาก “นิพนธ์ บุญญามณี” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลงสมัคร ส.ส.ไม่ได้

สืบเนื่องจากปรากฏข่าว นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัครบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบเรื่องการขาดคุณสมบัติของ นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยอ้างว่า นายนิพนธ์ เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 เพราะเคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ

ต่อมา นายนิพนธ์ ได้ออกมาชี้แจงตอบโต้ นายเรืองไกร ว่า เมื่อเดือน ม.ค.2566 ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยกรณีนี้ไปแล้ว จึงสามารถสมัคร ส.ส.ได้

ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org)  ได้นำคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลางฉบับเต็มที่ นายนิพนธ์ ได้อ้างถึงมานำเสนอเพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

คดีนี้ ผู้ร้องคือนายนิพนธ์ บุญญามณี มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นผู้ถูกร้องที่ 1 กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ถูกร้องที่ 2   
สาระสำคัญที่นำไปสู่การออกคำสั่งทุเลามีดังต่อไปนี้  

กรณีเงื่อนไขประการที่หนึ่ง ค่าสั่งทางปกครองที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ในขณะที่ผู้ฟ้องคดีกระทําการอันถูกกล่าวหาว่าเป็นความผิด และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 รับเรื่องกล่าวหาไว้ไต่สวนวินิจฉัย บัญญัติว่า

คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีอํานาจ หน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสํานวนพร้อมทั้งทําความเห็นเสนอต่อวุฒิสภา ตามหมวด 5 การถอดถอนจากตําแหน่ง

(2) ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสํานวนพร้อมทั้ง ทําความเห็นเพื่อส่งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองตามหมวด 6 การ ดําเนินคดีอาญาผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญ

(3) ไต่สวนและวินิจฉัยว่าผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองอื่นซึ่งมิใช่บุคคลตาม (2) และเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติเพื่อร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

(4) ไต่สวนและวินิจฉัยว่า ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองอื่นซึ่งมิใช่บุคคลตาม (2) หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหาร ระดับสูงหรือข้าราชการซึ่งดํารงตําแหน่งตั้งแต่ผู้อําานวยการกองร่ำรวยผิดปกติ กระทําความผิด ฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมหรือความผิดที่เกี่ยวข้องกัน รวมทั้งดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าที่ร่วมกระทําความผิดกับผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว หรือกับผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง หรือที่กระทําความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดําเนินการด้วย ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด

โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา... เห็นได้ว่าบทบัญญัติมาตรา 19 (4) ได้กําหนดไว้ชัดเจนว่า บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดตามมาตรา 19 (4) มิใช่บุคคลตามที่กําหนดไว้ตามมาตรา 19 (2) นอกจากนี้ หน้าที่และอํานาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ตามมาตรา 19 (2) เป็นการดําเนินการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ต่อบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทํา ความผิดเพื่อส่งอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 103/2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 ว่า ผู้ฟ้องคดีกระทําความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และมีมูลความผิดฐานละเลยไม่ปฏิบัติการตามอํานาจหน้าที่หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอํานาจหน้าที่หรือประพฤติตนฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 79

และส่งรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงและการชี้มูลมายังผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เพื่อพิจารณา ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 91 (2) และมาตรา 98 วรรคสี่

โดยการส่งสํานวน ไปยังผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เพื่อดําเนินการดังกล่าวมิใช่เป็นการดําเนินการตามมาตรา 19 (2) แห่ง พระราชบัญญัติเดียวกัน ดังนั้น การรับเรื่องกล่าวหาการไต่สวนวินิจฉัยคดีนี้เป็นกรณีที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ใช้อํานาจตามมาตรา 19 (4) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มิใช่เป็นการ ดําเนินการตามมาตรา 19 (2) ประกอบมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติข้างต้น

เมื่อพิจารณา บทบัญญัติมาตรา 19 (4) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว เห็นได้ว่า ข้อกล่าวหาที่อยู่ในอํานาจ ไต่สวนและพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หมายถึงเฉพาะข้อกล่าวหาที่เกี่ยวกับการกระทํา ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทําความผิด ต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมเท่านั้น

และโดยที่ประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติ ถึงองค์ประกอบและโทษเกี่ยวกับความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการไว้ใน ภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 มาตรา 147 ถึงมาตรา 166 และได้บัญญัติถึงองค์ประกอบและโทษเกี่ยวกับความผิด ต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมไว้ใน ลักษณะ 3 หมวด 2 มาตรา 200 ถึงมาตรา 205 ดังนั้น ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการและความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม จึงเป็นมูลความผิดทางอาญา

ส่วนความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ ถือเป็นมูลความผิดทางวินัย นอกจากสามกรณีดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีอํานาจในการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาซึ่งมีกฏหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับวินัย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีอํานาจไต่ส่วนข้อเท็จจริงและชี้มูลความผิดทางวินัยเฉพาะความผิดฐานทุจริต ต่อหน้าที่หรือความผิดอื่นที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ และกรณีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ชี้มูลความผิดทางวินัยฐานอื่นโดยไม่ได้ชี้มูลความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ ผู้บังคับบัญชาหรือ ผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอนย่อมไม่ผูกพันตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และไม่อาจถือสํานวน การไต่สวนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นสํานวนการสอบสวนทางวินัย

ทั้งนี้ ตามมาตรา 41 (2) และมาตรา 92 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่วนกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับวินัย บทบัญญัติมาตรา 92 วรรคสี่ แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 บัญญัติให้กรณีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติว่าผู้ถูกกล่าวหา ได้กระทําผิดในเรื่องที่ถูกกล่าวหา

ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีอํานาจส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่ พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอนเพื่อดําเนินการตามอํานาจ หน้าที่ คดีนี้ผู้ฟ้องคดีถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดขณะเป็นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับวินัย

โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ระบุข้อกล่าวหา ผู้ฟ้องคดีในสํานวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงวันที่ 17 กันยายน 2563 ว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่มอบอํานาจให้บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จํากัด (ผู้ขาย) เป็นตัวแทน ในการจดทะเบียนรถซ่อมบํารุงทางอเนกประสงค์ ชนิด 10 ล้อ เครื่องยนต์ดีเซล จํานวนสองคัน และละเว้นไม่อนุมัติเบิกจ่ายเงินค่ารถทั้งสองคัน จํานวน 50,850,000 บาท ให้แก่ผู้ขาย

และมีมติโดยเสียงข้างมากว่า การกระทําของผู้ฟ้องคดีมีมูลความผิดทางอาญาตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 157 (ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด) และมีมูลความผิดฐานละเลยไม่ปฏิบัติตามอ่านาจหน้าที่หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอํานาจหน้าที่หรือประพฤติตนฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

เห็นได้ว่า ข้อกล่าวหาผู้ฟ้องคดีมิได้กล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีกระทําทุจริต ต่อหน้าที่ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ก็มีมติว่าการกระทําของผู้ฟ้องคดีมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดเท่านั้น มิได้มีมติว่ามีมูลความผิดทางอาญา ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตแต่อย่างใด จึงเป็นกรณีผู้ฟ้องคดีมิได้ถูกกล่าวหาว่า กระทําการทุจริต

และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มิได้มีมติว่าการกระทําของผู้ฟ้องคดีมีมูลทุจริต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงไม่อาจชี้มูลว่าผู้ฟ้องคดีมีมูลความผิดฐานละเลยไม่ปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่หรือปฏิบัติการ ไม่ชอบด้วยอํานาจหน้าที่หรือประพฤติตนฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 79 ซึ่งเป็นความผิดฐานอื่นที่ไม่อยู่ในอํานาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และย่อมไม่ผูกพันผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ต้องถือตามฐานความผิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติรวมทั้งไม่อาจถือสํานวนการไต่สวนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นสํานวนการสอบสวนโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน

โดยข้อเท็จจริง ปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีคําสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 1528/2564 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2564 สั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตําแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ในวาระการดํารงตําแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2556 ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2562 ตามการชี้มูลความผิดของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โดยไม่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อนแต่อย่างใด

นอกจากนี้ มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 บัญญัติว่า ในการดําเนินการตรวจรับ คํากล่าวหา แสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน ไต่สวนและมีความเห็นหรือวินิจฉัยบรรดาที่ทําเนินการไปโดยชอบอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้และให้ดําเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

โดยถือว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งบรรดาระเบียบ ข้อกําหนด ข้อบังคับ ประกาศ และคําสั่ง ที่ออกตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไป เว้นแต่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะมีมติให้ดําเนินการ ต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ภายหลังผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้รับเรื่องกล่าวหาผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในการประชุมครั้งที่ 879-50/2560 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 มีมติให้ไต่สวนข้อเท็จจริงตามความผิดที่กล่าวหา และมีคําสั่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ 186/2561 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2561 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน โดยให้ มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ดังนั้น การกล่าวหาและการไต่สวนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงเป็นการดําเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีมติชี้มูลความผิดผู้ฟ้องคดี ในการประชุมครั้งที่ 103/2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจาก ที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับแล้ว (มีผลใช้บังคับวันที่ 22 กรกฎาคม 2561) จึงเป็นกรณีที่การดําเนินการ ตรวจรับคํากล่าวหา แสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน ไต่สวนและมีความเห็น หรือวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ดําเนินการโดยชอบอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ. 2561 ใช้บังคับ

การดําเนินการไต่สวนจึงเป็นอันใช้ได้และให้ดําเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เว้นแต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จะมีมติให้ดําเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ดังนั้น การดําเนินการไต่สวนและชี้มูล ความผิดผู้ฟ้องคดีของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงต้องดําเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งไม่ปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีมติให้การไต่สวนและชี้มูลความผิดของผู้ฟ้องคดีให้ดําเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

แต่ปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติให้ส่งรายงานสํานวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สําเนา อิเล็กทรอนิกส์ และคําวินิจฉัยไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดําเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดี และส่งสํานวนการไต่สวนไปยังผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอน เพื่อด่าเนินการ ตามหน้าที่และอํานาจกับผู้ฟ้องคดี ตามมาตรา 41 (1) และมาตรา 98 วรรคสี่ แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และอาศัยอํานาจตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีมติให้กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาซึ่งไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับวินัยให้ถือปฏิบัติว่าให้ผู้มีอํานาจ แต่งตั้งถอดถอนพิจารณาดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจตามมาตรา 98 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 48 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน และให้ผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอนพิจารณาโทษ ตามฐานความผิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอีก

และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 ประกอบมาตรา 98 แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มีคําสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 1528/2564 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2564 สั่งให้ผู้ฟ้องคดี พ้นจากตําแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ในวาระการดํารงตําแหน่งตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2556 ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2562 ตามฐานความผิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติ

โดยไม่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแต่อย่างใด อันเป็นการดําเนินการตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งไม่เป็นตามที่ มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกําหนดแต่อย่างใด อีกทั้งพฤติการณ์ของ ผู้ฟ้องคดีซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติว่า ผู้ฟ้องคดีกระทําผิดกฎหมายและผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีคําสั่ง กระทรวงมหาดไทย ที่ 1528/2564 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2564 ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตําแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา โดยกล่าวหาว่า ผู้ฟ้องคดีละเว้นไม่มอบอํานาจให้บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จํากัด ผู้ขาย เป็นตัวแทนในการจดทะเบียนรถซ่อมบํารุงทางเอนกประสงค์ชนิด 10 ล้อ เครื่องยนต์ดีเซล จํานวนสองคัน และไม่อนุมัติเบิกจ่ายเงินค่ารถทั้งสองคัน ให้แก่บริษัทดังกล่าว

ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งพร้อมพยานหลักฐานว่า การที่ผู้ฟ้องคดีไม่ดําเนินการ ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกล่าวหานั้น เนื่องจากจังหวัดสงขลาได้มีหนังสือแจ้งว่ามีการร้องเรียนการจัดซื้อรถพิพาทให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาระงับการจ่ายเงิน และผู้ฟ้องคดี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงตามที่มีการร้องเรียน ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวรายงานผลการสอบสวนว่ากรณีมีมูลว่ามีการกระทําผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หลังจากนั้น บริษัท พลวิศว์ เทค พลัส จํากัด ได้ยื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาต่อศาลปกครองสงขลาให้ชําระเงินพร้อมดอกเบี้ย

ผู้ฟ้องคดีจึงชะลอการจ่ายเงินไว้จนกว่าคําพิพากษาศาลถึงที่สุด ในชั้นนี้การไม่อนุมัติเบิกจ่ายเงินค่ารถทั้งสองคันด้วยเหตุผลดังกล่าวเป็นการกระทําที่สมเหตุผลและมีนํ้าหนักที่ควรรับฟังและมีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงทําให้มีปัญหาว่าพฤติการณ์ของผู้ฟ้องคดีเป็นความผิดตามที่ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกล่าวหาหรือไม่ โดยศาลจะได้แสวงหาข้อเท็จจริงและพิจารณาต่อไป

จากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวเห็นว่า คําสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 1528/2564 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2564 ที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตําแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สงขลา ในวาระการดํารงตําแหน่งตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2556 ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2562จึงน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย

กรณีเงื่อนไขประการที่สอง การให้คําสั่งทางปกครองพิพาทมีผลใช้บังคับต่อไปจะทําให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้ฟ้องคดีจนยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลังหรือไม่
เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 98 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (1) ... (8) เคยถูก สั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่า กระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ...

คําสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 1528/2564 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2564 ที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตําแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สงขลา จึงมีผลกระทบต่อคุณสมบัติของผู้ฟ้องคดีในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบันจะครบวาระ 4 ปี ในวันที่ 23 มีนาคม 2566

และการที่ผู้ฟ้องคดีขาดคุณสมบัติสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น เป็นกรณี ที่จะทําให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้ฟ้องคดีจนยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลังได้

ดังนั้น การให้คําสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 1528/2564 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2564 ที่สั่งให้ ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตําแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มีผลใช้บังคับต่อไปจะทําให้ เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้ฟ้องคดีจนยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลัง
ทั้งนี้ ในการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน นายนิพนธ์ ระบุชัดเจนว่า เรื่องนี้อยู่ในระหว่างการคุ้มครองคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งของกระทรวงมหาดไทย จึงทำให้คุณสมบัติในการสมัครเลือกตั้งนั้น ยังมีสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ 

พร้อมยืนยันว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบทุกอย่าง โดยได้อยู่บนพื้นฐานของการรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินตามที่ได้เคยชี้แจงไปก่อนหน้านี้แล้วและเรื่องนี้ ป.ป.ช. ฟ้องเรื่องการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้นไม่ได้ฟ้องเรื่องทุจริตแต่อย่างใด 

ในขณะเดียวกันขอชี้แจงให้ทราบ บริษัทผู้ชนะการประมูลงานและผู้เกี่ยวข้องตอนนี้ถูกออกหมายจาก 3 หน่วยงาน ได้แก่ ศาลอาญาทุจริตฯ ภาค 9 , สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และเป็นการออกหมายจับแบบไม่มีอายุความอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันผู้ชนะการประมูลหลบหนีอยู่ต่างประเทศ

“สำหรับกรณีที่นายเรืองไกร ได้ร้องให้กกต.ตรวจสอบคุณสมบัตินั้น ขอเตือนไปยังคุณเรืองไกรด้วยว่า คุณก็เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐ มีเจตนาเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จผ่านสื่อ อาจเข้าข่ายการใส่ร้ายป้ายสีในช่วงเลือกตั้งเป็นโทษทางอาญา” นายนิพนธ์ กล่าว