จากกรณีที่ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล ได้ทำบันทึกข้อความด่วนรักษาการเลขาธิการ กสทช. และ รองเลขาธิการ กสทช. ได้ส่งหนังสือยื่นอุทธรณ์ โดยทำบันทึกข้อความลงวั นที่ 31 มกราคม 2567 เรื่องอุทธรณ์คัดค้าน มติ กสทช.ในการประชุม กสทช.นัดพิเศษ ครั้งที่ 1/2567 ระเบียบวาระที่ 5.1 เมื่อวันที่ 17 ม.ค.2567 โดยมติเสียงข้างมาก 4: 3 ไม่เห็นชอบกระบวนการสรรหาเลขาธิการ กสทช.
ล่าสุดแหล่งข่าวจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ บอร์ด กสทช. เปิดเผยในวันนี้ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช.มีมติ 4 เสียงไม่รับอุทธรณ์คัดค้าน และ งดออกเสียง 3 เสียง เหตุผลที่บอร์ด กสทช.ไม่รับอุทธรณ์คัดค้านมติดังกล่าว เนื่องจากไม่มีฐานอำนาจในการรับอุทธรณ์ ด้วยเหตุผลที่ว่า มติบอร์ด กสทช.เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 บอร์ดเสียงข้างมากไม่เห็นชอบกระบวนการสรรหาซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ส่วนที่ 5 การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง มาตรา 48 กรณีคำสั่งของคณะกรรมการต่างๆ คู่กรณีมีสิทธิ์โต้แย้งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ซึ่งปัจจุบันคืออำนาจพิจารณาของศาลปกครอง
“ที่ผ่านมาไม่มีใครเคยคัดค้านมติบอร์ดนอกจากขอทบทวนเท่านั้น ซึ่งพรบ.องค์การจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.2555 ข้อที่ 45 เขียนไว้ชัดเจนว่าห้ามมิให้มีการหยิบยกประเด็นซึ่งที่ประชุมมีมติแล้วขึ้นมาพิจารณาใหม่ เว้นแต่กรรมการไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเห็นชอบตรงกันให้มีการพิจารณาใหม่อีกครั้ง”
แหล่งข่าวยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในอดีตที่ผ่านมาหากเป็นเรื่องคัดค้านมีเพียงแต่นำเสนอให้บอร์ดทบทวนมติเท่านั้น ไม่เคยมีทำเรื่องอุทธรณ์คัดค้าน ดังนั้นหากผู้ที่อุทธรณ์ต้อง ดำเนินการต่อก็ต้องไปฟ้องศาลปกครอง หรือ ถ้าหากต้องการให้ทบทวนต้องมีข้อมูลใหม่เข้ามานำเสนอบอร์ด กสทช. หากใช้ข้อมูลเดิมเสนอเข้ามาเชื่อว่าบอร์ด กสทช.คงไม่บรรจุในวาระ
สำหรับการประชุมบอร์ด กสทช. ในวันนี้ที่ประชบอร์ดได้พิจารณา 36 วาระด้วยกัน สำหรับโครงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (Universal Service Obligation) หรือ USO มูลค่า 4,000 ล้านบาทซึ่งเป็นไปตามแผนงบประมาณปี 2565 โดยบอร์ด กสทช.เตรียมประชุมครั้งหน้าในวันที่ 6 มีนาคม 2567.